ปักขคณนา : “การนับปักษ์”, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา
ปักษคณนา : การนับปักษ์, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา
วินิปาติกะ : ท่านว่าได้แก่พวกเวมานิกเปรต คือ พวกเปรตมีวิมานอยู่ได้เสวยสุขและต้องทุกข์ทรมานเป็นช่วงๆ สลับกันไป มีสุขบ้างทุกข์บางคละระคน
เวมานิกเปรต : เปรตอยู่วิมาน ได้เสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรมเสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมาน มีร่างเป็นทิพย์สวยงาม เวลาจะเสวยทุกข์ต้องออกจากวิมานไป และร่างกายก็กลายเป็นน่าเกลียดน่ากลัว
มุจฉา : ลมจับ, สลบ, สวิงสวาย
วิสัญญี : หมวดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ
พรหมทัณฑ์ : โทษอย่างสูง คือ สงฆ์ตกลงกันลงโทษภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง โดยภิกษุทั้งหลายพร้อมใจกันไม่พูดด้วย ไม่ว่ากล่าวตักเตือน หรือสั่งสอนภิกษุรูปนั้น, พระฉันนะซึ่งเป็นพระเจ้าพยศ ถือตัวว่าเป็นคนเก่าใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาก่อนใครอื่น ใครว่าไม่ฟัง ภายหลังถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ถึงกับเป็นลมล้มสลบหายพยศได้