สนทนา : [สนทะ] ก. คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น สนทนา ปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบ. ว. ที่คุยกัน, ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาในนวนิยาย บทสนทนาภาษาอังกฤษ. (เทียบ ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียง, การเปรียบเทียบ).
สังสนทนา, สั่งสนทนา : ก. พูดกันฐานกันเอง, พูดจาหารือกัน, มักใช้ สั่งสนทนา. (ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียงกัน).
บทสนทนา : น. คําพูดที่โต้ตอบกันในการเรียนภาษา.
จุลอุปรากร : น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบท สนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. (อ. operetta).
คุย ๑ : ก. พูดจาสนทนากัน; (ปาก) ปรึกษาหารือ เช่น เรื่องนี้ขอคุยกันก่อน ที่จะตัดสินใจ; พูดเป็นเชิงโอ้อวด เช่น เรื่องแค่นี้ทำเป็นคุย.
จิตบำบัด : [จิดตะ-, จิด-] น. วิธีรักษาผู้ป่วยหรือผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจ undefined ด้วยวิธีที่จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาสนทนากับผู้ที่มารับการรักษา เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของโรคหรือปัญหาแล้วหาทางแก้ไข. (อ. psychotherapy).
ชักใบให้เรือเสีย : (สํา) ก. พูดหรือทําขวาง ๆ ให้การสนทนา หรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป.
ธรรมสากัจฉา : น. การสนทนาธรรม. (ป. ธมฺมสากจฺฉา).
สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
อาลปน์, อาลปนะ : [อาลบ, อาละปะนะ] น. การพูด, การสนทนา, การเรียก, การทักทาย; ในไวยากรณ์ หมายถึง คําที่ใช้เรียกหรือทักทายผู้ที่ตนจะพูดด้วย เช่น ''นายแดง แกจะไปไหน'' คํา ''นายแดง'' เป็นอาลปนะ. (ป., ส.).