อุปัชฌายะ : ผู้เพ่งโทษน้อยใหญ่ หมายถึงผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์, เป็นทั้งผู้นำเข้าหมู่ และเป็นผู้ปกครองคอยดูแลผิดและชอบ ทำหน้าที่ฝึกสอนอบรมให้การศกษาต่อไป; อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี เรียกว่า ปวัตตินี
สังคีติ :
๑.การสังคายนา ดู สังคายนา๒.ในคำว่า “บอกสังคีติ” ซึ่งเป็นปัจฉิมกิจอย่างหนึ่งของการอุปสมบทท่านสันนิษฐานว่า หมายถึงการประมวลบอกอย่างอื่นนอกจากที่ระบุไว้ เช่น สีมาหรืออาวาสที่อุปสมบท อุปัชฌายะ กรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์
กิจเบื้องต้น : ในการอุปสมบท หมายถึง ให้บรรพชา ถือนิสัย ถืออุปัชฌายะ จนถึงถามอันตรายิกธรรมในที่ประชุมสงฆ์ (คำเดิมเป็น บุพกิจ)
ฉายา : 1.เงา, อาการที่เป็นเงาๆ คือ ไม่ชัดออกไป, อาการเคลือบแฝง 2.ชื่อที่พระอุปัชฌายะตั้งให้แก่ผู้ขอบวชเป็นภาษาบาลี เรียกว่าชื่อฉายา ที่เรียกเช่นนี้เพราะเดิมเมื่อเสร็จการบวชแล้ว ต้องมีการวัดฉายาคือเงาแดดด้วยการสืบเท้าว่าเงาหดหรือเงาขยายแค่ไหน ชั่วกี่สืบเท้า การวัดเงาด้วยเท้านั้นเป็นมาตรานับเวลา เรียกว่า บาท เมื่อวัดแล้วจดเวลาไว้และจดสิ่งอื่นๆ เช่นชื่อพระอุปัชฌายะ พระกรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์ และชื่อผู้อุปสมบท ทั้งภาษาไทยและมคธ ลงในนั้นด้วย ชื่อใหม่ที่จดลงตอนวัดฉายานั้น จึงเรียกว่าชื่อฉายา
สมานุปัชฌายกะ : ภิกษุผู้ร่วมพระอุปัชฌายะเดียวกัน
สัญญัติ : (ในคำว่า “อุปัชฌายะชื่ออะไรก็ตาม ตั้งสัญญัติลงในเวลานั้นว่าชื่อ ติสสะ”) การหมายรู้, ความหมายรู้ร่วมกัน, ข้อสำหรับหมายรู้ร่วมกัน, ข้อตกลง
สัทธิงวิหาริก : ศิษย์, ผู้อยู่ด้วย เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌายะองค์ใดก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น
สัทธิวิหาริก : ศิษย์, ผู้อยู่ด้วย เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌายะองค์ใดก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น
อุปชฺฌาย : (ปุ.) อุปัชฌาย์, พระอุปัชฌาย์. วิ. มนสา อุเปจฺจ สิสฺสานํ หิเตสิตํ อุปฏฺฐ- เปตฺวา ฌายตีติ อุปชฺฌาโย (ผู้เพ่งด้วยใจ เข้าไปใกล้ชิด แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล แก่ศิษย์ ท.) พระเถระผู้ให้การอบรม, พระเถระผู้เป็นประธาน ในการอุปสมบท. อุปปุพฺโพ, เฌ จินฺตายํ, โณ. แปลง เอ เป็น อาย. ส. อุปธฺยาย.
ฉายา : (อิต.) เค้า คือสิ่งที่เป็นเครื่องกำหนด หมายให้รู้ สิ่งที่ส่อแสดงให้รู้ว่ามีลักษณะ เหมือนสิ่งอื่น, ความไม่มีแดด, เงา, ร่ม (บริเวณที่ไม่ถูกแดดไม่ถูกฝน), รูป, รูป เปรียบ, แสงสว่าง, ฉายา คือ ชื่อที่พระ – อุปัชฌายะตั้งให้เป็นภาษามคธเมื่ออุปสม – บท. วิ. เฉติ สํสยนฺติ ฉายา. ฉา เฉทเน, โย. ฉินฺทติ ปริสฺสมนฺติ วา ฉายา. ไทยใช้ เรียกชื่อภาษาไทยที่ตั้งกันเล่นๆตามลักษ – ณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ เช่น เปี๊ยก ว่ามี ฉายาว่า นายเปี๊ยก นอกจากนี้ยังหมายถึง นางผู้โฉมงามหรือเมียอีกด้วย.
นานุปชฺฌาย : (ปุ.) พระอุปัชฌายะต่างรูปกัน (ต่างพระอุปัชฌายะกัน).
อุปชฺฌ, - ฌาย : ป. พระอุปัชฌายะ, พระเถระผู้ให้บรรพชาอุปสมบท
อุปชฺฌายาทิวตฺต : (นปุ.) วัตรอัน...พึงประพฤติ โดยชอบในอุปการชน มีพระอุปัชฌาย์ เป็นต้น. มี วิ. ตามลำดับดังนี้.- ฉ. ตุล. อุปชฺฌาโย อาทิ เยสํ เต อุปชฺฌา- ยาทโย (อุปการชนา) วิเสสนปุพ. กัม. อุปชฺฌาทโย อุปการชนา อุปชฺฌายาทิอุปการชนา. ส. ตัป. อุปชฺฌายาทิอุปการชเนสุ สมฺมา- จริตพฺพํ วตฺตํ อุปชฺฌายาทิวตฺตํ. วัตรมีวัตรเพื่อพระอุปัชฌาย์ เป็นต้น มี วิ. ดังนี้.- จ. ตัป. อุปชฺฌายสฺส วตฺตํ อุปชฺฌายวตฺตํ. ฉ. ตุล. อุปชฺฌายวตฺตํ อาทิ เยสํ ตานิ อุปชฺฌายาทีนิ (วตฺตานิ). วิเสสนบุพ. กัม. อุปชฺฌายาทีนิ วตฺตานิ อุปชฺฌายาทิวตฺตานิ.