Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สัมพันธ์ , then สมพนธ, สมฺพนฺธ, สัมพันธ์ .

Eng-Thai Lexitron Dict : สัมพันธ์, more than 7 found, display 1-7
  1. ally : (VI) ; สัมพันธ์กันจากการแต่งงาน ; Related:ดองกัน
  2. ally : (VT) ; สัมพันธ์กันจากการแต่งงาน ; Related:ดองกัน
  3. consort : (VI) ; สัมพันธ์กัน ; Related:ร่วมกัน, เกี่ยวพันกัน
  4. correlate with : (PHRV) ; สัมพันธ์กับ
  5. correspond to : (PHRV) ; สัมพันธ์กับ ; Related:เข้ากันได้กับ ; Syn:agree with, answer to
  6. affair : (N) ; ความสัมพันธ์เชิงชู้สาว ; Syn:amour, liaison, affaire
  7. Eng-Thai Lexitron Dict : สัมพันธ์, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : สัมพันธ์, more than 7 found, display 1-7
  1. สัมพันธ์ : (N) ; relations ; Related:connections, relationships, link, association ; Syn:สัมพันธน์ ; Samp:เพื่อนกันควรจะรักษาสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนเอาไว้
  2. สัมพันธ์ : (V) ; be related ; Related:be connected, be joined, be linked, be associated ; Syn:สัมพันธน์, ผูกพัน, เกี่ยวข้อง ; Samp:เราควรเลือกคนที่เราจะสัมพันธ์ด้วย
  3. สัมพันธ์ : (N) ; relatedness ; Related:connection
  4. สัมพันธน์ : (V) ; relate ; Related:associate, link, connect ; Syn:สัมพันธ์ ; Def:ผูกพันหรือเกี่ยวดองเกี่ยวข้องกัน
  5. สัมพันธ์กัน : (V) ; be related ; Related:be involved, have to do with, be relevant to, concern ; Syn:เกี่ยวข้องกัน ; Def:ผูกพันกัน, เกี่ยวข้องกัน ; Samp:ข้อมูลทั้งสองชุดนี้ต้องสัมพันธ์กัน
  6. สายสัมพันธ์ : (N) ; relation ; Related:tie, bond, link ; Syn:ความใกล้ชิด, ความสนิทสนม, ความสัมพันธ์ ; Samp:ลูกเป็นตัวกลางที่จะประสานสายสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
  7. สายสัมพันธ์ : (N) ; relation ; Related:kinship, correspondence ; Syn:ความสัมพันธ์
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : สัมพันธ์, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : สัมพันธ์, more than 5 found, display 1-5
  1. สัมพันธ, สัมพันธ์, สัมพันธน์ : [สําพันทะ, สําพัน] ก. ผูกพัน, เกี่ยวข้อง, เช่น เขากับฉันสัมพันธ์กัน ฉันญาติ ข้อความข้างหลังไม่สัมพันธ์กับข้อความข้างหน้า. (ไว) น. การแยกความออกเป็นประโยค ๆ หรือส่วนต่าง ๆ ของประโยค แล้ว บอกการเกี่ยวข้องของประโยคและคำต่าง ๆ ในประโยคนั้น ๆ. (ป., ส.).
  2. กุลสัมพันธ์ : [กุนละ-] ว. เกี่ยวเนื่องกันทางตระกูล. (ป.).
  3. นิติสัมพันธ์ : (กฎ) น. ความเกี่ยวพันตามกฎหมาย.
  4. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  5. กำลัง ๒ : น. (คณิต) เลขชี้กําลังที่เขียนลงบนจํานวนจริง เช่น ๕๒ อ่านว่า ๕ ยกกําลัง ๒ ๗ อ่านว่า ๗ ยกกําลัง ; (ฟิสิกส์) จํานวนงาน ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งกระทําได้โดยสม่ำเสมอในหนึ่งหน่วยเวลา เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ คือ กําลัง = อัตราของการทํางาน ก็เรียก; ขนาดของของกลมที่วัดโดยรอบ เช่น ช้างมีกําลัง (วัดรอบอก) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว, ไม้มีกําลัง (วัดรอบลําต้น) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : สัมพันธ์, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : สัมพันธ์, 7 found, display 1-7
  1. สัมพันธ์ ๑. : เกี่ยวข้อง, ผูกพัน, เนื่องกัน ๒.ในทางอักขรวิธีภาษาบาลี หมายถึงบทที่เชื่อมกับบทอื่น เช่น ตุณฺหสฺส หรือ ตุณฺหิสฺส (= ตุณฺหี + อสฺส)
  2. จักกวัตติสูตร : ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง, จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า ๑.พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย ๒.มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน ๓.ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ๔.ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ; จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑.เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ; พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม; เรื่องพระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้
  3. ทิศ ๖ : บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัว จัดเป็น ๖ ทิศ ดังนี้ ๑.ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ๒.ทักขิณาทิส ทิศเบื้องขวา ๓.ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ๔.อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ๕.เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ๖.อุปริมทิศ ทิศเบื้องบน
  4. โยนิโสมนสิการ : การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยหรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี
  5. ววัตถิตะ : บทที่แยก เช่น ตุณฺหี อสฺส ตรงข้ามกับสัมพันธ์ คือ บทที่เข้าสนธิ เช่น ตุณฺหสฺส, ตุณฺหิสฺส
  6. อนัตตลักษณะ : ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่ ๑) เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ ๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง ๓) ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ ๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ ๕) โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา
  7. อิทัปปัจจยตา : “ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย”, ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย, กระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย, กฎที่ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี, เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ”, เป็นอีกชื่อหนึ่งของหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัจจยาการ

ETipitaka Pali-Thai Dict : สัมพันธ์, more than 5 found, display 1-5
  1. สมฺพนฺธ : (ปุ.) การผูกพร้อม, การผูกด้วยดี, การผูกพัน, การติดต่อกัน, การเกี่ยวเนื่องกัน, ความผูกพัน, การติดต่อกัน, การเกี่ยวเนื่องกัน, ความผูกพัน, ฯลฯ, สัมพันธ์. สํปุพฺโพ, พนฺธฺ พนฺธเน, อ.
  2. จตุกฺขตฺตุ : (อัพ. นิบาต.) สิ้นสี่ครั้ง, สิ้นสี่คราว, สิ้นสี่หน. กฺขตฺตุ ปัจ. ลงในอรรถแห่งวาร ศัพท์ สัมพันธ์ว่า อัจจันตสังโยคะ วิ. จตฺตาโร วาเร จตุกฺขตฺตู กัจฯ ๖๔๖ รูปฯ ๔๐๓. สี่ครั้ง, สี่คราว, สี่หน. สัมพันธ์ เป็นกิริยาวิเสสนะ.
  3. ทฺวิกฺขตฺต : (อัพ. นิบาต) สิ้นสองครั้ง, สิ้นสองคราว, สิ้นสองหน. ทฺวิ+ กฺขตฺตํปัจ. ลงในวาระศัพท์ รูปฯ ๔๐๓ . สองคราว, สองครั้ง. สองหน. สัมพันธ์เป็นกริยาวิเสสนะ.
  4. มิถุเภท : ป. การแตกมิตรสัมพันธ์, การทำลายสัมพันธไมตรี
  5. โยชนา : (อิต.) การประกอบ, การผูก, การประสม, การแต่ง, การรวบรวม, โยชนา ชื่อหนังสือที่ท่านแต่งรวบ รวมอรรถบอกวิเคราะห์บอกสัมพันธ์ เป็นต้น.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : สัมพันธ์, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : สัมพันธ์, not found

(0.1437 sec)