Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อธรรม , then อธมฺม, อธรรม .

Eng-Thai Lexitron Dict : อธรรม, 1 found, display 1-1
  1. unjust : (ADJ) ; ไม่ยุติธรรม ; Related:อธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่เป็นธรรม ; Syn:unfair ; Ant:fair

Thai-Eng Lexitron Dict : อธรรม, 4 found, display 1-4
  1. อาธรรม : (ADJ) ; unfair ; Syn:อธรรม ; Ant:ธรรมะ, ความเป็นธรรม ; Def:ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม
  2. อาธรรม : (ADJ) ; iniquitous ; Related:sinful, ungodly, wicked ; Syn:เลว, อธรรม ; Ant:ธรรมะ ; Def:ชั่ว, ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม
  3. ธรรมจริยา : (N) ; observance of righteousness ; Related:religious life ; Syn:ธรรมจรณะ, ธรรมจรรยา, ธัมมจริยา ; Ant:อธรรมจริยา ; Def:การประพฤติเป็นธรรม, การประพฤติถูกธรรม ; Samp:พระภิกษุรูปนี้ท่านมีธรรมจริยาน่าเลื่อมใส
  4. กามสมังคี : (ADJ) ; sensual ; Def:พร้อมด้วยกามคุณ ; Samp:อธรรมเทวบุตรจัดเป็นกามสมังคีเทพ

Royal Institute Thai-Thai Dict : อธรรม, 3 found, display 1-3
  1. อธรรม : [อะทํา] ว. ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. น. ความ ไม่มีธรรม, ความชั่วร้าย. (ส.).
  2. อ ๒ : [อะ] เป็นอักษรใช้นําหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคํา ที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
  3. ธรรมาธรรม : [ทํามา] น. ธรรมและอธรรม, ความถูกและความผิด, ยุติธรรมและอยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาธมฺม).

Budhism Thai-Thai Dict : อธรรม, 5 found, display 1-5
  1. อธรรม : ไม่ใช่ธรรม, ไม่เป็นธรรม, ผิดธรรม, ชั่วร้าย
  2. อธรรมวาที : ผู้กล่าวสิ่งที่มิใช่ธรรม, ผู้ไม่พูดตามหลักไม่พูดตามธรรม, ผู้พูดไม่เป็นธรรม, ผู้ไม่เป็นธรรมวาที
  3. อาธรรม : ดู อธรรม
  4. อาธรรม์ : ดู อธรรม
  5. จักกวัตติสูตร : ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง, จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า ๑.พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย ๒.มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน ๓.ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ๔.ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ; จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑.เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ; พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม; เรื่องพระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้

ETipitaka Pali-Thai Dict : อธรรม, 2 found, display 1-2
  1. อธมฺม : (วิ.) มีธรรมหามิได้, ไม่มีธรรม, มิใช่ธรรม, ไม่ถูกต้องส.อธรฺม.
  2. อุทฺธมฺม : ป. อธรรม, คำสอนที่ผิด

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : อธรรม, not found

(0.1319 sec)