Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สังโยชน์ , then สํโยชน, สังโยชน์ .

Eng-Thai Lexitron Dict : สังโยชน์, not found

Thai-Eng Lexitron Dict : สังโยชน์, not found

Royal Institute Thai-Thai Dict : สังโยชน์, 2 found, display 1-2
  1. สังโยชน์ : น. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็น ลําดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. (ป. สํโยชน, สญฺโ?ชน; ส. สํโยชน).
  2. สัญโญชน์ : น. สังโยชน์. (ป.).

Budhism Thai-Thai Dict : สังโยชน์, more than 5 found, display 1-5
  1. สังโยชน์ : กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘.มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา
  2. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ : สังโยชน์เบื้องสูง ได้แก่ กิเลสผูกใจสัตว์อย่างละเอียด มี ๕ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา พระอรหันตจึงละได้; ดู สังโยชน์
  3. โอรัมภาคิยสังโยชน์ : สังโยชน์เบื้องต่ำ, กิเลสผูกใจสัตว์อย่างหยาบ มี ๕ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ; ดู สังโยชน์
  4. สัญโญชน์ : ดู สังโยชน์
  5. อรหัตตมรรค : ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุ คือ ความเป็นพระอรหันต์, ญาณคือความรู้เป็นเหตุละ สังโยชน์ ได้ทั้ง ๑๐
  6. Budhism Thai-Thai Dict : สังโยชน์, more results...

ETipitaka Pali-Thai Dict : สังโยชน์, 3 found, display 1-3
  1. กิเลสภูมิ : อิต. ภูมิแห่งกิเลสมี ๔ คือ (๑) สังโยชน์ (๒) อนุสัย (๓) ปริยุฏฐาน (๔) อุปาทาน
  2. อุปาทิ : (อิต.) ธรรมชาติอันตัณหาเป็นต้นถือ เอาสภาวะเป็นผลของตน, ธรรมชาติอันตัณหาเป็น ต้นเข้าไปถือเอา,ธรรมชาติผู้เข้าไปถือเอา (ขันธปัญจกะ), สังโยชน์. อุป อา ปุพฺโพ, ทา อาทาเน, อิ.
  3. ทิฏฺฐิสโยชน : นป. ทิฎฐิสังโยชน์, กิเลสเครื่องผูกสัตว์ในภพ คือทิฐิ, ความเห็นผิดซึ่งทำให้สัตว์ติดข้องอยู่ในภพ

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : สังโยชน์, not found

(0.1082 sec)