ฉะนี้ : ว. ฉันนี้, เช่นนี้, อย่างนี้, ดังนี้, ดั่งนี้, เพราะฉะนี้, เพราะเหตุนี้.
ทำไม : ว. เพราะเหตุไร, เพราะอะไร, เพื่ออะไร. ก. ทําอะไร เช่น ฉันจะทํา อย่างนี้ ใครจะทําไม.
หนักกะลาหัว : (ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะทำ อย่างนี้ แล้วมันหนักกะลาหัวใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
กระนี้ : ว. นี้, ดังนี้, อย่างนี้.
ทึก ๑, ทึกทัก : ก. ตู่เอาเป็นของตัว, ถือเอาเป็นจริงเป็นจัง, เหมาเอาว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้.
ประนี้ : (โบ) ว. อย่างนี้.
เช่น : น. อย่าง, ชนิด, เช่น รู้เช่นเห็นชาติ เช่นนี้ เช่นใด. ว. เหมือน, ใช้นําหน้าคําประสมได้ แปลว่า อย่าง เช่น เช่นนี้ ว่า อย่างนี้, เช่นใด ว่า อย่างใด.
อีทิส : ค. เช่นนี้, อย่างนี้
เอว : (อัพ. นิบาต) ฉันนั้น, อย่างนั้น, นี้, อย่างนี้, ด้วยประการนี้, ด้วยประการอย่าง นี้, ด้วยประการนั้นเทียว, เท่านั้น, อย่างนั้น. ที่ใช้เป็นประธาน เอวํ อ. อย่างนั้น, อ. อย่างนี้ ที่ใช้เป็นคำถาม เหน็บคำว่า “หรือ”.
อิติ อว : (อัพ. นิบาต) อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
เอวมาทิ : (วิ.) มีคำอย่างนี้ว่า...เป็นต้น, มีคำ อย่างนี้ เป็นต้น.
อิตฺถ : (อัพ. นิบาต) อย่างนี้, ประการนี้, ประการะนี้. ด้วยประการฉะนี้, ดังนี้, นี่แหละ, อิม ศัพท์ ถํ ปัจ. อัพ๎ยตัท. แปลง อิม เป็น อิ แปลง ถํ เป็น ตฺถํ หรือ ซ้อน ตฺ ก็ได้ กัจฯ ๓๙๙ รูปฯ ๔๐๖ ตั้ง วิ. ได้ตั้งแต่ ปฐมาวิภัติ ถึง สัตมีวิภัติ.
อิติหีติห : (วิ.) เป็นของอ้างว่าท่านว่ามาอย่างนี้ อย่างนี้, เป็นของอ้างว่าท่านว่ามาดังนี้ดังนี้, จริงอย่างนี้, จริงอย่างนี้อย่างนี้.
เอวปิ เอวมฺปิ : (อัพ. นิบาต) แม้ฉันนั้น, แม้ อย่างนี้, แม้อย่างนั้น, ฯลฯ.
เอวภูต : (วิ.) เป็นแล้วอย่างนี้, บังเกิดแล้ว อย่างนี้, ฯลฯ, มีอย่างนี้เป็นแล้ว, ฯลฯ.
เอวรูป เอวรูป : (วิ.) มีอย่างนี้เป็นรูป, มีรูป อย่างนี้, มีรูปเช่นนี้, มีรูปเห็นปานนี้. วิ. เอวํ รูปํ ยสฺส โส เอวรูโป เอวํรูโป วา. ศัพท์ต้น ลบนิคคหิต.