พิทย, พิทย์, พิทยา : [พิดทะยะ, พิด, พิดทะยา] น. ความรู้. (ส. วิทฺยา; ป. วิชฺชา).
พิทยาคม : น. การเล่าเรียนวิชา, เวทมนตร์. (ส. วิทฺยา + อาคม).
วิชชา : [วิด] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒.จุตูปปาตญาณ(รู้จักกําหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา อาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้า ในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกําหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
วิชา : น. ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
อุทกวิทยา : น. วิชาว่าด้วยนํ้าที่มีอยู่ในโลก เช่น ศึกษาถึงสาเหตุ การเกิด การหมุนเวียน ตลอดจนคุณลักษณะของนํ้า รวมทั้งการ นํานํ้ามาใช้ให้เป็นประโยชน์. (ป., ส. อุทก + ส. วิทฺยา).
แพทย, แพทย์ : [แพดทะยะ, แพด] น. หมอรักษาโรค. (ส. ไวทฺย).
วัช ๓, วัชชะ ๒ : น. การพูด, ถ้อยคํา. ว. ควรพูดติ, ควรกล่าวติ. (ป. วชฺช; ส. วทฺย).
เวช, เวช : [เวด, เวดชะ] น. หมอรักษาโรค. (ป. เวชฺช; ส. ไวทฺย).