วาร : วันหนึ่งๆ ในสัปดาห์, ครั้ง, เวลา กำหนด
สัตตมวาร : วันที่ ๗, วันที่ครบ ๗; พจนานุกรมก็เขียน สัตมวาร
สัตมวาร : วันที่ ๗, วันที่ครบ ๗; เขียนเต็มรูปเป็น สัตตมวาร
ปัญญาสมวาร : วันที่ ๕๐, วันที่ครบ ๕๐
ศตมวาร : วันที่ ๑๐๐, วันที่ครบ ๑๐๐
ศุภวารฤกษ์ : ฤกษ์งามยามดี
อนาปัตติวาร : ตอนว่าด้วยข้อยกเว้นที่ไม่ต้องปรับอาบัตินั้นๆ ตามปกติอยู่ท้ายคำอธิบายสิกขาบทแต่ละข้อในคัมภีร์วิภังค์ พระวินัยปิฎก
เวร : ความแค้นเคือง, ความปองร้ายกัน, ความแก้เผ็ด, ความคิดร้ายตอบแก่ผู้ทำร้าย; ในภาษาไทยใช้อีกความหมายหนึ่งด้วยว่าคราว, รอบ, การผลักกันเป็นคราวๆ, ตรงกับ วาร หรือวาระ ในภาษาบาลี
อนัตตลักขณสูตร : ชื่อพระสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ ว่าเป็นอนัตตาพระศาสดาทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้สำเร็จพระอรหัต ด้วยได้ฟังอนัตตลักขณสูตรนี้ (มาในมหาวรรค พระวินัยปิฎก และในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระสุตตันตปิฎก)
กระบอก : วารโก
กรอบประตู : ทฺวารโกสํ [นป.]
ช้างตัวประเสริฐ : วรวารโณ
ช้างพลาย : มาตงฺโค, กรี, กุญฺชโร, นาโค, คโช, วารโณ
น้ำ : อุทกํ, โอกํ, ทกํ, วาริ, สสิลํ, ชลํ, อมฺพุ, อณฺโณ
พฤหัสบดี : ครุวาร, วิหปฺปติวาร
พุธ (วัน) : พุธวาร, วุธวาร
ห้าม, คัดค้าน : นิวาเรตฺวา, ปฏิกฺขิปิตฺวา, ปฏิพาหิตฺวา, ปฏิเสเธตฺวา, นิเสเธตฺวา, วารยิตฺวา