กพฬิงการาหาร : อาหารคือคำข้าว ได้แก่อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นวัตถุ
ผัสสาหาร : อาหารคือผัสสะ, ผัสสะเป็นอาหาร คือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดเวทนา ได้แก่ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ กระทบกัน ทำให้เกิดเวทนา คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เป็นอุเบกขาบ้าง (ข้อ ๒ ในอาหาร ๔)
มโนสัญเจตนาหาร : ความจงใจเป็นอาหาร เพราะปัจจัยให้เกิดกรรม คือ ทำให้พูดให้คิด ให้ทำการต่างๆ (ข้อ ๓ ในอาหาร ๔)
วิญญาณาหาร : อาหารคือวิญญาณ, วิญญาณเป็นอาหารคือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดนามรูป (ข้อ ๔ ในอาหาร ๔)
นาสนา : ให้ฉิบหารเสีย คือ ลงโทษบุคคลผู้ไม่สมควรถือเพศ มี ๓ อย่าง คือ ลิงคนาสนา ให้ฉิบหายจากเพศ คือให้สึกเสีย ๑ ทัณฑกรรมนาสนา ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ ๑ สังวาสนาสนา ให้ฉิบหายจากสังวาส ๑
สังเวควัตถุ : เรื่องที่น่าสลดใจ, เรื่องที่พิจารณาแล้วจะทำให้เกิดความสังเวช คือเร้าเตือนสำนึกให้มีจิตใจน้อยมาในทางกุศล เกิดความไม่ประมาทและมีกำลังใจที่จะทำความเพียรปฏิบัติธรรมต่อไป เช่น ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และอาหารปริเยฏฐิทุกข์ คือทุกข์ในการหากิน เป็นต้น
อาหาร : ปัจจัยอันนำมาซึ่งผล, เครื่องค้ำจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตมี ๔ คือ ๑) กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ๒) ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ ๓) มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตน ๔) วิญญาณหาร อาหารคือวิญญาณ
อุปาทายรูป :
รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป, อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ ก) ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆาน จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย, มโน ใจ, ข) โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค) ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง) หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ จ) ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ) อาหารรูป ๑ คือกวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช) ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง ญ) วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้ ฎ) วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา, มุทุตา ความอ่อน, กัมมัญญตา ความควรแก่งาน, (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ) ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้, สันตติ สืบต่อได้, ชรตา ทรุดโทรมได้, อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔); ดู มหาภูต ด้วย
หาร : (ปุ.) แก้วมุกดาที่ร้อยด้วยด้าย, สร้อยไข่มุก, สร้อยคอ, สายสร้อย. วิ. หรียเต มโน เยน โส หาโร. หรฺ หรเณ, โณ.
กลฺลหาร : (นปุ.) จงกลณี (บัวดอกคล้ายบวบ ขม) วิ. กสฺส ชลสฺส หารํ วิย โสภากรตฺตา กลฺลหารํ. ก+หาร ลง ลฺ อาคมหลัง ก แปลง ลฺ เป็น ลฺล เป็น ปุ. บ้าง.
ภตฺตาหาร : (ปุ.) อาหารคือข้าว, ข้าวและอาหาร, ภัตาหาร คือ อาหารต่างๆ ที่จัดไว้สำหรับถวายพระ.
อาหารช : (วิ.) เกิดแต่อาหาร วิ. อาหารสฺมา ชาโตติ อาหารโช. กฺวิ ปัจ. ใน อรรถชาต. อาหารสฺมา ชาโต อาหารโช. ปัญจมีตัป. แปลง ชาต เป็น ช.
อุปหาร : (ปุ.) การนำไปใกล้, การเคารพ, การนับถือ, การบูชา, เครื่องบูชา, อภิหาร (การนำไปเฉพาะคือการบูชา). อุปปุพฺโพ, หรฺ หรเณ ปูชายญฺจ, โณ. ส. อุปหาร.
ETipitaka Pali-Thai Dict : หาร, more results...