Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อุปัชฌาย์ , then อปชฌาย, อุปชฺฌาย, อุปัชฌาย์ .

Eng-Thai Lexitron Dict : อุปัชฌาย์, not found

Thai-Eng Lexitron Dict : อุปัชฌาย์, 4 found, display 1-4
  1. พระอุปัชฌาย์ : (N) ; preceptor ; Related:priest who officiates at an ordination ceremony ; Syn:อุปัชฌาย์, อุปัชฌาย, อุปัชฌายะ ; Def:พระเถระผู้เป็นประธานการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา ; Samp:มหาเถรสมาคมมีคำสั่งให้พระอุปัชฌาย์เอาใจใส่พระภิกษุสามเณรที่พระอุปัชฌาย์บวชให้ ; Unit:รูป, องค์
  2. เจ้าอธิการ : (N) ; abbot ; Related:chief monk ; Def:พระที่ดำรงตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าคณะตำบลซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่น ; Samp:เขาได้อุปสมบท ณ อุโบสถวัดท่าคอยโดยมีเจ้าอธิการฉิมวัดท่าคอยเป็นพระอุปัชฌาย์
  3. ถวายพระเพลิง : (V) ; cremate ; Syn:เผาศพ, ฌาปนกิจ, พระราชทานเพลิงศพ ; Samp:เมื่อเสร็จพิธีอุปสมบทแล้วได้ไปถวายพระเพลิงล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ณ พระเมรุท้องสนามหลวงพร้อมด้วยพระอุปัชฌาย์
  4. พระภิกษุ : (N) ; Buddhist monk ; Syn:พระสงฆ์, ภิกษุ, พระภิกษุสงฆ์ ; Def:ชายที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ; Samp:พระองค์เจ้าวาสุกีทรงผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปีมะแม พ.ศ. 2354 โดยสมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ ; Unit:รูป

Royal Institute Thai-Thai Dict : อุปัชฌาย์, 9 found, display 1-9
  1. อุปัชฌาย, อุปัชฌาย์, อุปัชฌายะ : [อุปัดชายะ, อุบปัดชายะ, อุปัดชา, อุบปัดชา] น. พระเถระผู้เป็น ประธานการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. อุปาธฺยาย).
  2. อุปาธยาย : [อุปาดทะยาย, อุบปาดทะยาย] น. อุปัชฌาย์. (ส.; ป. อุปชฺฌาย).
  3. สัทธิงวิหาริก, สัทธิวิหาริก : น. คําเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว, ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์ องค์ใดก็เป็นสัทธิงวิหาริกของพระอุปัชฌาย์องค์นั้น, (ใช้เข้าคู่กับ อุปัชฌาย์). (ป.).
  4. กรวย ๑ : น. ของมีรูปกลม กลวง ยาวเรียวแหลม, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วย แป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบ เป็นต้น หยอดในกรวยใบตองว่า ขนม กรวย, กระทงมีฝาเป็นกรวยครอบ ข้างในใส่หมากหรือเมี่ยงสําหรับ ถวายพระอุปัชฌาย์และคู่สวดในการบวชนาค เรียกว่า กรวยอุปัชฌาย์ และกรวยคู่สวด; (วิทยา) รูปตันมีลักษณะฐานกลมและแหลมเรียว ไปโดยลําดับ เรียกว่า รูปกรวย. (อ. cone).
  5. ขอนิสัย : ก. ขอฝากตัวอยู่ในความปกครองของพระอุปัชฌาย์ (ใช้แก่ กุลบุตรในเวลาอุปสมบท).
  6. เจ้าอธิการ : น. พระที่ดํารงตําแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าคณะตําบล ซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่น.
  7. ฉายา ๑ : น. เงา, ร่มไม้. (ป.); ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท, ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ. (ป., ส.).
  8. อธิการ : [อะทิกาน] น. เรียกพระที่ดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสซึ่งไม่มีสมณศักดิ์ อย่างอื่นว่า พระอธิการ, เรียกพระที่ดํารงตําแหน่งพระอุปัชฌาย์หรือ เจ้าคณะตําบล ซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า เจ้าอธิการ; ตําแหน่งสูงสุด ของผู้บริหารในวิทยาลัย. (ป., ส.).
  9. อุปัชฌายวัตร : [อุปัดชายะวัด, อุบปัดชายะวัด] น. กิจที่สัทธิงวิหาริก จะต้องปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ของตน. (ป. อุปชฺฌายวตฺต).

Budhism Thai-Thai Dict : อุปัชฌาย์, more than 5 found, display 1-5
  1. อุปัชฌาย์ : “ผู้เพ่งโทษน้อยใหญ่” หมายถึงผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์, เป็นทั้งผู้นำเข้าหมู่ และเป็นผู้ปกครองคอยดูแลผิดและชอบ ทำหน้าที่ฝึกสอนอบรมให้การศกษาต่อไป; อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี เรียกว่า ปวัตตินี
  2. ปัจฉิมกิจ : ธุระที่พึงทำภายหลัง, กิจที่พึงทำตอนท้าย เช่น ปัจฉิมกิจแห่งอุปสมบทมี ๖ ได้แก่ วัดเงาแดด, บอกประมาณแห่งฤดู, บอกส่วนแห่งวัน, บอกสังคีติ (บอกรวบหรือบอกประมวล เช่น วัดที่บวช อุปัชฌาย์ กรรมวาจาจารย์ และจำนวนสงฆ์ เป็นต้น) บอกนิสัย ๔ และบอกอกรณียกิจ ๔ (ที่รวมเรียกอนุศาสน์)
  3. อุปัชฌายาจารย์ : อุปัชฌาย์และอาจารย์
  4. นาคเสน : พระอรหันตเถระผู้โต้วาทะชนะพระยามิลินท์ กษัตริย์แห่งสาคลประเทศ ดงมีคำโต้ตอบปัญหามาในคัมภีร์มิลินทปัญหา ท่านเกิดหลังพุทธกาลประมาณ ๔๐๐ ปี ที่หมู่บ้านกชังคละในหิมวันตประเทศ เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อโสณุตตระ ท่านเป็นผู้ชำนาญในพระเวทและต่อมาได้อุปสมบท โดยมีพระโรหะเป็นพระอุปัชฌาย์; ดู มิลินท์, มิลินทปัญหา
  5. นิสัย : 1.ที่พึ่ง, ที่อาศัย เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท (คือกล่าวคำขอร้องต่ออุปัชฌาย์ในพิธีอุปสมบท ขอให้ท่านเป็นที่พึ่ง ที่อาศัยของตน ทำหน้าที่ปกครองสั่งสอนให้การศึกษาอบรมต่อไป) อาจารย์ผู้ให้นิสัย (อาจารย์ผู้รับที่จะทำหน้าที่เป็นที่พึ่ง ที่อาศัยปกครองแนะนำในการศึกษาอบรม) 2.ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช 3.ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทำจนเป็นนิสัย
  6. Budhism Thai-Thai Dict : อุปัชฌาย์, more results...

ETipitaka Pali-Thai Dict : อุปัชฌาย์, 7 found, display 1-7
  1. อุปชฺฌาย : (ปุ.) อุปัชฌาย์, พระอุปัชฌาย์. วิ. มนสา อุเปจฺจ สิสฺสานํ หิเตสิตํ อุปฏฺฐ- เปตฺวา ฌายตีติ อุปชฺฌาโย (ผู้เพ่งด้วยใจ เข้าไปใกล้ชิด แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล แก่ศิษย์ ท.) พระเถระผู้ให้การอบรม, พระเถระผู้เป็นประธาน ในการอุปสมบท. อุปปุพฺโพ, เฌ จินฺตายํ, โณ. แปลง เอ เป็น อาย. ส. อุปธฺยาย.
  2. อุปชฺฌ : (ปุ.) อุปัชฌาย์ วิ. มนสา อุเปจฺจ วชฺชาวชฺชํ ฌายตีติ อุปชฺฌา (ผู้เพ่งโทษ น้อยใหญ่ของศิษย์). อุป+เฌ+อ ปัจ.
  3. อุปชฺฌายาทิวตฺต : (นปุ.) วัตรอัน...พึงประพฤติ โดยชอบในอุปการชน มีพระอุปัชฌาย์ เป็นต้น. มี วิ. ตามลำดับดังนี้.- ฉ. ตุล. อุปชฺฌาโย อาทิ เยสํ เต อุปชฺฌา- ยาทโย (อุปการชนา) วิเสสนปุพ. กัม. อุปชฺฌาทโย อุปการชนา อุปชฺฌายาทิอุปการชนา. ส. ตัป. อุปชฺฌายาทิอุปการชเนสุ สมฺมา- จริตพฺพํ วตฺตํ อุปชฺฌายาทิวตฺตํ. วัตรมีวัตรเพื่อพระอุปัชฌาย์ เป็นต้น มี วิ. ดังนี้.- จ. ตัป. อุปชฺฌายสฺส วตฺตํ อุปชฺฌายวตฺตํ. ฉ. ตุล. อุปชฺฌายวตฺตํ อาทิ เยสํ ตานิ อุปชฺฌายาทีนิ (วตฺตานิ). วิเสสนบุพ. กัม. อุปชฺฌายาทีนิ วตฺตานิ อุปชฺฌายาทิวตฺตานิ.
  4. กมฺมวาจาจริย : (ปุ.) อาจารย์ผู้สวดกรรมวาจา คือคู่สวดรูปที่นั่งทางขวามือของอุปัชฌาย์.
  5. ตจปญฺจกกมฺมฏฺฐาน : (นปุ.) กัมมัฎฐานมี ประชุมแห่งอาการห้ามีหนังเป็นที่สุดเป็น อารมณ์ มี วิ. ดังนี้ :- ๑ กณฺ ปัจ. สมุหตัท. ปญฺจนฺนํ อาการานํ สมุโห ปญฺจกํ ฉ.ตุล. ตโจ ปริยนฺโต ยสฺส ตํ ตจ ปริยนฺตํ วิเสสนบุพ.กัม ตจปริยนฺตญฺจ ตํ ปญฺจ- กญฺจาติ ตจปญฺจกํ. ฉ. ตุล ตจปญฺจกํ อารมฺมณํ ยสฺส ตํ ตจฺปญฺจการมฺมณํ. วิเสสนบุพ.กัม. ตจปญฺจการมฺมณญฺจ ตํ กมฺมฏฺฐานญฺจาติ ตจปญฺจกกมฺมฏฐานํ. นอกจากนี้ยังมีสำนวน แปลอย่างอื่นอีก คือกัมมัฏฐานมีหมวด แห่งส่วนห้าแห่งอาการมีหนังเป็นที่สุด เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนด ด้วยอาการมีหนังเป็นที่ห้าด้วยอารมณ์, พึง ตั้ง วิ. ตามสำนวนแปล. กัมมัฏฐานนี้เป็น กัมมัฏฐานแรก ซึ่งพระอุปัชฌาย์สอนนาค ก่อนที่จะบรรพชาอุปสมบท สำหรับใช้ ภาวนาจึงเรียกว่า มูลกัมมัฏฐาน เป็น สมถกัมมัฏฐานก็ได้เป็นวิปัสสนากัมมัฏ- ฐานก็ได้ แล้วแต่การภาวนาว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา ทขา โลมา เกสา ไม่ได้พิจารณาว่า ผม ฯลฯ ไม่งาม ฯลฯ ก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน ถ้าพิ – จารณาผม ฯลฯ แยกให้เห็นเป็น สามัญ – ลักษณะ ก็เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน.
  6. มูลกมฺมฏฺฐาน : (นปุ.) กัมมัฏฐานเดิม, กัมมัฏฐานอันเป็นเดิม, ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ซึ่งพระอุปัชฌาย์ให้เมื่อขอบรรพชาอุปสมบท.
  7. สทฺธิวิหาริก : ค. ผู้อยู่ร่วม, หมายถึงภิกษุที่บวชกับอุปัชฌาย์องค์ใดก็เป็นสัทธวิหาริกของอุปัชฌาย์องค์นั้น

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : อุปัชฌาย์, 1 found, display 1-1
  1. อุปัชฌาย์ : อุปชฺฌา, อุปชฺฌาโย

(0.1485 sec)