หวั่นไหว : ก. สั่นสะเทือน, โอนเอน, เช่น จิตใจหวั่นไหวไปตามอารมณ์, ครั่นคร้าม เช่น ไม่หวั่นไหวต่อภยันตรายใด ๆ. ว. อาการที่สั่นสะเทือน มาก (ใช้แก่เสียง) เช่น เสียงดังสนั่นหวั่นไหว.
กัมบน : [กําบน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กําบน ก็ว่า. (ป. กมฺปน). (ม. คําหลวง กุมาร, หิมพานต์).
กำทวน : ว. สนั่น, หวั่นไหว, ก้อง, เช่น เสียงมฤคคชสีหไกรสร สีหนาทกําธร กําทวนข้างป่าหิมพานต์. (สมุทรโฆษ).
กำธร : [-ทอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวยอาศิรวาท กำธรอากาศ ฦๅเลวงไชยไชย. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. กํทร ว่าบรรลือเสียง, ตีรัว).
กำบน : ก. กัมบน, หวั่นไหว, เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ เอาดอยราชเมรู แลนนทพนชูเปนเซรอด ก็เกอดพิการกำบน. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (มาจาก ป., ส. กมฺปน).
เขยียวขยอน : [ขะเหฺยียวขะหฺยอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, เกรียวกราว. (ข. เขฺญียวขฺญาร ว่า เจื้อยแจ้ว).
จาบัล, จาบัลย์ : [-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว).
ตรละ ๒ : [ตะระละ] (แบบ) น. พลอยเม็ดกลางของเครื่องสร้อยคอ, สร้อยคอ; เพชร, เหล็ก; พื้นล่าง, พื้นราบ; ส่วนลึก. ว. กลับกลอก; หวั่นไหว, สั่น. (ป., ส.).
ตระอาล : [ตฺระอาน] (กลอน) ว. หวั่นไหว เช่น พยงแผ่นดินบตระอาล. (ม. คําหลวง กุมาร). (ข. ตรฺอาล ว่า ยินดี, สบายใจ).
สะดุ้งสะเทือน : ก. หวั่นไหว, เดือดร้อน, กังวลใจ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ใครจะนินทาว่าร้ายอย่างไรก็ไม่สะดุ้งสะเทือน มหาเศรษฐีเสียเงิน ล้านสองล้านไม่สะดุ้งสะเทือนหรอก.
กมฺปติ : ก. ไหว, หวั่นไหว, กระเพื่อม
กุปฺปติ : ก. โกรธ, เคือง, หวั่นไหว, กำเริบ, สะเทือน
โขเภติ : ก. สะดุ้ง, กระเพื่อม, หวั่นไหว, ไม่สงบ
จปล : (วิ.) ประพฤติผิดโดยไม่ตริตรองเสียก่อน, ประพฤติผิดโดยพลัน, กลับกลอก, โยก, โคลง, ไหว, หวั่นไหว, ไม่แน่นอน, พลิก- แพลง, รวดเร็ว. จปฺ กกฺกนสนฺตาเนสุ, อโล. อถวา, จุป จลเน, อโล. วิ. จุปติ เอกตฺเถ น ติฏฺฐตีติ จปโล. อุสฺส อตฺตํ.
จล : ค. หวั่นไหว, โคลงเคลง, ยุ่งยาก
ETipitaka Pali-Thai Dict : หวนหว, more results...