ศศิ ๑, ศศิน, ศศี : [สะสิ, สะสิน, สะสี] น. ''ซึ่งมีกระต่าย'' คือ ดวงจันทร์. (ส.).
ศศิ ๒ :
[สะสิ] (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
ศศิเคราะห์ : น. จันทรคราส. (ส. ศศิคฺรห).
ศศิกษัย : น. พระจันทร์แรม. (ส.).
ศศิขัณฑ์ : น. เสี้ยวพระจันทร์. (ส.).
ศศิมณฑล : น. ดวงพระจันทร์. (ส.).
ศศิวิมล : ว. บริสุทธิ์เพียงจันทร์. (ส.).
ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
ศศ, ศศะ : [สะสะ] น. กระต่าย, รอยดําที่ปรากฏในดวงจันทร์ ซึ่งถือกันว่า คล้ายกระต่าย. (ส.; ป. สส).
ศศพินทุ์, ศศลักษณ์ : น. ดวงจันทร์. (ส.).