อรูป, อรูป : [อะรูบ, อะรูบปะ] ว. ไม่มีรูป, ไม่ใช่รูป; ที่เป็นนามธรรม. (ป., ส.). อรูปฌาน [อะรูบปะชาน] น. ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).
อรูปภพ : [อะรูบปะพบ] น. ภพของผู้ที่ได้อรูปฌาน ๔, อรูปภูมิ ก็ว่า.
อรูปภูมิ : [อะรูบปะพูม] น. อรูปภพ.
อรูปพรหม :
[อะรูบปะพฺรม] น. เทพในพรหมโลกตามคติ พระพุทธศาสนา เป็นจำพวกไม่มีรูป มี ๔ ชั้น, คู่กับ รูปพรหม. (ดู พรหม, พรหม).
จตุรภูมิ : [-พูม] น. ภูมิ ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ ๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในรูปภพ ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยว ในอรูปภพ ๔. โลกุตรภูมิภูมิอันพ้นจากโลก.
แดนไตร : น. โลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภพ คือภพของเทวดาลงมา, รูปภพ คือ ภพของพรหมที่มีรูป, อรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป; หรือ สวรรค์ มนุษยโลกและบาดาล.
ตรีภพ : น. ภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ, ตามไสยศาสตร์ว่าได้แก่ สวรรค์ มนุษยโลก บาดาล, ไตรภพ ก็ใช้. (ส. ตฺริภว).
พรหม, พรหม : [พฺรม, พฺรมมะ] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลกจําพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จําพวกไม่มี รูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้นตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอน ใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหาร ทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหม ของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).
รูปพรหม :
น. เทพในพรหมโลกตามคติพระพุทธศาสนา เป็นจำพวก มีรูป มี ๑๖ ชั้น, คู่กับ อรูปพรหม. (ดู พรหม, พรหม).
สมาบัติ : [สะมาบัด] น. ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิต เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการ เข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. (ป., ส. สมาปตฺติ).