อื่น : ว. นอกออกไป, ต่างออกไป.
ตราไปรษณียากร : น. แสตมป์, (กฎ) บัตรตราใด ๆ ซึ่งจัดให้มีขึ้น เพื่อใช้เป็นค่า ไปรษณียากรหรือค่าธรรมเนียมอื่น หรือจํานวนเงินที่จะต้องเสียในการส่ง ไปรษณียภัณฑ์ รวมทั้งตราไปรษณียากรสําหรับผนึก หรือตราไปรษณียากร ที่พิมพ์ ดุน หรือแสดงไว้โดยวิธีอื่นบนซอง กระดาษห่อ ไปรษณียบัตร หรือ สิ่งอื่น ๆ.
นิรมาณกาย : [ระมานนะกาย] น. กายที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งมีอันเปลี่ยนแปลงไปเหมือนสิ่งที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ อื่น ๆ, ตามคติมหายานเชื่อว่าเป็นรูปปรากฏของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของพระพุทธเจ้า คือ ธรรมกาย.
ประปา : น. นํ้าที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้วจ่ายไปให้ ประชาชนบริโภคใช้สอย เรียกว่า นํ้าประปา, เรียกรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่จัดทําและจําหน่ายนํ้าประปาว่า การประปา, เรียกสิ่ง อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนี้ เช่น ก๊อกประปา ท่อประปา. (ส. ปฺรปา; ป. ปปา).
อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ่งอื่น, more results...
สถูป :
สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา เป็นอนุสรณ์ที่เตือนใจให้เกิดปสาทะและกุศลธรรมอื่น ๆ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ อัฐิแห่งพระสาวกหรือกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือ (บาลี : ถูป, สันสกฤต : สตูป) ดู ถูปารหบุคคล
กัลปนา : 1.ที่หรือสิ่งอื่นซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด 2.ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้แก่ผู้ตาย - merit dedicated to the departed.
ตถาคต : พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่าง คือ ๑.พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือ เสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๒.พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชาสละปวงกิเลสเสด็จไปเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๓.พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายหรือของธรรมทุกอย่าง๔.พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาทอันเป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน ๕.พระผู้ทรงเห็นอย่างนี้ คือ ทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ซึ่งสัตวโลกตลอดถึงเทพถึงพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา ทรงเข้าใจสภาพที่แท้จริง ๖.พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวงนับแต่ตรัสรู้จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนเป็นสิ่งแท้จริงถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น ๗.พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ๘.พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสุด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจ เป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือประดาพรหม ไม่มีใครจะอาจวัดหรือจะทดเทียมพระองค์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
ตู่ : กล่าวอ้างหรือทึกทักเอาของผู้อื่นว่าเป็นของตัว, กล่าวอ้างผิดตัว ผิดสิ่ง ผิดเรื่อง, ในคำว่า กล่าวตู่พระพุทธเจ้า หรือตู่พุทธพจน์ หมายความว่า อ้างผิดๆ ถูกๆ, กล่าวสิ่งที่ตรัสว่ามิได้ตรัส กล่าวสิ่งที่มิได้ตรัสว่าได้ตรัสไว้, พูดให้เคลื่อนคลาดหรือไขว้เขวไปจากพุทธดำรัส, พูดใส่โทษ, กล่าวข่มขี่, พูดกด เช่น คัดค้านให้เห็นว่า ไม่จริงหรือไม่สำคัญ
ทาน : การให้, สิ่งที่ให้, ให้ของที่ควรให้แก่คนที่ควรให้เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น; ทาน ๒ คือ ๑.อามิสทาน ให้สิ่งของ ๒.ธรรมทาน ให้ธรรม; ทาน ๒ อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม ๒.ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ
Budhism Thai-Thai Dict : สิ่งอื่น, more results...
เอก : (วิ.) หนึ่ง, อย่างหนึ่ง, เดียว, ผู้เดียว, คนเดียว, ไม่มีเพื่อน, โดดเดียว, โดดเดี่ยว, วังเวง, เยี่ยม, ยอด, ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, สูงสุด, นอกนี้, ต่างหาก, เดียวกัน, เช่น เดียวกัน, แนวเดียวกัน, เป็นหนึ่ง, อื่น (คือ อีกคนหนึ่ง อีกพวกหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่ง). อิ คมเน, ณฺวุ, อิสฺเส. วิ. เอติ ปวตฺตตีติ เอโก. เอกศัพท์นี้เป็นปกติสังขยาและวิเสสนสัพพ นามที่เป็นสังขยา (การนับ) เป็นเอกวจนะ อย่างเดียวที่เป็นวิเสสนสัพพนาม เป็น เอก. และ พหุ. เมื่อต้องการเป็นพหุ. พึงใช้ เป็นวิเสสนสัพพนาม และแปลว่าคนหนึ่ง, คนเดียว คนเดียวกัน พวกหนึ่ง ฯลฯ พึงยัก เยื้องให้เหมาะสมกับนามนาม. เอกศัพท์ ใช้เป็นวิเสสนะของนามนามใด เวลาแปล พึงเหน็บลักษณนามของนามนั้นลงไปด้วย เช่น เอกา ธมฺมเทสนา อ. ธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์. คำว่าไม้เอก (วรรณยุกต์ที่ ๑) มา จากเอกศัพท์นี้. เอกศัพท์ที่นำมาใช้ใน ภาษาไทยมีความหมายว่า ตัวคนเดียว ลำพังตัว โดดเดี่ยว เปลี่ยว เฉพาะ เด่น ดีเลิศ ยิ่งใหญ่ สำคัญ ที่หนึ่ง (ไม่มีสอง). ส. เอก.
กปฺปิยโวหาร : (ปุ.) ถ้อยคำอันควร, ถ้อยคำ อันสมควร, กัปปิยโวหาร คือถ้อยคำที่ควรใช้พูด ถ้อยคำที่ภิกษุใช้พูดให้เหมาะ สมแก่ภาวะไม่ผิดพระวินัย ในเมื่อต้องการให้ผู้อื่น (มิใช่บรรพชิต) ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่นพูดว่า หญ้าข้างกุฏิรกเด็กหรือคนวัด ถอนหรือดายหญ้าให้ ภิกษุไม่ต้องอาบัติใน เพราะพรากของเขียว ดังนี้เป็นต้น.
ฉายา : (อิต.) เค้า คือสิ่งที่เป็นเครื่องกำหนด หมายให้รู้ สิ่งที่ส่อแสดงให้รู้ว่ามีลักษณะ เหมือนสิ่งอื่น, ความไม่มีแดด, เงา, ร่ม (บริเวณที่ไม่ถูกแดดไม่ถูกฝน), รูป, รูป เปรียบ, แสงสว่าง, ฉายา คือ ชื่อที่พระ – อุปัชฌายะตั้งให้เป็นภาษามคธเมื่ออุปสม – บท. วิ. เฉติ สํสยนฺติ ฉายา. ฉา เฉทเน, โย. ฉินฺทติ ปริสฺสมนฺติ วา ฉายา. ไทยใช้ เรียกชื่อภาษาไทยที่ตั้งกันเล่นๆตามลักษ – ณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ เช่น เปี๊ยก ว่ามี ฉายาว่า นายเปี๊ยก นอกจากนี้ยังหมายถึง นางผู้โฉมงามหรือเมียอีกด้วย.
ติสรณ : (นปุ.)ที่พึ่งสาม,สรณะสาม,ไตรสรณะ. ไตรสรณะคือ พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งสูงสุดของพุทธ ศาสนิกชน ๆ จะนับถือสิ่งอื่นสูงกว่าหรือ เทียบเท่าพระรัตนตรัยไม่ได้ ถือว่าขาด จากพระรัตนตรัย. ส. ไตรสรณ.
ปรกต : ค. ที่ผู้อื่นกระทำไว้, ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นสร้างขึ้น
ETipitaka Pali-Thai Dict : สิ่งอื่น, more results...