สกรรถ : [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมาย คงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำ เช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).
สกรรมกริยา : [สะกํากฺริยา, สะกํากะริยา] (ไว) น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทํามารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล.
คำสกรรถ : ดู สกรรถ.
กรรมวาจก : [กํามะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการก หรือผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็น กรรมการก คือ ผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้ สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิด ถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' เช่น หนังสือ เล่มนี้แต่งดีมาก.
อยู่กรรม, อยู่ปริวาส : ก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่ กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้า ปฏิวาสกรรม ก็ว่า.
ศักรินทร์, ศักเรนทร์ : น. พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่. (ส. ศกฺร + อินฺทฺร).
ศุกล : [สุกกะละ] ว. สุกใส, สว่าง; ขาว, บริสุทธิ์. (ส. ศุกฺล, ศุกฺร; ป. สุกฺก).
สักกะ ๑ : (แบบ) น. พระอินทร์. (ป.; ส. ศกฺร).
สิกร : (ปุ.) ฝนตกประปราย. สิจฺ ฆรเณ, อโร.
สีกร : (ปุ.) ฝนตกประปราย วิ. สีตํ กโรตีติ สีกโร. สิญฺจตีติ วา สีกโร. สิจฺ ปคฺฆรเณ, อโร, จสฺส โก. วาตวเสน วา ตโต ตโต สรตีติ สีกโร. สรฺ คติยํ, อ, อสฺส อี, มชฺเฌ กฺอาคโม จ. ส. ศีกร, สีกร.
สุกร : (วิ.) อัน...ทำได้โดยง่าย, อัน...ทำได้ง่าย. วิ. สุเขน กริยตีติ สุกรํ. ข ปัจ. ลบ ข ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์เหมือนบทที่ประกอบด้วยอนีย์ ตพฺพ หรือ ต ปัจ. ได้. ผู้มีมืองาม. วิ. สุนฺทโร กโร ยสฺส โส สุกโร.
สุกร สูกร : (ปุ.) หมู, สุกร (สุกอน). วิ. สุนฺทรํ ผลํ กโรตีติ สุกโร สูกโร วา. อ ปัจ. ศัพท์หลัง ทีฆะ. ส. ศูกร, สูกร.
สูกร : ป. หมู
อวิเสสกร : ค. อันไม่แปลก, ไม่แตกต่าง