สัตมหาสถาน : [สัดตะมะหาสะถาน] น. สถานที่ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้า เสวยวิมุติสุขภายหลังตรัสรู้.
หาสก, หาสกะ : [-สก, -สะกะ] น. ผู้ให้ความสนุก, คนตลก, คนมีอารมณ์ขัน. (ป., ส.).
หาสู่ : ก. เยี่ยมเยียน, มักใช้ควบกับคํา ไปมา เป็น ไปมาหาสู่.
หาสะ : น. การหัวเราะ, ความสนุกรื่นเริง. (ป., ส.).
ประหาส : น. การรื่นเริง, การสนุก, การเล่นตลก. (ส. ปฺรหาส; ป. ปหาส).
ปหาส : [ปะ-] น. ประหาส. (ป.; ส. ปฺรหาส).
ว่ายฟ้า : (วรรณ) ก. เคลื่อนไปในอากาศ เช่น ไก่ฟ้าวานว่ายฟ้า หาวหน หาสมรมายล เถื่อนท้องฯ. (ตะเลงพ่าย).
จรัล : [จะรัน] (กลอน) ก. เดิน เช่น แปดโสตรสี่ภักตร์ทรงพา หนหงษ์เหินคลา วิหาศจรัลผันผาย. (ดุษฎีสังเวย).
หาส : (วิ.) ยินดี, ร่าเริง, รื่นเริง, บันเทิง, เพลิน, สรวล, เสสรวล, เฮฮา, หัวเราะ. หสฺ หสเน, โณ.
หาสติ : ก. หัวเราะ
คุหาสย : (วิ.) มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย วิ. คุหา อาสยา อสฺส อตฺถีติ คุหาสโย คุหาสยํ วา คุหาสยา วา. นอนอยู่ในถ้ำ วิ. คุหายํ สยตีติ คุหาสยํ (จิตฺตํ).
อิติหาส : (ปุ.) อิติหาสศาสตร์ ศาสตร์ว่าด้วย พงศาวดารยืดยาว มีภารตยุทธ์ เป็นต้น. เรื่องราว, นิทาน.
ตณฺหาสโยชน : นป. เครื่องผูกมัดคือตัณหา
มหาหาส : (ปุ.) การหัวเราะใหญ่, การหัวเราะหนักหนา.
อฏฺฏหาส : (วิ.) หัวเราะเสียงดัง, หัวเราะมาก
อหาส : ป. ความไม่ร่าเริง, ความไม่ยินดี
อุจฺจาสยนมหาสยน : (นปุ.) ที่นอนสูงและที่ นอนใหญ่.