Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ว่า , then พ่า, ว่, ว่ะ, วา, ว่า .

Eng-Thai Lexitron Dict : ว่า, more than 7 found, display 1-7
  1. baste 3 : (VT) ; ด่าว่าแรงๆ ; Related:ตำหนิ, ติเตียน, ดุ, ว่า ; Syn:lambaste
  2. engage : (VT) ; ว่าจ้าง ; Related:จ้างให้ทำงาน ; Syn:employ, hire
  3. pick holes in : (IDM) ; ว่ากล่าวอย่งรุนแรง ; Related:วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง
  4. Eng-Thai Lexitron Dict : ว่า, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : ว่า, more than 7 found, display 1-7
  1. ว่าร้าย : (V) ; gossip ; Syn:นินทา, ว่า ; Def:ติเตียนลับหลัง ; Samp:ไม่ว่าจะถูกนินทาว่าร้ายต่างๆ นานาเรื่องที่เขามีบ้านเล็กบ้านใหญ่อย่างไรเขาก็ไม่ใส่ใจ
  2. ว่าแต่ : (CONJ) ; as for ; Syn:ว่าแต่ว่า ; Def:คำที่ใช้เน้นว่าในกรณีของสิ่งนั้นหรือเหตุการณ์นั้น ; Samp:ว่าแต่เขาจะช่วยเธอแน่หรือเปล่า
  3. ว่าง่าย : (V) ; be obedient ; Related:be docile, be biddable, be submissive, be pliant ; Syn:หัวอ่อน, ว่านอนสอนง่าย ; Ant:ดื้อ ; Def:ไม่ดื้อ, อยู่ในโอวาท ; Samp:ทำไมวันนี้ลูกเราว่าง่ายผิดปกติ ทุกทีเถียงคำไม่ตกฟาก
  4. ว่าง่าย : (ADJ) ; obedient ; Related:docile, biddable, submissive, pliant ; Syn:หัวอ่อน, ว่านอนสอนง่าย ; Ant:ดื้อ ; Def:ที่ไม่ดื้อ, ที่อยู่ในโอวาท ; Samp:น้องแพรเป็นเด็กว่าง่าย พ่อแม่ก็เลยรักมากกว่าลูกคนอื่นๆ
  5. ว่านอนสอนง่าย : (ADJ) ; obedient ; Related:docile, biddable, submissive, pliant ; Syn:หัวอ่อน, ว่าง่าย ; Ant:ดื้อ, ดื้อด้าน, ดื้อดึง ; Def:ที่อยู่ในโอวาท ; Samp:แค่มีลูกเป็นคนว่านอนสอนง่ายก็นับว่าโชคดีแล้ว
  6. ว่านอนสอนง่าย : (V) ; be obedient ; Related:be docile, be biddable, be submissive, be pliant ; Syn:หัวอ่อน, ว่าง่าย ; Ant:ดื้อ, ดื้อด้าน, ดื้อดึง ; Def:อยู่ในโอวาท ; Samp:เด็กสมัยก่อนว่านอนสอนง่ายกว่าเด็กสมัยนี้เยอะ
  7. ว่าความ : (V) ; conduct a case ; Related:hold a brief, plead, try a case, act as an arbiter ; Def:เป็นทนายว่าต่างหรือแก้ต่างในศาล ; Samp:ทนายในสำนักงานของผมไม่ค่อยว่าง เพราะต้องออกว่าความทุกวัน
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : ว่า, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : ว่า, more than 5 found, display 1-5
  1. ว่า : ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
  2. ว่าจ้าง : ก. จ้าง, ตกลงให้ทําการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น เขาว่าจ้างช่างให้มาทำรั้วบ้าน, ว่า ก็ว่า.
  3. ว่ากลอนสด : ก. กล่าวกลอนที่ผูกขึ้นอย่างปัจจุบันโดยมิได้คิด มาก่อน; โดยปริยายหมายถึงกล่าวข้อความที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน, พูดกลอนสด ก็ว่า.
  4. ว่ากล่าว : ก. ตำหนิ, ตักเตือน, เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ จึงถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปว่ากล่าว, สั่งสอน เช่น ผู้ใหญ่ว่ากล่าวไม่เชื่อฟัง.
  5. ว่าข้ามหัว, ว่าส่งไป : ก. พูดลอย ๆ ไม่เจาะจงคู่กรณีหรือผู้ถูกว่า.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : ว่า, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : ว่า, more than 5 found, display 1-5
  1. จำพรรษา : อยู่ประจำวัด ๓ เดือนในฤดูฝน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (อย่างนี้เรียกปุริมพรรษา แปลว่า พรรษาต้น) หรือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ (อย่างนี้เรียก ปัจฉิมพรรษา แปลว่า พรรษาหลัง); วันเข้าพรรษาต้น คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ เรียกว่า ปุริมิกา วัสสูปนายิกา, วันเข้าพรรษาหลัง คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ เรียกว่า ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา ; คำอธิษฐานพรรษา ว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ; ทุติยมฺปี อิมสฺมึ....; ตติยมฺปิ อิมสฺมึ....แปลว่า ข้าพเจ้าเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในวัดนี้ (วิหาเร จะเปลี่ยนเป็น อาวาเส ก็ได้) ; อานิสงส์การจำพรรษามี ๕ อย่าง คือ ๑.เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒.จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ ๓.ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ ๔.เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา ๕.จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ อานิสงส์ทั้ง ๕ นี้ได้ชั่วเวลาเดือนหนึ่ง นับแต่ออกพรรษาแล้ว คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ นอกจากนั้นยังได้สิทธิที่จะกรานกฐิน และได้รับอานิสงส์ ๕ นั้น ต่อออกไปอีก ๔ เดือน (ภิกษุผู้เข้าพรรษาแล้วหลัง ไม่ได้อานิสงส์หรือสิทธิพิเศษเหล่านี้)
  2. จีวร : ผ้าที่ใช้นุ่งห่มของพระในพระพุทธศาสนาผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในจำนวน ๓ ผืนที่เรียกว่า ไตรจีวร คือผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (อุตราสงค์) และผ้านุ่ง (อันตรวาสก); แต่ในภาษาไทย นิยมเรียกเฉพาะผ้าห่มคืออุตราสงค์ ว่า จีวร ดู ไตรจีวร ด้วย
  3. จูฬปันถกะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ในอสีติมหาสาวก เป็นบุตรของธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์ และเป็นน้องชายของมหาปันถกะ ออกบวชในพระพุทธศาสนา ปรากฏว่ามีปัญญาทึบอย่างยิ่ง พี่ชายมอบถาคาเพียง ๑ คาถาให้ ท่องตลอดเวลา ๔ เดือน ก็ท่องไม่ได้จึงถูกพี่ชายขับไล่ เสียใจคิดจะสึก พอดีพอพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสปลอบแล้วประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ให้ไปลูบคลำพร้อมทั้งบริกรรมสั้นๆ ว่า “รโชหรณํ ๆๆ” ผ้านั้นหมองเพราะมือคลำอยู่เสมอ ทำให้มองเห็นไตรลักษณ์และได้สำเร็จพระอรหัต ท่านมีความชำนาญ แคล่วคล่อง ในอภิญญา ๖ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏ์; ชื่อท่านเรียกว่าง่ายๆ ว่าจูฬบันถก, บางแห่งเขียนเป็นจุลลบันถก
  4. ตทังคปหาน : “การละด้วยองค์นั้น”, การละกิเลสด้วยองค์ธรรมที่จำเพาะกันนั้น คือละกิเลสด้วยองค์ธรรมจำเพาะที่เป็นคู่ปรับกัน แปลง่ายๆ ว่า การละกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ เช่น ละโกรธด้วยเมตตา (แปลกันมาว่า การละกิเลสได้ชั่วคราว)
  5. ไตรปิฎก : “ปิฎก ๓”; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่า คัมภีร์ที่บรรจุพระพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และ และอภิธรรมปิฎก
  6. Budhism Thai-Thai Dict : ว่า, more results...

ETipitaka Pali-Thai Dict : ว่า, more than 5 found, display 1-5
  1. วา : อ. หรือ; หรือว่า
  2. เขตต : (นปุ.) ภริยา, สรีระ, ตน, แดน, แคว้น, นา, ไร่, ไร่นา, ที่, ที่ดิน, ทุ่ง, ทุ่งนา, เขต. วิ. พีชานิ ขิปิยนฺตีติ เขตฺตํ. พีชานิ ขิปนฺตฺ- ยสฺมินฺติ วา เขตฺตํ. ขิปฺ เปรเณ, โต, ปการสฺส ตตฺตํ. ขิตฺตํ พิชํ มหปฺผลภาวกร- เณน ตายตีติ วา เขตฺตํ. ขิตฺตปุพฺโพ, ตา ปาลเน, โต, อิสฺเส, ตการทฺวยโลโป (ลบ ตฺต แห่ง ขิตฺต) ที่แปล เขตฺต ว่า ภริยานั้น เพราะเป็นที่งอกงามของพืช คือ บุตร. ส. กฺษตร.
  3. โคตฺตภู โคตฺรภู : (ปุ.) ธรรมอันครอบงำ โคตร ปุถุชนยังโคตรอริยะให้เกิด, ธรรม ( คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ ) อันยังเชื้อชาติแห่ง มหัคคตะหรือเชื้อชาติแห่งโลกุตตระให้ เจริญ วิ. มหคฺคตสฺส โลกุตฺตรสฺส วา โคตฺตํ ภาเวติ วุฑฺเฒตีติโคตฺตภู โคตฺรภู วา รูปฯ ๑๙๙ ว่า โคตฺตภู โคตฺรภู เป็น อูการันต์ นปุ. และรัสสะเป็น อุ เป็น โคตฺตภุ โคตฺรภุ เป็น อูการันต์ นปุ. และรัสสะเป็น อุ เป็น โคตฺตภุ โคตฺรภุ ได้ แปลว่า จิตอัน ครอบงำ โคตรปุถุชน ยังโคตรอริยะให้เกิด, จิตอัน ยังเชื้อชาติแห่งมหัคคตะหรือเชื้อชาติแห่ง โลกุตตระให้เกิด, ชวนจิตอันยัง...ให้เกิด.
  4. เจตนา : (อิต.) ธรรมชาติผู้คิด, ความคิด, ความคิดอ่าน, ความนึก, ความตริ, ความดำริ, ความมุ่งหมาย, ความพอใจ. วิ. จินฺตนา เจตนา. เจตยตีติ วา เจตนา. จิตฺ สํเจตเน, ยุ. ไทยใช้ เจตนาเป็นกิริยา ในความหมาย ว่า จงใจ ตั้งใจ มุ่งหมาย ส. เจตนา.
  5. ชนฺตุ : (ปุ.) สัตว์, สัตว์เกิด. วิ. ชายตีติ ชนฺตุ. ชนียเต กมฺมกิเลเสหีติ วา ชนฺตุ. ชายติ วา กมฺมกิเลเสหีติ ชนฺตุ. อรรถกถากุลาวก ชาดก ว่า ชนฺตูติ สตฺโต แปลว่า บุคคล คนดังคำในมหาฎีกามหาสุตตโสมชาดก ว่า ชนฺตูติ ปุคฺคโล.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : ว่า, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ว่า, more than 5 found, display 1-5
  1. ความเชื่อว่า.. : อภินิเวสธมฺโม
  2. แสดงให้เห็นว่า.. : อตฺถปริทีปนา
  3. วาแขน : พฺยาโม
  4. วายืน : โปริโส
  5. ฌายิตฺวา : ฌายิต, ฌาม
  6. Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ว่า, more results...

(0.6303 sec)