เกษม : [กะเสม] น. ความสุขสบาย, ความปลอดภัย, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น สุขเกษม เกษมศานต์. (โบ เขียนเป็นกระเษม, เขษม ก็มี). (ส.; ป. เขม).
กระเษม : (โบ) น. เกษม.
เขษม : [ขะเสม] น. เกษม, ความสบายใจ, ความพ้นภัย. (ป. เขม; ส. เกษม).
เขม-, เขมา ๑ : [เขมะ-, เข-มา] น. เกษม, ความสบายใจ, ความพ้นภัย. (ป.; ส. เกฺษม).
กู่ ๑ : (โบ) น. วิหาร เช่น ในกู่แก้วเกษมมฤคทายพนน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร); (ถิ่น-พายัพ) อนุสาวรีย์, กุฏิ, เจดีย์.
ศังกร : [สังกอน] น. นามพระอิศวรผู้ประสาทความสุขเกษม. (ส.).
ศิวาลัย : น. ที่ประทับของพระศิวะ; ที่อยู่อันเกษมสุข.
กระเษมสานต์ : น. เกษมสันต์. (ส. เกฺษม + ศานฺต; ส. เกฺษม + ป. สนฺต).
เกษมศานต์, เกษมสันต์ : ว. โปร่งอารมณ์, ชื่นชมยินดี. (ส. เกฺษม + ศานฺต, ส. เกฺษม + ป. สนฺต).
สิว : (วิ.) งาม, ดี, เกษม, สำราญ, สุขสำราญ, เป็นศรีสวัสดิ์, เจริญ, ดีงาม. ส. ศิว.
เขม : (วิ.) ดี, งาม, เจริญ, ประเสริฐ, สบาย, สบายใจ, ปลอด, ปลอดภัย, ปลอดโปร่ง, สำราญ, เป็นมงคล, เกษม. วิ. ขียเตตฺถ อสุภนฺติ เขมํ. ขี ขเย, โม.
เขมจารี : (วิ.) ผู้ประพฤติซึ่งธรรมอันเกษม วิ. เขมํ จรตีติ เขมจารี, ผู้ประพฤติซึ่งธรรมอัน อันเกษมโดยปกติ วิ. เขมํ จรติ สีเลนาติ เขมจารี. ผู้มีความประพฤติซึ่งธรรมอัน เกษมเป็นปกติ. ผู้มีปกติประพฤติซึ่งธรรม อันเกษม วิ. เขมสฺส จรณสีโลติ เขมจารี.
เขมฏฐาน : นป. สถานที่อันเกษม, สถานที่ปลอดภัย
เขมฏฐิต : ค. ผู้ดำรงอยู่ในความเกษม, ผู้สำราญ
เขมปฺปตฺต : ค. ผู้ตั้งอยู่ในความเกษมสำราญ
โยคกฺเขม : (วิ.) อันเป็นแดนเกษมจากโยคะ, อันเป็นแดนปลอดโปร่งจากโยคะ.
โยตกฺเขมี : (วิ.) ผู้มีธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ. อี ปัจ. ตทัสสัตถิตัท.
โสภคฺค : (นปุ.) ความเจริญ, ความงอกงาม, ความรุ่งเรือง, ความดี, ความสง่า, ความสุข, ความเกษม, ความสำเร็จ, โชคดี. เสาวภาคย์. สุภา+ณฺย ปัจ. สกัด. เอา อุ เป็น โอ ลบ อ ที่ ค ลบ ณฺ แปลง คฺย เป็น คฺค.
อภิรมฺม : (วิ.) อัน...พึงยินดียิ่ง, อัน...พึงรื่นรมย์ยิ่ง, อันน่ายินดียิ่ง, อันน่าเกษม, อันน่าพึงใจ.