กตญฺญุตา : (อิต.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้รู้ซึ่งอุปการะอันบุคคลอื่นทำแล้วแก่ตน, ความเป็นแห่งบุคคลผู้รู้ซึ่งอุปการะอันบุพการีชนทำแล้ว, ความเป็นแห่งบุคคลผู้กตัญญู, ความเป็นผู้กตัญญู. วิ. กตญฺญุสฺส ภาโว กตญฺญุตา. รัสสะ อู เป็น อุ ในเพราะ ตา ปัจ. รูปฯ ๓๗๑. ความกตัญญู ลง ตา ปัจ. สกัด. มีสำนวนแปลอีก ดู กตญฺญู.
ตจปญฺจกกมฺมฏฺฐาน : (นปุ.) กัมมัฎฐานมี ประชุมแห่งอาการห้ามีหนังเป็นที่สุดเป็น อารมณ์ มี วิ. ดังนี้ :- ๑ กณฺ ปัจ. สมุหตัท. ปญฺจนฺนํ อาการานํ สมุโห ปญฺจกํ ฉ.ตุล. ตโจ ปริยนฺโต ยสฺส ตํ ตจ ปริยนฺตํ วิเสสนบุพ.กัม ตจปริยนฺตญฺจ ตํ ปญฺจ- กญฺจาติ ตจปญฺจกํ. ฉ. ตุล ตจปญฺจกํ อารมฺมณํ ยสฺส ตํ ตจฺปญฺจการมฺมณํ. วิเสสนบุพ.กัม. ตจปญฺจการมฺมณญฺจ ตํ กมฺมฏฺฐานญฺจาติ ตจปญฺจกกมฺมฏฐานํ. นอกจากนี้ยังมีสำนวน แปลอย่างอื่นอีก คือกัมมัฏฐานมีหมวด แห่งส่วนห้าแห่งอาการมีหนังเป็นที่สุด เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนด ด้วยอาการมีหนังเป็นที่ห้าด้วยอารมณ์, พึง ตั้ง วิ. ตามสำนวนแปล. กัมมัฏฐานนี้เป็น กัมมัฏฐานแรก ซึ่งพระอุปัชฌาย์สอนนาค ก่อนที่จะบรรพชาอุปสมบท สำหรับใช้ ภาวนาจึงเรียกว่า มูลกัมมัฏฐาน เป็น สมถกัมมัฏฐานก็ได้เป็นวิปัสสนากัมมัฏ- ฐานก็ได้ แล้วแต่การภาวนาว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา ทขา โลมา เกสา ไม่ได้พิจารณาว่า ผม ฯลฯ ไม่งาม ฯลฯ ก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน ถ้าพิ – จารณาผม ฯลฯ แยกให้เห็นเป็น สามัญ – ลักษณะ ก็เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน.
นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสน : (นปุ.) การฟ้อน รำและเพลงอันบุคคลพึงขับและดนตรี อันบุคคลพึงประโคมและการดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล, การฟ้อนและการขับและการประโคมดนตรีและการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล. สำนวนการแปลแรกที่แปล คีต และ วาทิต ว่าพึงนั้นแปลตามรูป วิ. เคตพฺพนฺคิ คีตํ. วาทิตพฺพนฺติวาทิตํ.
ปรสุเว ปรเสฺว : (อัพ. นิบาต) ในวันพรุ่ง, ใน วันมะรืน, มะรืนนี้, ปะรืน ( สำนวนเก่า ).
อนมตคฺค : (วิ.) มีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว, มีวิ.ตามลำดับ ดังนี้ปเรกเสสทวัน. อคฺโค จ ปุพฺโพ จ อคฺคา.วิเสสนบุพ.กัม.อนุคจฺฉิยมานา จ เตอคฺคาจาติอนุคจฺฉิมานคฺคา.นบุพ.กัม. น มตา อนมตา (อนุคจฺฉิยมานคฺคา)วิเสสน บุพ.กัม.อนมตาจเตอนุคจฺ-ฉิยมานคฺคาจาติอนมตคฺคา.ตทัสสิตัท.อนมตคฺคาอสฺสอตฺถีติอนมตคฺโค (สํสาโร วฎฺฎสํสาโร).มีสำนวนแปลอีกคือมีที่สุดอันบุคคลไปตามไม่รู้แล้ว, มีที่สุดอันบุคคลไม่รู้แล้ว, มีที่สุดและเบื้องต้นอันใครๆ ไปตามไม่รู้แล้ว, มี่ที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลไปตามไม่รู้แล้ว.