หลงลืม : ก. มีความจำเลอะเลือน, มีความจำเสื่อมจึงทำให้ลืม, มีสติเฟือน ไป.
ย้ำเหยอ : [เหฺยอ] ว. เลอะเทอะ, หลงลืม.
หลงลม, หลงลมปาก : (ปาก) ก. หลงเชื่อถ้อยคำ เช่น อย่าหลงลมปากคน ชวนไปหาลาภทางไกล.
เผลอ : [เผฺลอ] ก. หลงลืมไปชั่วขณะ เช่น เผลอตัว เผลอสติ, เลินเล่อ, ไม่ ระวังตัว, เช่น เผลอไปแผล็บเดียว แมวคาบปลาไปกินเสียแล้ว.
เผลอสติ : [สะติ] ก. หลงลืมสติไปชั่วขณะ, ขาดสติไปชั่วขณะ.
พลั้งเผลอ : [เผฺลอ] ว. ผิดพลาดเพราะหลงลืมไปชั่วขณะ.
ลูกหลง : น. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้าง อยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่น ซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับ เคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มี เจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไป หมอบกับพื้นเวที.
ดวงเดือนประดับดาว : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บจิตมิตรหมาง ค้างเขินขวย เวียนวนหลงลมงมงงงวย ฉาบฉวยรวยเร่อเธอถูกทาง.
ลมปาก : น. ถ้อยคำที่กล่าว เช่น อย่าสัญญาเพียงลมปาก, คำพูด ที่จูงใจให้เห็นคล้อยตาม เช่น หลงลมปากจึงตามเขาไป.
ปมุสฺสติ : ก. หลงลืม
ปมุฏฺฐ : กิต. (อันเขา) ลืมไว้, หลงลืมแล้ว
สติสมฺโมส, -โมห : ป. การหลงลืม
สมฺมุสฺสนตา : (อิต.) ความเผลอเลอ, ความเลินเล่อ, ความหลงลืม, สํปุพฺโพ, มุสฺ สมฺโมเส, ยุ. ลง ย ปัจ. ประจำหมวดธาตุ แปลง สฺย เป็น สฺส ยุ เป็น อน ตา ปัจ. สกัด.
สมฺโมส, - โมห : ป. ความหลงลืม
อปฺปมุฏฺฐตฺต : นป. ความเป็นผู้ไม่หลงลืม, ความเป็นผู้ไม่ปล่อยสติ
อมุยฺหมาน : กิต. ไม่งมงาย, ไม่หลงลืม
อสมฺมุฏฺฐ : อิต. ความไม่หลงลืม, ความมีสติ
อสมฺมูฬฺห : ค. ไม่หลงลืม, ไม่งมงาย
อสมฺโมส, - โมห : ป. ความไม่หลงลืม, ความมีสติ, ความไม่หลงงมงาย