สมถ, สมถะ : [สะมะถะ] น. การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์. ว. มักน้อย เช่น คนสมถะมีความเป็นอยู่เรียบง่าย. (ป.; ส. ศมถ).
สมถยานิก : น. ผู้มีสมถะเป็นยาน, ผู้บำเพ็ญสมถะจนได้ฌานก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนา. (ป.).
สมถวิปัสสนา :
น. สมถะและวิปัสสนา เป็นแบบปฏิบัติในการ เจริญกรรมฐานทางพุทธศาสนา. (ป.). (ดู วิปัสสนา ประกอบ).
โยคาพจร, โยคาวจร : [โยคาพะจอน, วะจอน] น. ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้มีความเพียร, (มักใช้เรียกพระภิกษุผู้เรียนสมถะและวิปัสสนา). (ป.).
กรรมฐาน : [กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบาย ทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และ วิปัสสนา กรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺ?าน).
กสิกรรม :
น. การทําไร่ไถนา. [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.). [กะ-] น. เกณฑ์สําหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑. [กะหาปะนะ] (แบบ) น. เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตําลึง คือ ๔ บาท. (ป.). [กะเลวะราก] (กลอน) น. ซากศพ, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น กเฬวรากซากศพ, เขียนเป็น กเฬวราก์ ก็มี เช่น เผากเฬวราก์ผู้อนาถ. (มาลัยคําหลวง). น. กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอหญ้า กอแขม กอไผ่, ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม เช่น กอข้าว, ใช้เข้าคู่กับคํา เหล่า ว่า เหล่ากอ หมายความว่า เชื้อสาย. (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นก่อ. (ดู ก่อ๒). ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑. ก. ทําให้เกิดขึ้น มีขึ้น หรือเป็นรูปขึ้น เช่น ก่อไฟ ก่อสงคราม ก่อตึก.
กสิณ : [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).
อาโปกสิณ : [กะสิน] น. วิธีเจริญสมถกรรมฐานโดยยึดหน่วงเอา ธาตุนํ้าเป็นอารมณ์.
อาโลกกสิณ : [โลกะกะสิน] น. การเจริญสมถกรรมฐานโดยตั้งใจ เพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์. (ป.).
สมถ : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องระงับ, ธรรมยังนิวรณ์ห้า มี กามฉันท์ เป็นต้นให้สงบ. วิ. กามฉนฺทาทิกํ ปญฺจนิวรณํ สเมตีติ สมโถ. สมุ อุปสเม. โถ แปลง อุ เป็น อ. ความสงบ, ความระงับ, ความสงบระงับ. วิ. สมนํ สมโถ. สมาธิ, สมถะ, ชื่อว่า สมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ้าน อวิกฺเขปฏเฐน สมโถ. สมถุ ชื่อของภาวนาอย่างที่ ๑ ในภาวนา ๒ เป็นอุบายสงบใจ เป็นวิธีทำใจให้สงบหลบทุกข์ไปได้ชั่วคราวมีผลเพียงให้กิเลสอย่างกลางระงับไปชั่วคราว ที่ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนเอาหินทับหญ้าเท่านั้น เมื่อเอาหินออก หญ้าก็งอกงามตามเดิม แต่ก็ยังผู้ปฏิบัติให้หลงไปว่าได้บรรลุโลกุตรธรรมเป็นพระอริยบุคคลไปก็มี เมื่อหลงไปเช่นนี้ก็เป็นอันตรายแด่พระพุทธศาสนาเหมือกัน. คำ สมถะ ไทยใช้ในความหมายว่า มักน้อย ปฏิบัติตนปอน ๆ.
โยคาวจร : (ปุ.) บุคคลผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ภิกษุผู้หยั่งลงสู่ความเพียร คือท่านผู้เรียนสมถวิปัสนา และปฏิบัติสมถะหรือวิปัสสนา.
อุตฺตริมนุสฺสธมฺม : (ปุ.) ธรรมของมนุษย์ ผู้ยิ่ง, ฯลฯ, ธรรมอันยิ่งของมนุษย์, ฯลฯ, คุณอันยิ่งของมนุษย์, ฯลฯ, อุตตริมนุสธัม. อุตตริมนุษยธรรม คือคุณธรรม (ความดี ผล) อันเกิดจากการปฏิบัติสมถะ (สมาธิ) ถึงขั้นจิตเป็นอัปปนา หรือจากการปฏิบัติ วิปัสสนาถึงขั้นละกิเลสเป็นสมุจเฉท มีคำ เรียกคุณธรรมนั้น ๆ อีกหลายคำ พระพุทธ เจ้าทรงห้ามภิกษุอวด ปรับอาบัติขั้นสูงถึง ปาราชิก วิ. อุตฺตริมนุสฺสานํ ญายินญฺเจว อริยานญฺจ ธมฺโม อุตฺตริ มนุสฺสธมฺโม.
อุปถกิริยา อุปฺปถกิริยา : (อิต.) การทำนอกทาง, การทำผิดทาง, การทำการประพฤติ นอกรีดนอก รอยของสมถะ.
จิตฺตสมถ : ป. ความสงบแห่งจิต
เจโตสมถ : (ปุ.) ความสงบแห่งจิต.
อธิกรณสมถ : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องยังอธิกรณ์ให้ระงับ, ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์, ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์, วิธีการสำหรับระงับอธิกรณ์.