สิกขาปท : (นปุ.) บทอันบุคคลพึงศึกษา, สิกขาบทคือ ข้อศีล ข้อวินัย ข้อหนึ่ง ๆ เป็นสิกขาบทหนึ่ง ๆ หรือมูลบัญญัติ ข้อที่ทรงตั้งไว้เดิม และอนุบัญญัติ ข้อที่ทรงตั้งเพิ่มเติมภายหลัง รวมเป็นสิกขาบทหนึ่ง ๆ สิกขาบทมีความหมายแคบ หมายเอาเฉพาะ สีล ส่วน สิกขา หมายเอา สีล สมาธิ และ ปัญญา.
นาสน : (นปุ.) การให้ตาย, ฯลฯ, การฆ่า, การฟัน, การฆ่าฟัน, นาสนะ ชื่อการลงโทษภิกษุ ผู้ทำผิดให้ ลาสิกขา ให้สละสมณเพศ. นสฺ ธาตุ เณ เหตุปัจ. และ ยุ ปัจ.
นาสนา : (อิต.) การให้ตาย, ฯลฯ, การฆ่า, การฟัน, การฆ่าฟัน, นาสนะ ชื่อการลงโทษภิกษุ ผู้ทำผิดให้ ลาสิกขา ให้สละสมณเพศ. นสฺ ธาตุ เณ เหตุปัจ. และ ยุ ปัจ.
อธิจิตฺตสิกฺขา : (อิต.) ปฏิทาอัน..พึงศึกษา คือจิตยิ่ง, ข้อที่ควรศึกษาคือจิตยิ่ง, อธิกจิตตสิกขาชื่อหลักการศึกษาทางพุทธศาสนา หลักที่ ๒ใน ๓ หลัก.
อภิสมาจาริกาสิกฺขา : (อิต.) สิกขาอันกล่าวถึงขนบธรรมเนียมอันดีของภิกษุ, สิกขาอันเป็นอภิสมาจารเป็นสิกขามานอกพระปาติ-โมกข์ไม่มีจำนวนบอกไว้.
อาทิพฺรหฺมจริยกาสิกฺขา : (อิต.) สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ได้แก่ พุทธบัญญัติที่ทรงตั้งไว้เป็นพุทธอาณาอันเป็นข้อบังคับโดยตรงซึ่งภิกษุต้องประพฤติปฏิบัติโดยเคร่งครัด คือสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์
สิกฺขา : (อิต.) ปฏิปทาอันบุคคลพึงศึกษา, ปฏิปทาอันเขาพึงศึกษา, ทางดำเนินอันบุคคลพึงศึกษา, ข้อที่ควรศึกษา, ข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา, วิชชาอันบุคคลพึงศึกษา, หัวข้อที่ควรศึกษา. วิ. สิกฺขิตพฺพนฺติ สิกฺขา, ปฏิปทาอันเขาย่อมศึกษา, ฯลฯ. วิ. สกฺขิยตีติ สิกฺขา, การศึกษา, การเล่าเรียน, การสำเหนียก (เอาใจใส่ กำหนดจดจำ). วิ. สิกขนํ สิกฺขา. อ ปัจ. อา อิต. พระพุทธศาสนาวางข้อ (เรื่อง) ที่ควรศึกษาไว้ ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เรียกว่า ไตรสิกขา.
หตฺถสิกฺขา : (อิต.) การศึกษาวิชาเนื่องด้วยมือ, หัตถศึกษา คือวิชาเกี่ยวกับการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆด้วยมือ. วิ. หตฺถพทฺธวิชฺชาย สิกฺขา หตฺถสิกฺขา. ลบ พทฺธวิชฺชา.