Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หัวใจ .

Eng-Thai Lexitron Dict : หัวใจ, more than 7 found, display 1-7
  1. tick-tock : (SL) ; หัวใจ
  2. valve : (N) ; ลิ้นปิดเปิด (เครื่องยนต์, เครื่องดนตรีใช้เป่า, หัวใจ, หลอดเลือด) ; Related:ลิ้นเครื่องยนต์, ลิ้นลูกสูบ, วาล์ว ; Syn:flap, lid, plug
  3. heart : (N) ; หัวใจ (อวัยวะ)
  4. ticker : (N) ; หัวใจ (คำไม่เป็นทางการ) ; Syn:heart
  5. flutter : (N) ; การสั่นรัว (หัวใจ) ; Related:การเต้นระรัว, การสั่นระริก ; Syn:quiver, tremble
  6. heart failure : (N) ; หัวใจวาย ; Related:หัวใจล้มเหลว, ภาวะที่หัวใจหยุดทำงาน ; Syn:cardiac arrest
  7. one's heart stands still : (IDM) ; หัวใจแทบหยุดเต้น ; Related:หัวใจจะวาย
  8. Eng-Thai Lexitron Dict : หัวใจ, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : หัวใจ, more than 7 found, display 1-7
  1. หัวอกหัวใจ : (N) ; heart ; Syn:หัวใจ ; Samp:หล่อนมือไม้สั่นเทาหัวอกหัวใจเต้นแรงเร็ว
  2. หัวใจวาย : (N) ; heart failure ; Def:อาการที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ; Samp:เส้นโลหิตอุดตันอาจนำไปสู่อาการหัวใจวายได้
  3. หัวใจสำคัญ : (N) ; heart (e.g. of the matter) ; Related:basis ; Samp:หัวใจสำคัญที่อยู่เบื้องหลังวิวัฒนาการของการสื่อสารก็คือคอมพิวเตอร์
  4. หัวใจสำคัญ : (N) ; heart (e.g. of the matter) ; Related:basis ; Samp:หัวใจสำคัญที่อยู่เบื้องหลังวิวัฒนาการของการสื่อสารก็คือคอมพิวเตอร์
  5. กมล : (N) ; heart ; Related:mind ; Syn:หัวใจ, ดวงใจ, ใจ ; Def:ใจ เช่น ดวงกมล ; Samp:่ในกมลของเขามีแต่เธอผู้เดียว ; Unit:ดวง
  6. กล้ามเนื้อหัวใจ : (N) ; cardiac muscle ; Samp:กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่มีลายแต่ทำงานภายนอกอำนาจจิต ; Unit:มัด
  7. ใจ : (N) ; heart ; Syn:หัวใจ, ดวงใจ ; Def:สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, ส่วนสำคัญหรือส่วนศูนย์ของสิ่งต่างๆ ; Samp:ใจของเขาเต้นแรงหลังจากได้ยินข่าวร้ายจากทางบ้าน
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : หัวใจ, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : หัวใจ, more than 5 found, display 1-5
  1. หัวใจ : น. อวัยวะภายในสําหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มี หัวใจ; ส่วนสําคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความ ต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกําหนดจําได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจ อริยสัจ ว่า ''ทุ. ส. นิ. ม.'' หัวใจนักปราชญ์ ว่า ''สุ. จิ. ปุ. ลิ.'' หัวใจเศรษฐี ว่า ''อุ. อา. ก. ส.''.
  2. หัวจิตหัวใจ : น. หัวใจ, จิตใจ, (มักใช้ในทางตำหนิ) เช่น หัวจิตหัวใจเขาทำ ด้วยอะไรจึงเหี้ยมเกรียมนัก, อารมณ์ เช่น เขากำลังเศร้าโศกไม่มีหัวจิตหัวใจ จะทำอะไร.
  3. หัวอกหัวใจ : น. สภาพจิตใจที่น่าสงสารหรือน่าเห็นใจเป็นต้น เช่น นั่งก็ไม่ เป็นสุข นอนก็ไม่เป็นสุข หัวอกหัวใจมันร้อนรุ่มไปหมด.
  4. นั่งในหัวใจ : (สํา) ก. รู้ใจ, ทําถูกต้องตรงตามที่ผู้อื่นคิดไว้.
  5. ใจ : น. สิ่งที่ทําหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด ใจซื่อ; จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ, บริเวณที่ถือว่าเป็นจุด สำคัญของสถานที่ เช่นใจบ้านใจเมือง.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : หัวใจ, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : หัวใจ, 6 found, display 1-6
  1. หทัย : หัวใจ
  2. หฤทัย : หัวใจ
  3. ทวัตติงสาการ : อาการ ๓๒, ส่วนประกอบที่มีลักษณะต่างๆ กัน ๓๒ อย่าง ในร่างกาย คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (อุจจาระ) มันสมอง ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร (ปัสสาวะ); ในขุททกปาฐะ (ฉบับสยามรัฐ) เรียงลำดับมันสมองไว้เป็นข้อสุดท้าย; ทวัตดึงสาการ หรือ ทวดึงสาการ ก็เขียน
  4. ปฐวีธาตุ : ธาตุดิน คือธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า; อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน แต่ในทางพระอภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลมที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้องได้ด้วยกายสัมผัส
  5. อุปาทายรูป : รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป, อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ ก) ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆาน จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย, มโน ใจ, ข) โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค) ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง) หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ จ) ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ) อาหารรูป ๑ คือกวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช) ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง ญ) วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้ ฎ) วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา, มุทุตา ความอ่อน, กัมมัญญตา ความควรแก่งาน, (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ) ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้, สันตติ สืบต่อได้, ชรตา ทรุดโทรมได้, อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔); ดู มหาภูต ด้วย
  6. โอวาทปาฏิโมกข์ : หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา), คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)

ETipitaka Pali-Thai Dict : หัวใจ, 5 found, display 1-5
  1. หทย : (นปุ.) ใจ, หัวใจ. วิ. หรติ อตฺตโน อา ธารนฺติ หทยํ. หรฺ หรเณ, โย, รสฺส โท. หทฺ จินฺตายํ วา, อโย. น้ำใจ ก็แปล. ส. หฺฤทย.
  2. อตฺต อตฺร : (ปุ.) กาย, ร่างกาย, ตน, ตู(ตัว), ตัว, ตัวเอง, ตัวตน (ร่างกายและใจ). วิ. ทุกฺขํ อตติสตตํ คจฺฉตีติ อตฺตา (ถึงทุกข์เสมอ).อาหิโตอหํมาโน เอตฺถาติวา อตฺตา (เป็นที่ตั้งของมานะ).สุขทุกฺขํ อทติ ภกฺขติ อนุภาวตีติวาอตฺตา(เสวยสุขทุกข์).ชาติชรามรณาทีหิอาทียเต ภกฺขียเตติวา อตฺตา (อันชาติชราและมรณะเป็นต้น เคี้ยวกิน).ภววภวํธาวนฺโตชาติชรามรณาทิเภทํ อเนกวิหิตํสํสารทุกขํอตติสตตํคจฺฉติปาปุณาติอธิคจฺฉตีติวาอตฺตา.อตฺหรืออทฺธาตุตปัจ.ถ้าตั้งอทฺ ธาตุ แปลงทเป็น ต หรือ แปลง ต เป็น ตฺต ลบ ทฺศัพท์หลัง แปลง ต เป็น ตฺรลบที่สุดธาตุอตฺตศัพท์นี้ตามหลักบาลีไวยากรณ์เป็นเอก.อย่างเดียว ถ้าจะใช้เป็นพหุ. ต้องแปลซั้าสองหน หรือเขียนควบสองหนเช่น อตฺตโนอตฺตโนแต่คัมภีร์รูปสิทธิเป็นต้น แจกเป็นพหุ. ได้.แปลว่า จิตใจ สภาวะ และ กุสลธัมได้อีกอุ. อตฺตา หิกิรทุทฺทโมได้ยินว่าจิตแล(ใจแล) เป็นสภาพรักษาได้ยาก.แปลว่า หัวใจ อุ.ตถตฺตมีหัวใจเป็นอย่างนั้นมีพระทัยเป็นอย่างนั้น. แปลว่าปรมัตตะ หรือปรมาตมันตามที่ชาวอินเดียโบราณถือว่าเป็นสิ่งไม่ตาย รูปฯ๖๓๖ ลง มนฺ ปัจ. ลบ น.แปลง ม เป็น ต สูตรที่ ๖๕๖ ลง ต ตฺรณฺ ปัจ.ที่ลง ตฺรณฺปัจ.ลบที่สุดธาตุ แล้วลบณฺสฺอาตฺมนฺอาตฺมา.
  3. อุปล อุปฺปล : (นปุ.) บัว, ดอกบัว, บัวเผื่อน, อุบล (บัวขาบ บัวสาย). วิ. อุทกํ ปิวตีติ อุปลํ อุปฺปลํ วา. อุทกปุพฺโพ, ปา ปาเน, โล. ทกโลโป. แปลว่า หัวใจ ก็ได้. ส. อุตฺปล.
  4. โอวาทปาฏิโมกฺข โอวาทปาติโมกฺข : (ปุ.) คำสั่งสอนอัน เป็นประธานโดยความเป็นใหญ่, โอวาทปาฏิโมกข์, โอวาทปาติโมกข์ ชื่อ โอวาทซึ่งประพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระอรหันต์ ๑๒๕๐ องค์ เป็น เอหิภิกขุอุป สัมปทา ทั้งสิ้น ซึ่งมาประชุมกันโดยมิได้ นัดหมาย ณ วันเพ็ญมาฆบูชาหลังตรัสรู้ แล้วได้ ๙ เดือน เป็นหลักสำคัญ (หัวใจ) ของพระพุทธศาสนา มหาปธานสูตร ที. มหา. ไตร. ๑๐/๕๔.
  5. ปราเภตฺวา : อ. พิจารณาดูแล้ว, พิจารณาเห็นชัด, รู้ชัดเจน (ดุจผ่าหัวใจออกดู) แล้ว

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : หัวใจ, not found

(0.0884 sec)