หยอน : ก. หวาดเสียว.
หย่อน : ก. ไม่ตึง, ผ่อนไม่ให้ตึง, ค่อย ๆ ผ่อนลงมาจากที่สูง; ถอย เช่น หย่อนกําลัง, คลาย เช่น หย่อนอารมณ์, ทุเลา เช่น ลดหย่อน; เบาลง, น้อย, ไม่เต็ม, เช่น กิโลหย่อนไป ๒ ขีด บาทหย่อนสลึง หย่อนสมรรถภาพ.
โรย : ก. อาการที่ดอกไม้ค่อย ๆ เหี่ยวแห้งและเริ่มหลุดร่วงไป เช่น ดอกไม้โรย ดอกจำปาโรย, อาการที่กลีบหรือเกสรดอกไม้ค่อย ๆ หลุดร่วงไป เช่น กลีบกุหลาบโรย เกสรบัวโรย; อาการที่หน้าตาไม่สดชื่นเพราะอดนอน หรือเพิ่งหายไข้เป็นต้น เช่น หน้าตายังโรยอยู่ อดนอนตาโรย; หย่อน กำลัง, เพลีย, ในคำว่า อิดโรย; ค่อย ๆ ผ่อนลง เช่น โรยเชือก โรยอวน; ค่อย ๆ โปรยลงไป, โปรยลงไปทีละน้อย, เช่น เอาแป้งโรยตัว โรย อาหารให้ปลา โรยพริกไทย โรยผักชี.
ลูกบิด : น. อุปกรณ์สําหรับจับบิดเพื่อปิด เปิดประตูหน้าต่าง เดิม ทําเป็นลูกกลม ๆ; อุปกรณ์เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์สําหรับปิดเปิด ให้ของเหลวเป็นต้นหยุดผ่านหรือไหลผ่าน; อุปกรณ์สําหรับบิดเร่ง หรือลดสายเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดหรือเครื่องสีให้ตึงหรือ หย่อน มักทําด้วยไม้หรืองา.
อ่อน : ว. ไม่กระด้าง เช่น ลิ้นอ่อน; นิ่ม เช่น เนื้ออ่อน; ไม่จัด เช่น แดดอ่อน; ไม่แข็ง, ยอมง่าย ๆ, รู้สึกสงสาร, เช่น ใจอ่อน; ไม่แก่ เช่น มะพร้าว อ่อน; หย่อน เช่น อ่อนเค็ม, น้อย เช่น เหลืองอ่อน, ไม่แรง เช่น ไฟอ่อน, อายุยังน้อย เช่น ไก่อ่อน, ยังเล็กอยู่ เช่น เด็กอ่อน; ละมุนละม่อม, ดัดง่าย, เปลี่ยนแปลงง่าย.
กตฺตร : (วิ.) หย่อน, เทิบทาบ, แก่, เก่า. กตฺตรฺ เสถิลฺเล, อ.
กตฺตรยติ : ก. หย่อน, อ่อนแอ
ขล : (วิ.) ไหว, พลาด, ผิด, ต่ำ, ต่ำช้า, เลว, เลวทราม, ชั่ว, หย่อน, หยาบ, หยาบคาย, กระด้าง. ขลฺ จลเน, อ. รวม, รวบรวม, สะสม. ขลฺ สญฺจินเน, อ. ชำระ, ล้าง, สะอาด. ขลฺ โสเจยฺเย, อ.
ชิฆญฺญ : (วิ.) สุด, หลัง, เสร็จ, หย่อน, ต่ำช้า, ชั่วช้า, เลวทราม. วิ. ชฆเน สาธุ ชิฆญฺญ. ชฆน ศัพท์ ย ปัจ. ลบ อ ที่ น เหลือเป็น นฺ รวมเป็น นฺย แปลง นฺย เป็น ญฺญ แปลง อ ที่ ช เป็น อิ.
ถิน : (วิ.) หย่อน, ย่อหย่อน, เบา, หลวม, เหลว (ไม่ได้เรื่อง), คร้านจิต (จิตท้อถอยไม่ อยากทำอะไร). สถฺ เสถิลฺเล, อิโน, ลบ ต้นธาตุ.
สิฐล สิถิล : (วิ.) หย่อน, เบา, อ่อน, หลวม. สถฺ เสถิลฺเล, อิโล, อสฺสิ. ศัพท์ต้นแปลง ฤ เป็น ฐฺ.
สิถิล : ค. หย่อน, เบา
อลิส : (วิ.) หย่อน, ย่อหย่อน.
อูน, อูนก : ค. หย่อน, พร่อง
โอน : (วิ.) หย่อน, พร่อง, ไม่เต็ม, ถอย. อูนฺ ปริหานิเย, โณ.