อย่างไร : ว. ใช้ในประโยคคําถาม ถามถึงความเป็นไป ความเป็นอยู่ เช่น คนไข้มีอาการอย่างไร หมู่นี้เป็นอย่างไรบ้าง, ถามถึงวิธีหรือ ความเห็นเป็นต้น เช่น จะทําอย่างไร มีความเห็นอย่างไร; ถ้าใช้ใน ประโยคที่ไม่เป็นคําถาม หมายความว่า จะโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม เช่น ถึงอย่างไรเขาก็ไม่มา.
กระไร : ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
ฉันใด : ว. อย่างไร, อย่างใด, เช่นใด. ส. อย่างใด, เช่นใด, (เป็นคำที่ใช้เข้าคู่ กับคำ ฉันนั้น ซึ่งเป็นคํารับ).
ไฉน ๑ : [ฉะไหฺน] ว. ฉันใด, เช่นไร, อย่างไร, เช่น เป็นไฉน, ทำไม, เหตุใด, เช่น ไฉนจึงไม่มาให้ทันเวลา.
ที่ไหน : น. แห่งใด, แห่งใดแห่งหนึ่ง, แห่งใดก็ตาม, เช่น ไปที่ไหน ก็ได้; คําใช้ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มี ความหมายว่า ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น เขาก็เห็นว่าที่ไหนเราจะได้.
ลับลมคมใน : ว. มีเงื่อนงำบางอย่างแฝงอยู่ ไม่รู้ว่าความจริงเป็น อย่างไร เช่น เขาเป็นคนลับลมคมใน คบยาก เรื่องนี้มีลับลมคมใน ต้องสืบสวนต่อไป.
สอบราคา : ก. สอบดูราคาสิ่งของตามร้านค้าต่าง ๆ ว่าแตกต่างกัน อย่างไร, ตรวจสอบราคาที่ขายว่าถูกต้องตามที่ทางราชการกำหนด ไว้หรือไม่, สอบถามราคาในการพิมพ์หรือการซื้อเป็นต้นจากแหล่ง ต่าง ๆ เพื่อหาราคาต่ำสุด.
หมดท่า : ว. หมดหนทาง, จนปัญญา, เช่น เขาหมดท่าไม่รู้ว่าจะโต้ตอบ อย่างไร; อาการที่ทำให้รู้สึกน่าสังเวช เช่น เขาแต่งตัวภูมิฐานแล้วเดิน หกล้ม หมดท่าเลย, หมดรูป ก็ว่า.
ให้สี : ก. กำหนดว่าจะใช้สีใด อย่างไร ในงานจิตรกรรม งานออกแบบตกแต่ง ต่าง ๆ เป็นต้น.
กจฺจิ นุ : (อัพ. นิบาต) บ้าง, อย่างไร, อย่างไร สิ, ใช่หรือ, หรือหนอ, อะไร.
กถ : (อัพ. นิบาต) อย่างไร, อย่างไรสิ, อย่างไร ได้, มิใช่หรือ, บ้างหรือหนอ, อะไร, อะไร สิ, ไฉนเล่า, ไฉนหนอ, ทำไม, ประการไร, ซึ่งประการไร, ด้วยประการไร. วิ. โก ปกาโร กถํ. ฯลฯ. กัจฯ ๓๙๙ ว่าตั้ง วิ. ตามวิภัตตินามได้ทั้ง ๗. รูปฯ ๔๐๖ ตั้ง วิ. ไว้ ๓ คือ ปฐมา ทุติยา และตติยา. กึ ศัพท์ ถํ ปัจ. รูปฯ ว่า ลบ นิคคหิต แล้ว แปลง กิ เป็น ก บาลีไวยากรณ์ว่าแปลง กึ เป็น ก. ส. กถมฺ.
กิญฺจ : อ. ไฉนไม่, อย่างไร, ทำไม
กินฺติ : อ. โดยวิธีใด, อย่างไร, ว่าอย่างไร
กึสุ : อ. แลหรือ, อย่างไร, อย่างไรเล่า
นนุ : (อัพ. นิบาต) อะไร, อย่างไร, อย่างไรสิ, มิใช่หรือ, บ้างหรือหนอ. ส. นนุ.
ยถา : (อัพ. นิบาต) ฉันใด, ประการใด, โดยประการใด, อย่างไร, เป็นอย่างไร, ด้วยประการใด, ควร, สมควร, ตาม, เดิม.