เหนี่ยวรั้ง : ก. ดึงไว้, ประวิงไว้, ชะลอไว้.
ฝืน : ก. ต้องจําใจทําสิ่งที่ไม่อยากจะทํา เช่น ฝืนกิน ฝืนทํา; ขัด, ไม่ทําตาม, เช่น ฝืนระเบียบ; ขืน, ขืนไว้, เหนี่ยวรั้ง, เช่น ฝืนใจ.
ยอ ๒ : ก. กล่าวคําเพื่อเชิดชู เช่น ยอพระเกียรติ หรือเพื่อให้ชอบใจ เช่น เด็กชอบ ให้ยอ; ยก เช่น ยอกร, ยกเพื่อกระแทก เช่น ยอด้วยเข่า; บอกให้หยุด (ใช้แก่ วัวควาย); ให้หยุด, หยุด, เช่น ยอทัพ, โดยปริยายหมายความว่า เหนี่ยวรั้ง ไม่ไหว เช่น ยอไม่หยุด.
สังวร : [วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สํารวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวร ไว้อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).