ศูกร : [กอน] น. หมู. (ส.; ป. สูกร).
สกรรถ : [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมาย คงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำ เช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).
สกรรมกริยา : [สะกํากฺริยา, สะกํากะริยา] (ไว) น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทํามารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล.
คำสกรรถ : ดู สกรรถ.
กรรมวาจก : [กํามะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการก หรือผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็น กรรมการก คือ ผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้ สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิด ถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' เช่น หนังสือ เล่มนี้แต่งดีมาก.
กระลุมพุก ๒ :
(กลอน) น. ปลาตะลุมพุก เช่น ค้าวอ้าวอุกกระลุมพุกสีเสียดสุกรสิง. (สรรพสิทธิ์). (ดู ตะลุมพุก๒).
น้ำดอกไม้ ๒ : น. (๑) ชื่อชมพู่ชนิด Syzygium jambos (L.) Alston ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง เนื้อบาง กลิ่นหอมเหมือนกุหลาบ. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ; ผลยาว ดิบรสเปรี้ยวจัด สุกรสหวานหอม เมล็ดแบนมาก.
น้ำนมราชสีห์ : น. (๑) กล้วยชนิดหนึ่ง ผลคล้ายกล้วยกรัน สุกรสหวานเย็น มีกลิ่น หอม. (พจน. ๒๔๙๓). (๒) ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Euphorbia วงศ์ Euphorbiaceae ใบออกตรงข้ามกัน ทุกส่วนมียางขาว คล้ายนํ้านม ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด E. hirta L. ต้นและใบมีขน.
มะมุด : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Mangifera foetida Lour. ในวงศ์ Anacardiaceae มีในภาคใต้ ต้นและใบคล้ายมะม่วง ผลดิบรสเปรี้ยวจัด สุกรสหวาน อมเปรี้ยว, มุด ก็เรียก.
อยู่กรรม, อยู่ปริวาส : ก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่ กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้า ปฏิวาสกรรม ก็ว่า.