Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อนุโมทนา , then อนมทนา, อนุโมทน, อนุโมทนา .

Eng-Thai Lexitron Dict : อนุโมทนา, not found

Thai-Eng Lexitron Dict : อนุโมทนา, 6 found, display 1-6
  1. อนุโมทนา : (V) ; say amen ; Related:express gratitude, rejoice with, offer congratulations ; Def:ยินดีตาม, ยินดีด้วย, พลอยยินดี ; Samp:ผมขออนุโมทนาที่ท่านคิดอย่างนั้น
  2. อนุโมทนา : (N) ; congratulations ; Related:felicitations ; Syn:ความเห็นดี, ความชอบใจ ; Def:ความยินดีด้วย, การพลอยยินดี
  3. กรานกฐิน : (V) ; Kathina Khandhaka ; Related:stretch out monk's robes in order to cut to a standard size ; Def:เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา ; Samp:ชาวบ้านกำลังกรานกฐิน
  4. ตามกำลัง : (ADV) ; according to one's ability ; Samp:หากท่านประสงค์ทำบุญในส่วนต่างๆ ตามกำลัง ทางวัดก็ขออนุโมทนา
  5. พุทธฎีกา : (N) ; Buddha's utterances ; Def:ถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ; Samp:พระราเมศวรมีจิตศรัทธาอนุโมทนาด้วยกับพุทธฎีกาที่พระะครูจุฑามณีศรีสังฆราชนำมากล่าว
  6. พุทธฎีกา : (N) ; monk's utterances ; Def:ถ้อยคำของสมเด็จพระสังฆราช ; Samp:สมเด็จพระบรมราชาธิบดีศรีมหาจักรพรรดิราชมีจิตศรัทธาอนุโมทนาด้วยกับพุทธฎีกาของพระสังฆราชฯ ในการตั้งมหาเถรสาริบุตรขึ้นเป็นพระมหาเถรปิยทัศศรีสาริบุตร

Royal Institute Thai-Thai Dict : อนุโมทนา, 6 found, display 1-6
  1. อนุโมทนา : ก. ยินดีตาม, ยินดีด้วย, พลอยยินดี; เรียกคําให้ศีลให้พรของพระว่า คําอนุโมทนา. (ป., ส.).
  2. อนุโมทนาบัตร : น. บัตรที่แสดงความพลอยยินดีหรืออนุโมทนาต่อ บุญกุศลที่บุคคลนั้น ๆ ได้ทําแล้ว.
  3. โมทนา ๒ : [โมทะนา] ก. พลอยบันเทิง, พลอยยินดี. (ตัดมาจาก อนุโมทนา). (ป., ส. โมทน).
  4. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  5. กรานกฐิน : [-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึง ที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้า ให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทํา พินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
  6. ปัตตานุโมทนา : น. การอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นให้. (ป.).

Budhism Thai-Thai Dict : อนุโมทนา, 8 found, display 1-8
  1. อนุโมทนา : 1) ความยินดีตาม, ความยินดีด้วย, การพลอยยินดี, การแสดงความเห็นชอบ; เห็นด้วย, แสดงความชื่นชมหรือซาบซึ้งเห็นคุณค่าแห่งการกระทำของผู้อื่น (บัดนี้ บางทีใช้ในความหมายคล้ายคำว่าขอบคุณ) 2) ในภาษาไทย นิยมใช้สำหรับพระสงฆ์ หมายถึง ให้พร เช่นเรียกคำให้พรของพระสงฆ์วาคำอนุโมทนา
  2. โมทนา : บันเทิงใจ, ยินดี; มักใช้พูดเป็นคำสั้น สำหรับคำว่าอนุโมทนา หมายความว่าพลอยยินดี หรือชื่นชมเห็นชอบในการกระทำนั้นๆ ด้วยเป็นต้น ดู อนุโมทนา
  3. กฐิน : ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร; ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ) ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔); ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ); สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป; ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
  4. กรานกฐิน : ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน
  5. ปัตตานุโมทนามัย : บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ, ทำบุญด้วยการยินดีในการทำดีของผู้อื่น (ข้อ ๗ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)
  6. ภัตตัคควัตร : ข้อควรปฏิบัติในหอฉัน, ธรรมเนียมในโรงอาหาร ท่านจัดเข้าเป็นกิจวัตรประเภทหนึ่ง กล่าวย่อ มี ๑๑ ข้อ คือ นุ่งห่มให้เรียบร้อย, รู้จักอาสนะอันสมควรแก่ตน, ไม่นั่งทับผ้าสังฆาฏิในบ้าน, รับน้ำและโภชนะของถวายจากทายกโดยเอื้อเฟือ และคอยระวังให้ได้รับทั่วถึงกัน, ถ้าพอจะแลเห็นทั่วกัน พระสังฆเถระพึงลงมือฉัน เมื่อภิกษุทั้งหมดได้รับโภชนะทั่วกันแล้ว, ฉันด้วยอาการเรียบร้อยตามหลักเสขิยวัตร, อิ่มพร้อมกัน (หัวหน้ารอยังไม่บ้วนปากและล้างมือ), บ้วนปากและล้างมือระวังไม่ให้น้ำกระเซ็น ฉันในที่มีทายกจัดถวาย เสร็จแล้วอนุโมทนา, เมือกลับอย่าเบียดเสียดกันออกมา, ไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวหรือของเป็นเดนในบ้านเขา
  7. สังฆทาน : ทานเพื่อสงฆ์, การถวายแก่สงฆ์ คือถวายเป็นกลาง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เช่น จะทำพิธีถวายของที่มีจำนวนจำกัดพึงแจ้งแก่ทางวัดให้จัดพระไปรับตามจำนวนที่ต้องการ หัวหน้าสงฆ์จัดภิกษุใดไปพึงทำใจว่า ท่านมารับในนามของสงฆ์ หรือ เป็นผู้แทนของสงฆ์ทั้งหมด ไม่พึงเพ่งเล็งว่าเป็นบุคคลใด คิดตั้งใจแต่ว่าจะถวายอุทิศแก่สงฆ์; ในพิธีพึงจุดธูปเทียนบูชาพระ อาราธนาศีล รับศีล จบแล้วตั้งนโม ๓ จบ กล่าวคำถวายเสร็จแล้วประเคนของ และเมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา พึงกรวดน้ำ รับพร เป็นเสร็จพิธี; คำถวายสังฆทานว่าดังนี้ : อิมานิ มยํ ภนฺเต, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, แปลว่า : ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ
  8. อดิเรก : 1) เกินกำหนด, ยิ่งกว่าปกติ, ส่วนเกิน, เหลือเฟือ, ส่วนเพิ่มเติม, ส่วนเพิ่มพิเศษ 2) ถวายอติเรก หรือ ถวายอดิเรก คือพระสงฆ์ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และหรือสมเด็จพระบรมราชินี ท้ายพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ในระหว่างอนุโมทนา ถ้ากล่าวในพระราชฐานต้องต่อท้ายด้วยถวายพระพรลา, เรียกอย่างนี้เพราะขึ้นต้นว่า อติเรกวสฺสสตํ ชีวตุ ฯ

ETipitaka Pali-Thai Dict : อนุโมทนา, more than 5 found, display 1-5
  1. อนุโมทนา : (อิต.) กถาเป็นเครื่องดำเนินตาม, วาจาเป็นเครื่องกล่าวด้วยสามารถแห่งอันบันเทิงตาม, ความยินดีตาม, ความยินดีด้วยความพลอยยินดี, ความเบิกบานใจ, อนุโม-ทนา (ความพลอยยินดีด้วยกับความดีของคนอื่น).ส.อนุโมทนา.
  2. อนุโมทน : นป. การอนุโมทนา, การแสดงความชื่นชม, การแสดงความยินดี
  3. อาโมทติ : ก. ยินดี, อนุโมทนา, พอใจ
  4. ปตฺตานุโมทนา : (อิต.) ความยินดีตามซึ่งส่วนบุญอันถึงแล้ว, การอนุโมทนาซึ่งส่วนบุญ อันมาถึงแล้ว. ปตฺตาปตฺติ + อนุโมทนา. การอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นให้แล้ว ทินฺนปตฺติ + อนุโมทนา ลบ ทินฺน, การ อนุโมทนาส่วนบุญ ปตฺติ + อนุโมทนา.
  5. ทานานุโมทนปุญฺญ : (นปุ.) บุญคือความบันเทิงตามซึ่งทาน, บุญคือการอนุโมทนา ซึ่งทาน, บุญคือการอนุโมทนาทาน, บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาทาน.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : อนุโมทนา, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : อนุโมทนา, 1 found, display 1-1
  1. อนุโมทนา : อนุโมทติ

(0.1265 sec)