อาราม : วัด, ที่เป็นที่มายินดี, สวนเป็นที่รื่นรมย์, ความยินด, ความรื่นรมย์, ความเพลิดเพลิน; ในทางพระวินัย เกี่ยวกับสงฆ์ หมายถึง ของปลูกสร้างในอารามตลอดจนต้นไม้
อารามวัตถุ : ที่ดินวัด, ที่ดินพื้นวัด
เจ้าอธิการแห่งอาราม : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานวัด แยกเป็น ๓ คือ ผู้ใช้คนงานวัด (อารามิกเปสก) ผู้ใช้สามเณร (สามเณรเปสก) และผู้ดูแลปลูกสร้าง (นวกัมมิกะ)
เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ : ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับการของส่วนรวมในวัดตามพระวินัยแบ่งไว้เป็น ๕ ประเภทคือ ๑.เจ้าอธิการแห่งจีวร ๒.เจ้าอธิการแห่งอาหาร ๓.เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ๔.เจ้าอธิการแห่งอาราม ๕.เจ้าอธิการแห่งคลัง
ทัณฑกรรม : การลงอาชญา, การลงโทษ; ในที่นี้ หมายถึงการลงโทษสามเณรคล้ายกับการปรับอาบัติภิกษุ ได้แก่กักบริเวณ ห้ามไม่ให้เข้า ห้ามไม่ให้ออกจากอาราม หรือการใช้ตักน้ำ ขนฟืน ขนทราย เป็นต้น
ทำการวัด : งานของวัด, งานของพระในอาราม
นวกัมมิกะ : ผู้ดูแลนวกรรม, ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ ให้ทำหน้าที่ดูแลการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ในอาราม
สังฆภัต : อาหารถวายสงฆ์ หมายถึงอาหารที่เจ้าของนำมา หรือส่งมาถวายสงฆ์ในอารามพอแจกทั่วกัน
สามเณรเปสกะ : ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้สามเณร (เป็นเจ้าอธิการแห่งอารามประเภทหนึ่ง))
อาราม : (ปุ.) อารมณ์เป็นที่มายินดี, ประเทศเป็นที่มายินดี, สวนเป็นที่มายินดี, สวนเป็นที่รื่นรมย์, อุทยาน, สวน, อาราม, วัด.วิ. อาค-นฺตฺวารมนฺติเอตฺถาติอาราโม.อาปุพฺโพ, รมุรมเณ, โณ.ส.อาราม.
อารามตา : อิต. ความรักใคร่, ความพอใจ.
อารามปาล : (ปุ.) คนเฝ้าสวน.
อารามภูมิ : (อิต.) พื้นที่วัด, พื้นที่สวน.
อารามสามิก : (ปุ.) เจ้าของสวน.
มลย : (ปุ.) มลยะ ชื่อภูเขาอยู่ทางอินเดียตอนใต้ อุดมด้วยไม้จันทน์, ภูเขาไม้จันทน์, อาราม, อารามดอกไม้ เป็นต้น, สวนดอกไม้, ไม้จันทน์. มลฺ ธารเณ, โย.
อารามโรป : ป. คนทำสวน, คนปลูกต้นไม้ในอาราม