หิมพานต์ : มีหิมะ, ปกคลุมด้วยหิมะ, ชื่อภูเขาใหญ่ที่อยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย บัดนี้เรียกภูเขาหิมาลัย, ป่าที่อยู่รอบบริเวณภูเขานี้ ก็เรียกกันว่าป่าหิมพานต์, หิมวันต์ ก็เรียก
นาคเสน :
พระอรหันตเถระผู้โต้วาทะชนะพระยามิลินท์ กษัตริย์แห่งสาคลประเทศ ดงมีคำโต้ตอบปัญหามาในคัมภีร์มิลินทปัญหา ท่านเกิดหลังพุทธกาลประมาณ ๔๐๐ ปี ที่หมู่บ้านกชังคละในหิมวันตประเทศ เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อโสณุตตระ ท่านเป็นผู้ชำนาญในพระเวทและต่อมาได้อุปสมบท โดยมีพระโรหะเป็นพระอุปัชฌาย์; ดู มิลินท์, มิลินทปัญหา
ขันธ์ : กอง, พวก, หมวด, หมู่, ลำตัว; หมวดหนึ่งๆ ของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดที่แบ่งออกเป็น ๕ กอง คือ รูปขันธ์ กองรูป เวทนาขันธ์ กองเวทนา สัญญาขันธ์ กองสัญญา สังขารขันธ์ กองสังขาร วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ เรียกรวมว่า เบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕)
ดาวนักษัตร : ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่
นิกร : หมู่, พวก
นิกาย :
พวก, หมวด, หมู่, ชุมนุม, กอง; 1.หมวดตอนใหญ่แห่งพุทธพจน์ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งแยกเป็นทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย ดู ไตรปิฎก 2.คณะนักบวช หรือศาสนิกชนในศาสนาเดียวกันที่แยกเป็นพวกๆ, ในพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ที่เรียกได้ว่าเป็นนิกายพุทธศาสนาในปัจจุบัน ๒ นิกาย คือ มหายาน หรือนิกายฝ่ายเหนือ (อุตตรนิกาย) พวกหนึ่ง และ เถรวาท หรือนิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย) ที่บางทีเรียก หีนยาน พวกหนึ่ง, ในประเทศไทยปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกัน แยกออกเป็น ๒ นิกาย แต่เป็นเพียงนิกายสงฆ์ มิใช่ถึงกับเป็นนิกายพุทธศาสนา (คือแยกกันเฉพาะในหมู่นักบวช) ได้แก่ มหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย ซึ่งบางทีเรียกเพียงเป็นคณะว่า คณะมหานิกาย และคณะ ธรรมยุต
วรรค : หมวด, หมู่, ตอน, พวก ; กำหนด จำนวนภิกษุที่ประกอบเข้าเป็นสงฆ์ หมวดหนึ่งๆ ซึ่งเมื่อครบจำนวนแล้วจึงจะทำสังฆกรรมอย่างนั้นๆ ได้ มี ๔ พวก คือ ๑.สงฆ์จตุรวรรค (สงฆ์พวก ๔ คือ ต้องมีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นปวารณาให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน) ๒.สงฆ์ปัญจวรรค (สงฆ์พวก ๕ คือ ต้องมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป ทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และอุปสมบทในปัจจันตชนบท) ๓.สงฆ์ทสวรรค (สงฆ์พวก ๑๐ คือต้องมีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป ให้อุปสมบทในมัธยมชนบทได้) ๔.สงฆ์วีสติวรรค (สงฆ์พวก ๒๐ คือต้องมีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป ทำอัพภานได้)
สงฆ์ : หมู่, ชุมนุม ๑.หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ใน โสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒), ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์ ๒.ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง
อากร : หมู่, กอง, บ่อเกิด, ที่เกิด เช่น ทรัพยากร ที่เกิดทรัพย์ ศิลปากร บ่อเกิดศิลป, ค่าธรรมเนียมที่รัฐบาลเรียกเก็บ จากสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ หรือ สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อการค้า
หิม : (นปุ.) ความหนาว, ความเย็น, ฤดูหนาว, น้ำค้าง, หิมะ ชื่อละอองน้ำที่แข็งรัดตัว มีลักษณะเหมือนปุย. วิ. หึสตีติ หิมํ. หึสฺ หึสายํ, อ, สสฺส โม, นิคฺคหิตโลโป. อตฺตโน สีตลภาเวน สตฺเต หิโนตีติ หิมํ. หิ หึลายํ, อิโม. หิโนตีติ หิมํ. หิ คติยํ. อภิฯ ปถวีปพฺพตาทีสุ หิโนติ ปตตีติ หิโม. หิ คติยํ, โม. กัจฯ และ รูปฯ ลง ม ปัจ. และเป็น ปุ.
หิมวนิต : (ปุ.) เขาหิมพานต์. ป่าหิมพานต์ ชื่อภูเขาปกคลุมด้วยหิมะ ตั้งอยู่ตอนเหนือของประเทศอินเดีย. หิมพาน หิมวันต์ หิมวัต ก็เรียก.
หิมรสิ : (ปุ.) หิมรังสี หิมรังษี ชื่อของพระจันทร์ชื่อ ๑ ใน ๑๔ ชื่อ, พระจันทร์, ดวงจันทร์. ส. หิมรศฺมิ.
หิมวนฺตุ : (ปุ.) เขาหิมพานต์, ภูเขาหิมพานต์ ป่าหิมพานต์. วิ. หิมปาตสมเย หิมยุตฺโตติ หิมวา. วนฺตุ ปัจ. คิมฺหกาเล หิมํ วมตีติ วา หิมวา. วมุ อุคฺคิรเณ, นฺตปจฺจโย.
หิมาจล : (ปุ.) ภูเขาหิมพานต์, ป่าหิมพานต์. วิ. หิมยุตฺโต อจโล หิมาจโล.
ETipitaka Pali-Thai Dict : หิม, more results...