Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อสิตดาบส, อสิต, ดาบส , then ดาบส, ตาปส, อสต, อสิต, อสิตดาบส, อสิตะ, อสีต .

Eng-Thai Lexitron Dict : อสิตดาบส, 1 found, display 1-1
  1. hermit : (N) ; ฤๅษี ; Related:ดาบส, ผู้ที่อยู่สันโดษ ; Syn:anchorite, eremite, recluse

Thai-Eng Lexitron Dict : อสิตดาบส, 4 found, display 1-4
  1. ดาบส : (N) ; hermit ; Related:ascetic ; Syn:ฤษี ; Def:ผู้บำเพ็ญตบะคือการเผากิเลส ; Samp:นางกบตัวหนึ่งที่อยู่ที่บรรณศาลาก็ได้อาศัยน้ำนมที่ดาบสปันเป็นทานให้กินทุกวัน
  2. ดาบสองคม : (N) ; two-edged sword ; Related:thing or matter of having both advantages and disadvantages ; Def:มีทั้งคุณและโทษ, มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ; Samp:ความเจริญทางวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเหมือนดาบสองคมที่ทั้งสร้างสรรค์และทำลายความเจริญ
  3. ฤษี : (N) ; hermit ; Related:recluse ; Syn:ชีไพร, ดาบส, โยคี, ผู้บำเพ็ญพรต ; Unit:ตน
  4. อาศรม : (N) ; hermitage ; Def:ที่อยู่ของนักพรต ; Samp:ธิดานาคอับอาย และเกรงว่าเรื่องจะไปถึงหูบิดา จึงคิดที่จะสังหารดาบสทั้งสี่ เมื่อไปถึงอาศรม ; Unit:หลัง

Royal Institute Thai-Thai Dict : อสิตดาบส, 9 found, display 1-9
  1. ดาบส : [-บด] น. ผู้บําเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี. (ป., ส. ตาปส), เพศหญิงใช้ว่า ดาบสินี. (ป. ตาปสินี), ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรง ไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).
  2. ดาบสองคม : (สํา) ว. มีทั้งคุณและโทษ, อาจดีอาจเสียก็ได้.
  3. อสิต : [อะสิตะ] ว. มีสีดํา, มีสีคลํ้า, มีสีแก่. (ป., ส.).
  4. ดาวบส : [ดาวบด] (แบบ) น. ดาบส เช่น ไปแต่งองค์ทรงไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).
  5. กฤษฎีกา : [กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากําหนด แห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการ บริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มี ลักษณะเป็นกฎหมาย.
  6. ดำแลง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก แถลง) ว. ดัดแปลง; กล่าว, ชี้แจง; จําแลง เช่น ก็ดําแลงเพศเป็นดาบส. (ม. คําหลวง ชูชก).
  7. บ่าย : น. เวลาในระหว่างเที่ยงกับเย็น. ก. คล้อย เช่น ตะวันบ่าย; หัน, ก้าว; เลี่ยงไป เช่น เฒ่าก็ประดิษฐ์ประดับกายเป็นปะขาวดาบส เบือน บ่ายจําแลงเพศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  8. ปริวัตร : [ปะริวัด] (แบบ) ก. ปริวรรต เช่น จะเชื้อเชิญพระดาบสให้ปริวัตร เป็นบรมกษัตริย์. (ม. กาพย์ สักบรรพ).
  9. อสีตยานุพยัญชนะ : [อะสีตะยานุพะยันชะนะ] น. ลักษณะน้อย ๆ ในร่างกายของผู้ที่เป็น พระมหาบุรุษมี ๘๐ อย่าง คือ ผู้ที่จะเป็นพระมหาบุรุษต้องสมบูรณ์ ด้วยลักษณะสําคัญ ๓๒ อย่าง ซึ่งเรียกว่า มหาปุริสลักษณะ มีรอย พระบาทเป็นลายรูปจักรและอื่น ๆ ตามแบบเป็นต้น และสมบูรณ์ ด้วยอสีตยานุพยัญชนะ. (ป.).

Budhism Thai-Thai Dict : อสิตดาบส, 10 found, display 1-10
  1. อสิตดาบส : ดาบสผู้คุ้นเคย และเป็นที่นับถือของศากยราชสกุล อาศัยอยู่ข้างเขาหิมพานต์ ได้ทราบข่าวว่าพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะประสูติใหม่ จึงเข้าไปเยี่ยม ได้เห็นพระราชโอรสนั้นมีลักษณะต้องด้วยตำรับมหาปุริสลักษณะ จึงกราบลงที่พระบาททั้ง ๒ ของพระราชโอรสแล้วกล่าวคำทำนายว่า ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกทรงผนวช จักได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาเอกในโลก; มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า กาฬเทวิลดาบส
  2. ดาบส : ผู้บำเพ็ญตบะ, ผู้เผากิเลส
  3. กาฬเทวิลดาบส : เป็นอีกชื่อหนึ่งของอสิตดาบส ดู อสิตดาบส
  4. นาลกะ : 1.หลานชายของอสิตดาบส ออกบวชตามคำแนะนำของลุง และไปบำเพ็ญสมณธรรมรอการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอยู่ในป่าหิมพานต์ ครั้นพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้มาทูลถามเรื่องโมไนยปฏิปทา และกลับไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่าหิมพานต์ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ดำรงอายุอยู่อีก ๗ เดือน ก็ปรินิพพานในป่าหิมพานต์นั้นเอง; ท่านจัดเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวกด้วย 2.ชื่อหมู่บ้านอันเป็นที่เกิดของพระสารีบุตรไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ บางทีเรียกนาลันทคาม
  5. กบิลดาบส : ดาบสที่อยู่ในดงไม้สักกะ ประเทศหิมพานต์ พระราชบุตรและพระราชบุตรีของพระเจ้าโอกกากราชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามพระนครที่สร้างใหม่ว่า กบิลพัสดุ์ แปลว่า ที่หรือที่ดินของกบิลดาบส
  6. อุททกดาบส : อาจารย์ผู้สอนสมาบัติที่พระมหาบุรุษเสด็จไปศึกษาอยู่ด้วยคราวหนึ่ง ก่อนที่จะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา, ท่านผู้นี้ได้สมาบัติ ถึงขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ; เรียกเต็มว่า อุททกดาบส รามบุตร
  7. บรรพชิต : ผู้บวช, นักบวช เช่น ภิกษุสมณะ ดาบส ฤษี เป็นต้น แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ภิกษุและสามเณร (และภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี) มักใช้คู่กับ คฤหัสถ์ (ในภาษาไทยปัจจุบัน ให้ใช้หมายเฉพาะนักบวชในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในฝ่ายเถรวาท หรือฝ่ายมหายาน)
  8. กบิลพัสดุ์ : เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ ที่ได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์ เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล
  9. อสีตยานุพยัญชนะ : อนุพยัญชนะ ๘๐ ดู อนุพยัญชนะ
  10. อนุพยัญชนะ : ลักษณะน้อยๆ, พระลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ (นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒) อีก ๘๐ ประการ คือ ๑) มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม, ๒) นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไป โดยลำดับแต่ต้นจนปลาย, ๓) นิ้วพระหัตถ์ แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี, ๔) พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง, ๕) พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง, ๖) พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลม สนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๗) ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก, ๘) พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา, ๙) พระดำเนินงานดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ, ๑๐) พระดำเนินงามดุจสีหราช, ๑๑) พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์, ๑๒) พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน, ๑๓) ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน, ๑๔) พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก, ๑๕) มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี ๑๖) พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง, ๑๗) พระอุทรมีสัณฐานอันลึก, ๑๘) ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏ, ๑๙) ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี, ๒๐) ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี, ๒๑) พระอังคาพยใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้, ๒๒) พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งประสรีรกาย, ๒๓) พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง ๒๔) พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง, ๒๕) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง, ๒๖) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง, ๒๗) ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ, ๒๘) มีพระนาสิกอันสูง, ๒๙) สัณฐานนาสิกงามแฉล้ม ๓๐) มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก, ๓๑) พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน, ๓๒) พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์, ๓๓) พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๓๔) พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น, ๓๕) พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์, ๓๖) ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย ๓๗) พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน, ๓๘) ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก, ๓๙) ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว ๔๐) ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด ๔๑) ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง, ๔๒) รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ ๔๓) กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์ ๔๔) กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน ๔๕) ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๔๖) ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด ๔๗) พระชิวหามีสัณฐานอันงาม ๔๘) พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้างมีพรรณอันแดงเข้ม ๔๙) พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ ๕๐) ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม ๕๑) ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง ๕๒) แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง ๕๓) พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว ๕๔) ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน ๕๕) พระนลาฏมีสัณฐานอันงาม ๕๖) พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้ ๕๗) พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด ๕๘) เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ ๕๙) พระโขนงนั้นใหญ่ ๖๐) พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร ๖๑) ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๒) พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ ๖๓) พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ๖๔) พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ ๖๕) พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย ๖๖) กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา ๖๗) พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น ๖๘) พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๙) ลมอัสสาสะและปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด ๗๐) พระโอษฐมีสัณฐานอันงามดุจแย้ม ๗๑) กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล ๗๒) พระเกสาดำเป็นแสง ๗๓) กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ ๗๔) พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ ๗๕) พระเกสามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น ๗๖) พระเกสาดำสนิททั้งสิ้น ๗๗) พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด ๗๘) เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง ๗๙) เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏทุกๆ เส้น ๘๐) วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ฯ นิยมเรียกว่า อสีตยานุพยัญชนะ; ดู มหาบุรุษลักษณะ

ETipitaka Pali-Thai Dict : อสิตดาบส, more than 5 found, display 1-5
  1. อสิต : (วิ.) ดำ, คล้ำ, เขียวคราม, ไม่ขาว.วิ.นสิโตอสิโต.กิน, กลืนกิน.อสฺ ภกฺขเณ, โต, อิ อาคโม.ส.อสิต.
  2. ตาปส : (ปุ.) บรรพชิตผู้มีธรรมเครื่องยัง กิเลสให้เร่าร้อน ( ย่างกิเลสให้แห้ง ). ตปฺ สนฺตาเป, โณ. ลง สฺ และ อ อาคม หรือ ลง สกฺ ปัจ. ทีฆะ ลบ กฺ ส. ตาปส.
  3. ตาปสตรุ : (ปุ.) ต้นสำโรง, เพราะดาบสเอา ผลมาสุมเอาน้ำมันใช้ประโยชน์ จึงชื่อว่า ตาปสตรุ ต้นไม้เป็นประโยชน์แก่ดาบส ต้นจำปา ก็แปล.
  4. ตาปสี, ตาปสินี : อิต. ดาบสหรือนักพรตหญิง, ตาปสินี
  5. อาฬาร อาฬารตาปส : (ปุ.) อาฬารดาบส ชื่อดาบสหัวหน้าสำนัก ซึ่งพระมหาบุรุษ เสด็จเข้าไปศึกษาลัทธิตอนผนวชใหม่ ๆ.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : อสิตดาบส, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : อสิตดาบส, 2 found, display 1-2
  1. ดาบส : ตาปโส
  2. แสวงหา : คเวสติ, ปริเยสติ, มคฺเคติ, เอสติ, คเวสิตุ

(0.1530 sec)