Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สันสกฤต .

Eng-Thai Lexitron Dict : สันสกฤต, 3 found, display 1-3
  1. Sanskrit : (N) ; สันสกฤต
  2. Sanskrit : (N) ; ภาษาสันสกฤต
  3. Sanskritic : (ADJ) ; เกี่ยวกับภาษาสันสกฤต

Thai-Eng Lexitron Dict : สันสกฤต, 14 found, display 1-14
  1. สันสกฤต : (N) ; Sanskrit ; Syn:สังสกฤต, ภาษาสันสกฤต ; Def:ชื่อภาษาในตระกูลอินเดีย-ยุโรป ซึ่งมีใช้ในวรรณคดีอินเดียโบราณ เช่น คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท ต่อมาใช้ในวรรณคดีของพราหมณ์โดยทั่วไปและในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ; Samp:สันสกฤตนั้นมีรากศัพท์และคำศัพท์พ้องกับภาษากรีก
  2. สันสกฤต : (N) ; Sanskrit
  3. บาลี : (N) ; Pali ; Syn:ภาษาบาลี ; Def:ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ; Samp:คนที่เรียนภาษาไทยสมัยนี้ไม่รู้บาลี สันสกฤต ไม่รู้ศัพท์โบราณ รู้แต่ศัพท์พื้นๆ ที่ใช้พูดกัน
  4. กิริยา : (N) ; verb ; Syn:คำกริยา ; Def:คำพูดส่วนหนึ่งในไวยากรณ์ที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม ใช้ กริยา อย่างสันสกฤต
  5. โฆษะ : (N) ; voice ; Related:vocalization, sound ; Syn:ก้อง ; Ant:ไม่ก้อง, อโฆษะ ; Def:เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่พยัญชนะตัวที่ 3, 4, 5 ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. ; Samp:เสียงระเบิดมักออกเสียงแทนกันสลับไปมาระหว่างเสียงโฆษะและเสียงอโฆษะ
  6. เทวนาครี : (N) ; Devanagari ; Related:characters of Sanskrit, divine city's writing ; Syn:อักษรเทวนาครี ; Def:อักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษาสันสกฤต ; Samp:ใบลานผูกนี้เขียนด้วยตัวเทวนาครี
  7. ปุงลิงค์ : (N) ; masculine gender ; Syn:ปุลลิงค์, ปุลลึงค์ ; Def:เพศของคำที่เป็นเพศชายในไวยากรณ์บาลีสันสกฤต
  8. รัสสระ : (N) ; short vowel ; Syn:รัสสะ, รัสสสระ ; Def:สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ใอ ไอ เอา
  9. อโฆษะ : (ADJ) ; voiceless ; Syn:ไม่ก้อง ; Ant:โฆษะ ; Def:เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่พยัญชนะตัวที่ 1, 2 ของวรรค และ ศ ษ ส ; Samp:เวลาออกเสียงพยัญชนะโฆษะเส้นเสียงจะสั่นตลอดเวลา
  10. อนุ : (ADJ) ; small ; Related:minor, junior, sub ; Syn:เล็ก, น้อย ; Def:คำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย
  11. อุป : (FIXP) ; vice- ; Syn:รอง ; Def:คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากบาลีและสันสกฤต แปลว่า รอง
  12. คำสมาส : (N) ; compound word ; Def:คำที่ประกอบขึ้นด้วยคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมารวมกัน ; Samp:คำว่า วัฒนธรรม เป็นคำสมาสระหว่างภาษาบาลีกับสันสกฤต
  13. บุรุษ : (N) ; person ; Def:คำบอกผู้พูดว่าเป็นบุรุษที่ 1, 2 หรือ 3 ; Samp:ภาษาสันสกฤตและภาษาฝรั่งเศส ต้องกระจายกริยาของภาษาตามบุรุษ
  14. ยืม : (V) ; borrow ; Syn:ขอยืม ; Ant:คืน, ใช้คืน ; Def:ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของตน ; Samp:คำไทยของเราบางคำต้องยืมภาษาอื่นมาใช้ โดยเฉพาะภาษาบาลีและสันสกฤต

Royal Institute Thai-Thai Dict : สันสกฤต, more than 5 found, display 1-5
  1. สันสกฤต : [สะกฺริด] น. ชื่อภาษาในตระกูลอินเดียยุโรป ซึ่งมีใช้ในวรรณคดี อินเดียโบราณ เช่น คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท ต่อมาใช้ในวรรณคดี ของพราหมณ์โดยทั่วไป และในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน, ใช้ว่า สังสกฤต ก็มี. ว. ที่ทำให้ดีพร้อมแล้ว, ที่ทำให้ประณีตแล้ว, ที่ขัดเกลาแล้ว. (ส. สํสฺกฤต; ป. สกฺกฏ).
  2. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  3. สังสกฤต : [สะกฺริด] น. สันสกฤต.
  4. อุปะ : [อุปะ, อุบปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและ สันสกฤต แปลว่า เข้าไป, ใกล้, รอง, เช่น อุปราช อุปนายก. (ป., ส.).
  5. กมเลศ : [กะมะเลด] (กลอน) น. บัว; ใจ; พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์ สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต; ใน สันสกฤตหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือ พระนารายณ์ มาจาก กมลา = พระลักษมี + อีศ = เป็นใหญ่).
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : สันสกฤต, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : สันสกฤต, more than 5 found, display 1-5
  1. สันสกฤต : ชื่อภาษาโบราณของอินเดียภาษาหนึ่ง ใช้ในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
  2. สถูป : สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา เป็นอนุสรณ์ที่เตือนใจให้เกิดปสาทะและกุศลธรรมอื่น ๆ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ อัฐิแห่งพระสาวกหรือกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือ (บาลี : ถูป, สันสกฤต : สตูป) ดู ถูปารหบุคคล
  3. นิรฺวาณมฺ : ความดับ เป็นคำสันสกฤต เทียบกับภาษาบาลี ก็ได้แก่ศัพท์ว่า “นิพพาน” นั่นเอง
  4. พหุพจน์ : คำที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง คือตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป, เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์บาลีและไทย คู่กับเอกพจน์ ซึ่งกล่าวถึงสิ่งเดียว; แต่ในไวยากรณ์สันสกฤต จำนวน ๒ เป็นทวิพจน์หรือทวีวจนะ จำนวน ๓ ขึ้นไปจึงจะเป็นพหุพจน์
  5. พหูพจน์ : คำที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง คือตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป, เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์บาลีและไทย คู่กับเอกพจน์ ซึ่งกล่าวถึงสิ่งเดียว; แต่ในไวยากรณ์สันสกฤต จำนวน ๒ เป็นทวิพจน์หรือทวีวจนะ จำนวน ๓ ขึ้นไปจึงจะเป็นพหุพจน์
  6. Budhism Thai-Thai Dict : สันสกฤต, more results...

ETipitaka Pali-Thai Dict : สันสกฤต, more than 5 found, display 1-5
  1. ตนฺติภาสา : (อิต.) ภาษันแบบแผน, ถาษาที่มี แบบแผน. เช่น ภาษามคธ สันสกฤต และละติน.
  2. เจติย : (ปุ.) เทวาลัย, ถูป (เจดีย์), สตูป (เป็นภา ษาสันสกฤต), สถูป (มาจาก สตูป แปลง ต เป็น ถ), เจดีย์ ชื่อสิ่งที่ก่อสร้างขึ้น มีรูป คล้ายลอมฟาง มียอดแหลม สำหรับบรรจุ สิ่งที่เคารพนับถือ สิ่งอื่นๆ เช่นต้นไม้ เป็น ต้นที่นับถือ (เชื่อว่า) มีเทวดาสถิตอยู่ ก็นับ เข้าเจดีย์ได้. วิ. เจตพฺพนฺติ เจติยํ. จิตฺ ปูชายํ, โณฺย. อิอาคโม. ย ฐาน ชเนหิ อิฏฺฐกาทีหิ เจตพฺพ ตสฺมา ต ฐาน เจติย. จิตฺจยเน, ณฺย, อิ อาคโม.
  3. พุทฺธวสฺส : (ปุ. นปุ.) ปีของพระพุทธเจ้า. นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาครบ ๑๒ เดือน ครั้ง ๑ เป็นพุทธพรรษ พุทธสก ๑ ในสันสกฤต ได้รูปเป็น พุทธศักราช จึงใช้อักษรย่อปีซึ่งนับแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานว่า พ.ศ.
  4. พุทฺธสก : (นปุ.) ปีของพระพุทธเจ้า. นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาครบ ๑๒ เดือน ครั้ง ๑ เป็นพุทธพรรษ พุทธสก ๑ ในสันสกฤต ได้รูปเป็น พุทธศักราช จึงใช้อักษรย่อปีซึ่งนับแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานว่า พ.ศ.
  5. พุทฺธสาสน : (นปุ.) ศาสนาแห่งท่านผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, ศาสนาของพระ พุทธเจ้า, ศาสนาพุทธ, พุทธศาสนา, พุทธสาสนา, โดยมากใช้รูปสันสกฤต คือ พุทธศาสนา.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : สันสกฤต, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : สันสกฤต, not found

(0.0705 sec)