ธมฺมธาตุ : (ปุ.) ชนผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม, พระ ธรรมธาดา หมายเอาพระบรมศาสดา.
นวงฺคสตฺถุสาสน : (นปุ.) คำสั่งสอนของ พระศาสดามีองค์เก้า, นวังคสัตถุศาสน์. องค์ ทั้ง ๙ นั้น คือ สุตตะ๑ เคยยะ ๑ เวยยากรณะ คาถา ๑ อุทาน ๑ อิติวุตตกะ ๑ ชาดก อัพภูตธรรม ๑ เทวัลละ ๑.
สาสน : (นปุ.) คำสั่ง คำบังคับ (อาณา), พระพุทธพจน์(อาคม), การสั่งสอน คำสั่งสอน(อนุสาสน), จดหมาย (เลข), ข่าว ข่าวคราว, สาสน์ คือพระราชหัตถเลขาทางราชการหรือลิขิตของพระสังฆราช, ศาสนา สาสนา (คำสั่งสอนของพระศาสดา). วิ. สาสิยเตติ สาสนํ. สาสฺ อนุสิฎฐยํฐ ยุ. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งการสั่งสอน (อบรม) สัตวโลก (มนุษย์) พร้อมทั้งเทวดาและพรหม วิ. สเทวกํ โลกํ สาสติ เอตฺถาติ สาสนํ. คำสั่งสอนอันเบียดเบียนกิเลส, คำสั่งสอนอันกำจัดกิเลส. วิ. กิเลเส สาลตีติ สาสนํ สสุ หึสายํ, ยุ. ทีฆะตันธาตุ. ส. ศาสน.
อนุสย : (ปุ.) ความเดือดร้อนในภายหลัง(ปจฺฉาตาป), ความเดือดร้อนใจ (วิปฺปฏิสาร)ความติดตาม (อนุพนฺธ), ความเป็นไปบ่อยๆ, ความเป็นไปเสมอ (ปุนปฺปุนํ ปวตฺตนํ), ธรรมเป็นที่นอนตาม, อนุสัย.วิ.สนฺตาเนอนุเสนฺตีติอนุสยา.อนุรูปํการณํลภิตฺวาเสนฺติอุปฺปชฺชนฺตีติวาอนุสยา.อนุเสตีติวาอนุสโย.สิสีวาสเย, อ.อนุสัยเป็นชื่อของกิเลสอย่างละเอียดมี ๗ คือกามราคะปฏิฆะทิฏฐิวิจิกิจฉามานะภวราคะและอวิชชาซึ่งนอนเนื่องอยู่ในสันดานของสัตว์ทั้งหลายเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่เมื่อไม่มีอารมณ์มากระทบอายตนะภายในก็ดูเหมือนเป็นคนไม่มีกิเลสแต่ความจริงอนุสัยทั้ง ๗ มีอยู่ จะเรียกคนอย่างนี้ว่านิพพานชั่วขณะไม่ได้ คำนิพพานที่ใช้ในพระพุทธศาสนาพระบรมศาสดาตรัสเรียกเฉพาะผู้ที่ละกิเลสอย่างละเอียดทั้ง ๗ นี้ได้สิ้นเชิงเป็นสมุจเฉทฉะนั้น จะเรียกคนที่มีกายวาจาและใจดูเรียบร้อย แต่ใจยังมีอนุสัย ๗ อยู่ แม้ผู้นั้นจะได้ฌานชั้นใดชั้นหนึ่งหรือทั้ง ๘ ชั้นก็ตามว่านิพพานชั่วขณะไม่ได้.อนุสัย ๗ นี้ละได้ด้วยปัญญา (วิปัสสนา) อย่างเดียว.ส.อนุศย.
อนูปวาท : (ปุ.) การไม่เข้าไปกล่าว, การไม่กล่าวโทษ, การไม่กล่าวร้าย, การไม่ว่าร้ายอนูปวาทะ (การไม่เบียดเบียนด้วยวาจาคือการไม่พูดดูถูกเขาดูหมิ่นเขาข้อนขอด-เขา).อนูปฺฆาตะ และ อนูปวาทะเป็นคุณสมบัติของผู้เผยแพร่ (เผยแผ่) พระพุทธศาสนาพระบรมศาสดาตรัสไว้ในโอวาท-ปาติโมกข์.
โอสารณา : (อิต.) โอสารณา ชื่อของวินัยกรรม อันสงฆ์ทำคือ : การเรียก (รับ) สามเณรผู้กล่าวติเตียนพระรัตนตรัย ถูกสงฆ์นาสนะผู้กลับ ประพฤติเรียบร้อยดีแล้ว ให้เข้าหมู่ได้ โอสารณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีอปโลกนกรรม. การเรียกอุปสัมปทาเปกขะ ซึ่งได้รับการไล่เรียง (ซักซ้อม) อันตรายิกธรรม ที่นอกเขตประชุมสงฆ์ (ห่างจากสงฆ์) ๑๒ ศอกแล้ว ให้เข้าหมู่สงฆ์ได้โอสาร- ณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัตติกรรม. การหงายบาตรแก่คฤหัสถ์ผู้ประพฤติให้ร้ายแก่พระศาสดา (ศาสนา)ถูกสงฆ์คว่ำบาตรคือไม่คบ ไม่รับกิจนิมนต์ ไม่รับบิณฑบาต ภายหลังรู้สึกตนกลับ ประพฤติเรียบร้อยดีแล้ว โอสารณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัตติทุติยกรรม. ๔. การยกโทษแก่ภิกษุผู้ประพฤติมิชอบ ซึ่งถูกสงฆ์ลงโทษด้วยตัชชนียกรรมผู้ กลับประพฤติดีแล้ว โอสารณานี้สงฆ์ ทำด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม.