อนาจาร : [อะนาจาน] น. ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติน่าอับอาย; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานกระทําการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกํานัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทําการลามกอย่างอื่น. ว. ลามก, น่าบัดสี, ทําให้เป็นที่อับอาย, เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่น ในด้านความดีงาม. (ป., ส.).
อ ๒ : [อะ] เป็นอักษรใช้นําหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคํา ที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
ทักษิณาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือ พระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. (ส.).
วามาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร; ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลัก ปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์, เรียกผู้ปฏิบัติใน ลัทธินี้ว่าวามาจาริน. (ส.).
อนาจาร : ความประพฤติไม่ดีไม่งาม ไม่เหมาะสมแก่บรรพชิต แยกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑) การเล่นต่างๆ เช่น เล่นอย่างเด็ก ๒) การร้อยดอกไม้ ๓) การเรียนดิรัจฉานวิชา เช่น ทายหวย ทำเสน่ห์
ปัพพาชนียกรรม : กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันพึงจะไล่เสีย, การขับออกจากหมู่, การไล่ออกจากวัด, กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลและประพฤติเลวทรามเป็นข่าวเซ็งแซ่ หรือแก่ภิกษุผู้เล่นคะนอง ๑ อนาจาร ๑ ลบล้างพระบัญญัติ ๑ มิจฉาชีพ ๑ (ข้อ ๓ ในนิคหกรรม ๖)
อุปปถกิริยา : การทำนอกรีตนอกรอยของสมณะ, ความประพฤตินอกแบบแผนของภิกษุสามเณร ท่านจัดรวมไว้เป็น ๓ ประเภท คือ ๑) อนาจาร ประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นไม่เหมาะสมต่างๆ ๒) ปาปสมาจาร ความประพฤติเลวทราม คือ คบหากับคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร ทำตนเป็นกุลทูสก ๓) อเนสนา หาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควร เช่น เป็นหมอเสกเป่า ให้หวย เป็นต้น
วิเหสกกรรม : กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก คือ ภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม นิ่งเฉยเสียไม่ตอบ เรียกว่าเป็นผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก, สงฆ์ยกวิเหสกกรรมขึ้น คือสวดประกาศการที่เธอทำตัวเช่นนั้น ด้วยญัตติทุติยกรรม เมื่อสงฆ์สวดประกาศแล้วเธอยังขืนทำอย่างนั้นอยู่อีก ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สิกขาบทที่ ๒ ในภูตคามวรรคที่ ๒) คู่กับ อัญญวาทกกรรม
อัญญาวาทกรรม : กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้กล่าวคำอื่น คือภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม แกล้งยกเรื่องอื่นๆ มาพูดกลบเกลื่อนเสีย ไม่ให้การตามตรง, สงฆ์สวดประกาศความนั้นด้วยญัตติทุติยกรรม เรียกว่า ยกอัญญวาทกรรมขึ้น, เมื่อสงฆ์ประกาศเช่นนี้แล้ว ภิกษุนั้นยังขืนทำอย่างเดิมอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สิกขาบทที่ ๒ แห่งภูตคามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์), คู่กับ วิเหสกกรรม