สหประชาชาติ : (กฎ) น. องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเป็น ทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แทนสันนิบาตชาติตามมติของที่ประชุมผู้แทนประเทศ ๕๐ ประเทศ ในการประชุมใหญ่ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา โดยมี วัตถุประสงค์สําคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิ มนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจาก สนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อเต็มว่า องค์การ สหประชาชาติ (United Nations Organization).
องค์การสหประชาชาติ : ดู สหประชาชาติ.
กฎบัตรสหประชาชาติ : น. ตราสารที่สถาปนาและจัดระเบียบองค์การ ระหว่างประเทศที่เรียกว่า องค์การสหประชาชาติ.
วันสหประชาชาติ : น. วันสถาปนาองค์การระหว่างประเทศ ซึ่ง เรียกว่า องค์การสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ ๒๔ ตุลาคม.
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ : (กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการ ขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรม ระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การ สหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาท ต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรี ความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ ร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).
สห : [สะหะ] ว. ด้วยกัน, พร้อม, ร่วม, ร่วมกัน, (ใช้ประกอบหน้าคําอื่น) เช่น สหประชาชาติ สหพันธ์สหรัฐ. (ป., ส.).
ชำนัญ : ก. รู้. ชำนัญพิเศษ น. เรียกนักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องใด เรื่องหนึ่งโดยเฉพาะว่า ผู้ชํานัญพิเศษ; เรียกองค์การต่าง ๆ ในสังกัดองค์การสหประชาชาติว่า ทบวงการชํานัญพิเศษ.
เลขาธิการ : น. ผู้ดํารงตําแหน่งบริหารระดับสูงตําแหน่งหนึ่ง เช่น เลขาธิการสหประชาชาติ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน เลขาธิการ รัฐสภา เลขาธิการสมาคม. (ส. เลขาธิการี ว่า เสมียนของพระเจ้า แผ่นดิน).
สมัช, สมัชชา : [สะมัด] น. การประชุมเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ไปร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาติ; ที่ประชุม เช่น สมัชชาใหญ่ องค์การสหประชาชาติ. (ป.).
องค์การ : น. ศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็น หน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในกฎหมายหรือในตราสารจัดตั้งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ. (อ. organization).