เมรุ : 1.ชื่อภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล บางทีเรียกพระสุเมรุ ตามคติของศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นบริเวณที่มีสวรรค์อยู่โดยรอบ เช่น สวรรค์ของพระอินทร์อยู่ทางทิศเหนือ ไวกูณฐ์แดนสถิตของพระวิษณุหรือพระนารายณ์อยู่ทางทิศใต้ ไกลาสที่สถิตของพระศิวะหรืออิศวรก็อยู่ทางทิศใต้เหนือยอดเขาพระสุเมรุนั้น คือ พรหมโลก เป็นที่สถิตของพระพรหม, ภูเขานี้เรียกชื่อเป็นภาษาบาลีว่า สิเนรุ และตามคติฝ่ายพระพุทธศาสนา ในชั้นอรรถกถา ยอดเขาสิเนรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ เชิงเขาสิเนรุ ซึ่งหยั่งลึกลงไปในมหาสมุทรเป็นอสูรพิภพ สูงขึ้นไปกึ่งทางระหว่างแดนทั้ง๒นั้น เป็นสวรรค์ของท้าวจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นอื่นๆ และโลกมนุษย์ เป็นต้น ก็เรียงรายกันอยู่สูงบ้างต่ำบ้าง รอบเขาสิเนรุนี้ (ในวรรณคดีบาลียุดหลัง เช่น จูฬวงส์ พงศาวดารลังกา เรียก เมรุ และสุเมรุ อย่างสันสกฤตก็มี) 2.ที่เผาศพ หลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบ ซึ่งคงได้คติจากภูเขาเมรุนั้น
คณโภชน์ : ฉันเป็นหมู่ คือ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป รับนิมนต์ออกชื่อโภชนะ แล้วฉัน; อีกนัยหนึ่งว่า นั่งล้อมโภชนะฉัน หรือฉันเข้าวง
คิชฌกูฏ : ชื่อภูเขาลูกหนึ่ง ในบรรดาภูเขา ๕ ลูกที่เรียกว่าเบญจคีรี ล้อมรอบพระนครราชคฤห์
ปราการ : กำแพง, เครื่องล้อมกั้น
ปริกถา : คำพูดหว่านล้อม, การพูดให้รู้โดยปริยาย, การพูดอ้อมไปอ้อมมาเพื่อให้เขาถวายปัจจัย ๔ เป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ ถ้าทำปริกถาเพื่อให้เขาถวายจีวรและบิณฑบาต ชื่อว่ามีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ แต่ท่านว่าทำปริกถาในเรื่องเสนาสนะได้อยู่ เช่น พูดว่า “เสนาสนะของสงฆ์คับแคบ” อย่างไรก็ตาม ถ้าถือธุดงค์ไม่พึงทำปริกถา อย่างหนึ่งอย่างใดเลย
ภูตคาม : ของเขียวหรือพืชพรรณอันเป็นอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด ๑. พืชเกิดจากเหง้า คือ ใช้เหง้าเพาะ เช่น ขมิ้น ๒. พืชเกิดจากต้น คือตอนออกได้จากไม้ต้นทั้งหลาย เช่น ต้นโพธิ์ ๓. พืชเกิดจากข้อ คือใช้ข้อปลูก ได้แก่ไม้ลำ เช่น อ้อย ไม้ไผ่ ๔. พืชเกิดจากยอด คือ ใช้ยอดปักก็เป็น ได้แก่ ผักต่างๆ มีผักชีล้อม ผักบุ้ง เป็นต้น ๕. พืชเกิดจากเมล็ด คือใช้เมล็ดเพาะ ได้แก่ ถั่ว งา ข้าว, แปลตามรูปศัพท์ว่า บ้านของภูต, คู่กับ พีชคาม ภูตคามวรรค หมวดที่ว่าด้วยภูตคาม เป็นวรรคที่ ๒ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ในมหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎก
มหาอุทายี : พระเถระผู้ใหญ่องค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในเมืองกบิลพัสดุ์ เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเมื่อคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระญาติ จึงออกบวชและได้สำเร็จอรหัตตผล ท่านเป็นพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง มีเรื่องเกี่ยวกับการที่ท่านแสดงธรรมบ้าง สนทนาธรรมบ้าง ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่ง คราวหนึ่งพระอานนท์เห็นท่านนั่งแสดงธรรมอยู่ มีคฤหัสถ์ล้อมฟังอยู่เป็นชุมนุมใหญ่ จึงได้กราบทูลเล่าถวายพระพุทธเจ้า เป็นข้อปรารภให้พระองค์ทรงแสดง ธรรมเทศกธรรม หรือหรือองค์คุณของธรรมกถึก ๕ ประการ คือ ๑.แสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ ๒.อ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจ ๓.มีจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง ๔.ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ๕.ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น
สัตตบริภัณฑ์ : “เขาล้อมทั้ง ๗ ” คำเรียกหมู่ภูเขา ๗ เทือก ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ หรือ สิเนรุ คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสสนะ เนมินธร วินตก และอัสสกัณณ์
อนาโรจนา :
การไม่บอก คือ ไม่บอกประจานตัวแก่ภิกษุทั้งหลายภายในเขต ๒ เลฑฑุบาตจากเครื่องล้อมหรือจากอุปจารแห่งอาวาส ให้รู้ทั่วกันว่าตนต้องอาบัติสังฆาทิเสส กำลังอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตต์; เป็นเหตุอย่างหนึ่งของการขาดราตรีแห่งมานัตต์หรือปริวาส ผู้ประพฤติมานัตต์ ต้องบอกทุกวัน แต่ผู้อยู่ปริวาส ไม่ต้องบอกทุกวัน ปกตัตตภิกษุรูปใดยังไม่ได้รับบอก เธอบอกแก่ภิกษุรูปนั้นครั้งหนึ่งแล้ว ไม่ต้องบอกอีกตลอดกาลที่อยู่ในอาวาสหรือในอนาวาสนั้นแต่ต้องบอกในท้ายอุโบสถ ท้ายปวารณาเมื่อถึงวันนั้นๆ และภิกษุใดได้รับบอกแล้ว ออกจากอาวาสหรืออนาวาสนั้นไป เมื่อกลับมาใหม่ต้องได้รับบอกอีก ดู รัตติเฉท
อิสิคิลิบรรพต : ภูเขาคืออิสิคิลิ เป็นภูเขาลูกหนึ่งใน ๕ ลูก ที่เรียกเบญจคีรี ล้อมรอบพระนครราชคฤห์
ปาการปริกฺเขป : ป. การล้อมด้วยกำแพง, รั้ว
กาจน : นป. เครื่องปิด, เครื่องล้อมรั้ว
รุชฺฌติ : ก. กีดขวาง, กีดกัน, ถูกห้าม, กั้น, ล้อม, ระวัง
รุนฺธติ : ก. กั้น, กีดกัน, ล้อม, ระวัง, กักขัง
อาวรณ : (วิ.) ปิด, กั้น, ล้อม, กัน, ป้องกัน, ระวัง, ห้าม, ขัดขวาง, กำบัง.
ETipitaka Pali-Thai Dict : ล้อมรั้ว, more results...