Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อัธยาศัย , then อธยาศย, อัธยาศัย .

Eng-Thai Lexitron Dict : อัธยาศัย, 1 found, display 1-1
  1. hospitable : (ADJ) ; ที่มีความโอบอ้อมอารีย์ ; Related:ที่มีใจยินดี, ที่มีอัธยาศัยดี, ที่มีมิตรไมตรีจิต ; Syn:cordial, friendly, welcoming ; Ant:unfriendly

Thai-Eng Lexitron Dict : อัธยาศัย, 13 found, display 1-13
  1. พระราชอัธยาศัย : (N) ; royal command ; Def:พระราชประสงค์หรือความต้องการของพระมหากษัตริย์ ซึ่งได้รับการยกเว้นจากกฎเกณฑ์ หรือระเบียบต่างๆ เป็นการทั่วไป ; Samp:การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
  2. มีอัธยาศัย : (V) ; have a disposition ; Related:give someone a warm reception ; Def:มีนิสัยใจคอที่เข้ากับผู้อื่นได้ดี ; Samp:เขามีอัธยาศัยต่อเพื่อนร่วมงานทุกคน
  3. ใจคอ : (N) ; mind ; Related:heart, disposition ; Syn:จิตใจ, ใจ, อัธยาศัย ; Samp:ผู้หญิงและผู้ชายมีรูปร่างและใจคอแตกต่างกัน
  4. ถูกคอ : (V) ; get along well with ; Related:have the same taste, hit it off ; Syn:ถูกเส้น, ถูกอัธยาศัย, ชอบพอ ; Def:มีรสนิยมเข้ากันได้ ; Samp:พวกเราถูกคอกันไปเสียทุกเรื่อง
  5. ถูกโรค : (V) ; get along well with ; Related:be on friendly terms, have the same tastes ; Syn:ถูกอัธยาศัย, ถูกคอ, ต้องกัน ; Samp:เขาไม่ถูกโรคกัน
  6. น่ารัก : (ADJ) ; lovely ; Related:pretty, cute, charming ; Syn:น่าชื่นชอบ, อ่อนโยน, มีอัธยาศัย ; Ant:น่าเกลียด, น่าชัง, น่ารังเกียจ ; Samp:ประชาสัมพันธ์จะต้องเป็นคนน่ารักและมีมนุษยสัมพันธ์ดี
  7. น่ารัก : (V) ; be lovely ; Related:be nice, be friendly, be charming, be exquisite ; Syn:น่าสมาคม, น่าคบหา, น่าชื่นชอบ, อ่อนโยน, มีอัธยาศัย ; Ant:น่ารังเกียจ ; Def:มีมนุษยสัมพันธ์ดี, มีไมตรีจิตร, มีมิตรจิตมิตรใจ ; Samp:ชาวชนบทส่วนมากน่ารักกว่าคนในเมือง
  8. ชอบพอ : (V) ; love ; Related:love each other ; Ant:เกลียด ; Def:ถูกอัธยาศัยกัน, รักใคร่กัน, พอใจกัน ; Samp:เด็กสองคนนี้ชอบพอกันมาหลายสิบปีแล้ว
  9. ทัก 1 : (V) ; greet ; Related:address, speak to, say hello ; Syn:ทักทาย ; Def:พูดโอภาปราศรัยด้วยอัธยาศัยไมตรีเมื่อพบหน้ากัน ; Samp:เขาทักกับทุกคนที่เดินผ่าน บ้างทักผิด บ้างทักถูก
  10. รับไหว้ : (V) ; return a greeting ; Related:acknowledge a salute ; Def:แสดงอัธยาศัยดีตอบ
  11. ความเมตตาสงสาร : (N) ; kindness ; Related:mercy, clemency, compassion, leniency, pity ; Syn:ความเมตตา, ความสงสาร, ความกรุณาปรานี ; Samp:หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์ที่มีอัธยาศัยไมตรีเปี่ยมไปด้วยความเมตตาสงสารคนทุกคน
  12. เปี่ยมล้น : (V) ; be full ; Related:be filled, be completely filled, be full to the brim ; Def:เต็มไปด้วย ; Samp:หลวงพ่อให้การต้อนรับศรัทธาญาติโยมด้วยอัธยาศัยอันงดงามและเปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรม
  13. พื้นความรู้ : (N) ; background knowledge ; Related:fundamental knowledge, basic of knowledge ; Def:ระดับความรู้ที่มีอยู่เดิม ; Samp:การส่งเสริมศีลธรรมจรรยาของประชาชนควรจะคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ จิตใจ และอัธยาศัยของบุคคลแต่ละคนเป็นพิเศษ

Royal Institute Thai-Thai Dict : อัธยาศัย, more than 5 found, display 1-5
  1. อัธยาศัย : [อัดทะยาไส] น. นิสัยใจคอ เช่น เขาเป็นคนมีอัธยาศัยดี; ความพอใจ, ความประสงค์, เช่น ไปพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย. (ส. อธฺยาศย; ป. อชฺฌาสย).
  2. ใจคอ : น. จิตใจ, อัธยาศัย, อารมณ์, บางทีใช้ในทางร้ายก็มี เช่น ใจคอ จะทิ้งบ้านทิ้งช่องไปได้หรือ.
  3. อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
  4. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  5. ของขวัญ : น. สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว; สิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เช่น ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเกิด.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : อัธยาศัย, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : อัธยาศัย, more than 5 found, display 1-5
  1. อัธยาศัย : นิสัยใจคอ, ความนิยมในใจ
  2. อธิมุตติ : อัธยาศัย, ความโน้มเอียง, ความคิดมุ่งไป, ความมุ่งหมาย
  3. ธรรมทำให้งาม ๒ : คือ ๑.ขันติ ความอดทน ๒.โสรจจะ ความเสงี่ยมหรือความมีอัธยาศัยประณีต
  4. นานาธิมุตติกญาณ : ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยของสัตว์ ที่โน้มเอียง เชื่อถือ สนใจ พอใจต่างๆ กัน (ข้อ ๕ ในทศพลญาณ)
  5. ปุคคลัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักบุคคล คือ รู้ความแตกต่างแห่งบุคคล ว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น เป็นอย่างไร ควรคบควรใช้ควรสอนอย่างไร (ข้อ ๗ ในสัปปุริสธรรม ๗)
  6. Budhism Thai-Thai Dict : อัธยาศัย, more results...

ETipitaka Pali-Thai Dict : อัธยาศัย, 10 found, display 1-10
  1. ฉนฺท : (ปุ.) สภาพผู้อาศัยจิตนอนอยู่, ความตั้ง ใจ, ความพอใจ, ความชอบใจ, ความปรา- รถนา, ความต้องการ, ความอยาก, ความอยากได้, ความมุ่งหมาย, ความยินดี, ความรัก, ความรักใคร่, ความสมัคร, ความสมัครใจ, ความเต็มใจ, ความอยู่ในอำนาจ, อัธยาศัย, ตัณหา, พระเวท. ฉนฺทฺ อิจฺฉายํ, อ. ส. ฉนฺท. ฉนฺท ฉันท์ ชื่อคำประพันธ์อย่าง ๑ มีหลาย ชื่อ มีหลักการวางคำ ครุ ลหุ และจำนวน คำแต่ละบาทต่างๆ กัน วิ. วชฺชํ ฉาทยตีติ ฉนฺทํ. ฉทฺ สํวรเณ, อ, นิคฺคหิตาคโม. ส. ฉนฺทสฺ.
  2. อชฺฌาสย : (ปุ.) ฉันทะมานอนทับซึ่งตน, ฉันทะเป็นที่มานอนทับ, ฉันทะเป็นที่มานอนทับแห่งจิตอันยิ่ง, สภาพอันอาศัยซึ่งอารมณ์เป็นไป, สภาพที่จิตอาศัย, ความมุ่งหมาย, ความพอใจ, ความจุใจ, ความเอาใจใส่, ความประสงค์, ความนิยม, อัชฌาสัย, อัธยาศัย (นิสัยใจคอ).วิ.จิตฺตมชฺฌาคนฺตฺวาสยตีติอชฺฌาสโย.อธิอาปุพฺโพ, สิปวตฺติยํ, อ.คำอัชฌาในวรรณคดี ตัดมาจากคำนี้.ส.อธฺยาศย.
  3. อธิมุตฺต : (นปุ.?)ความมุ่งหมาย, ความพอใจ, ความน้อมใจเชื่อ, ความพอใจ, จิตนอนอยู่, อัชฌาสัย, อัธยาศัย.อธิปุพฺโพ, มุจฺ โมจเนนิจฺฉเย วา, โต, จสฺสโต.
  4. อภิสนฺธิ : (อิต.) ธรรมชาติผู้อาศัยจิตนอนอยู่, ความมุ่งหมาย, อัธยาศัย.วิ.จิตฺเตอภิสนฺ-ธายเตติอภิสนฺธิ.อภิสํปุพฺโพ, ธาธาร-เณ, อิ.
  5. กลฺยาณชฺฌาสย : ค. ผู้มีอัธยาศัยดีงาม
  6. นานาธิมุตฺติกตา : อิต. ความเป็นต่างๆ กันแห่งอัธยาศัย, ความต่างๆ กันแห่งความโน้มเอียง
  7. ปรชฺฌาสย : ป. อัธยาศัยของผู้อื่น
  8. พุทฺธจกฺขุ : (นปุ.) จักษุของพระพุทธเจ้า, พุทธญาณ พุทธจักษุ (รู้อินทรีย์อ่อนแก่ที่มีในสันดานของสัตว์และอัธยาศัยของสัตว์).
  9. สภาชน : (นปุ.) การแนะนำ, ความพอใจ, ความสุภาพ, ความมีอัธยาศัย, ความเคารพ, ความสมควร, ความถูกต้อง, ความสมเหตุผล. สภาชฺ ปิติทสฺสเนสฺ ปีติวจเนสุ วา, ยุ.
  10. อาสยานุสยญาณ : (นปุ.) ญาณอันเป็นไป ด้วยสามารถแห่งความรู้ซึ่งฉันทะเป็น ที่มา นอนและธรรมเป็นที่มานอนตาม, ญาณ (ความรู้) ในฉันทะเป็นที่มานอน และกิเลส อันนอนเนืองของสัตว์ ท., ญาณเป็นเครื่อง รู้ซึ่งฉันทะเป็นที่มานอน และกิเลสเป็นที่มา นอนตาม, ปัญญาหยั่งรู้ อัธยาศัยและอนุสัย ของสัตว์ท.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : อัธยาศัย, not found

(0.1442 sec)