Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เงียบสงัด, เงียบ, สงัด , then เงียบ, เงียบสงัด, สงด, สงัด .

Eng-Thai Lexitron Dict : เงียบสงัด, more than 7 found, display 1-7
  1. quiet 1 : (ADJ) ; เงียบ ; Related:สงบเงียบ, สงบ ; Syn:peacefu, untroubled, tranquil, calm, noiseless, still, mute
  2. shush : (INT) ; เงียบ ; Related:คำอุทานบอกให้เงียบ
  3. silent : (ADJ) ; เงียบ ; Related:ไร้เสียง, ไม่ออกเสียง, สงบนิ่ง, นิ่งเงียบ, นิ่งอึ้ง, เงียบกริบ, ไม่ค่อยพูด ; Syn:hushed, soundless, speechless
  4. hush : (ADJ) ; เงียบ
  5. hushed : (ADJ) ; เงียบ ; Related:สงบ
  6. muted : (ADJ) ; เงียบ
  7. Eng-Thai Lexitron Dict : เงียบสงัด, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : เงียบสงัด, more than 7 found, display 1-7
  1. เงียบสงัด : (ADJ) ; quiet ; Related:silent, soundless, noiseless, inaudible, hushed ; Syn:เงียบกริบ, สงัดเงียบ ; Def:ที่สงบเงียบเพราะปราศจากเสียงรบกวนใดๆ ; Samp:ฉันกลัวบรรยากาศที่เงียบสงัด เพราะทำให้อดคิดถึงเรื่องผีๆ ขึ้นมาไม่ได้
  2. เงียบสงัด : (V) ; be quiet ; Related:be silent, be soundless, be noiseless, be inaudible ; Syn:เงียบกริบ, สงัดเงียบ ; Def:สงบเงียบเพราะปราศจากเสียงรบกวนใดๆ ; Samp:ทั้งหมู่บ้านเงียบสงัดเหมือนหมู่บ้านร้าง ทั้งๆ ที่ยังหัวค่ำอยู่
  3. สงัด : (ADJ) ; quiet ; Related:tranquil, silent, restful, calm, peaceful ; Syn:เงียบเชียบ, เงียบ, เงียบสงัด, เงียบสงบ ; Ant:อึกทึก ; Def:สงบเงียบเพราะปราศจากเสียงรบกวน, ไร้ศัพท์สำเนียงใดๆ ; Samp:ในยามวิกาลอันสงัด ความว้าเหว่ก็จู่โจมเขาอย่างหนัก
  4. เงียบ : (V) ; be silent ; Related:be quiet, be still ; Syn:หายเงียบ, เงียบหาย ; Ant:ได้ข่าว ; Def:หายไปโดยไม่มีข่าวหรือไม่เป็นข่าวเลย เช่น หมู่นี้นาย ก เงียบไป, นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง ; Samp:นิภาเงียบไปหลายเดือนแล้ว ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
  5. เงียบ : (ADV) ; silently ; Related:quietly, softly, still ; Syn:สงบ, นิ่ง, เงียบเชียบ ; Ant:ดัง, เอิกเกริก, อื้ออึง, เอะอะ ; Def:ไม่มีเสียงพูด เช่น นั่งเงียบ, ไม่มีเสียงอื้ออึง เช่น บ้านนี้เงียบ, สงบ, ปราศจากเสียงรบกวนหรือการก่อกวน, เช่นเหตุการณ์เงียบลงแล้ว โดยปริยายหมายความว่า ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบๆ, ไม่กระโตกกระตาก เช่น เก็บเรื่องเงียบ ; Samp:เขาเป็นคนชอบแหกคอกอาจมีการต่อต้านเราอย่างเงียบ
  6. เงียบฉี่ : (ADJ) ; absolutely silent ; Related:very quiet, no voice ; Syn:เงียบกริบ, เงียบสงัด, เงียบสนิท ; Ant:ดัง, อึกทึก ; Def:ไม่มีเสียงใดๆ เลย ; Samp:เราก้าวเข้าไปในบ้านที่เงียบฉี่ปราศจากเสียงใดๆ อย่างระมัดระวัง
  7. เงียบฉี่ : (V) ; not say anything ; Related:not send information ; Syn:เงียบกริบ, เงียบสงัด, เงียบสนิท ; Ant:ดัง, อึกทึก ; Def:ไม่ส่งข่าว, ไม่ได้ข่าวคราว ; Samp:ลูกสาวคนดีของแม่เงียบฉี่มาหลายเดือนแล้วไม่รู้ว่าทำงานอะไรอยู่
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : เงียบสงัด, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : เงียบสงัด, more than 5 found, display 1-5
  1. สงัด : [สะหฺงัด] ก. เงียบสงบ เช่น คลื่นสงัด ลมสงัด. ว. เงียบเชียบ, สงบเงียบ เพราะปราศจากเสียงรบกวน, เช่น ดึกสงัด ยามสงัด.
  2. เงียบ : ว. ไม่มีเสียง เช่น นั่งเงียบ, ไม่มีเสียงอื้ออึง เช่น บ้านนี้เงียบ, สงบ, ปราศจากเสียงรบกวนหรือการก่อกวน, เช่น เหตุการณ์เงียบลงแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระโตกกระตากเช่น เก็บเรื่องเงียบ, ไม่ แสดงออก เช่น พลังเงียบ. ก. หายไปโดยไม่มีข่าวคราวหรือไม่เป็น ข่าวเลย เช่น หมู่นี้นาย ก เงียบไป.
  3. ชระงม : [ชฺระ] (กลอน) น. ป่ากว้าง, ป่าใหญ่. ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น อยู่ชระงมนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  4. นิรโฆษ : [ระโคด] (แบบ) น. เสียงดัง, เสียงกึกก้อง. ว. ไม่มีเสียง, เงียบ, สงบ, สงัด. (ส.).
  5. รโห : น. ลับ, สงัด, เงียบ. (ป.).
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : เงียบสงัด, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : เงียบสงัด, 8 found, display 1-8
  1. กถาวัตถุ : ถ้อยคำที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ มี ๑๐ อย่างคือ ๑.อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย ๒.สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ๓.ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายสงัดใจ ๔.อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ๕.วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร ๖.สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล ๗.สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น ๘.ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา ๙.วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์ ๑๐.วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ - 1. "Points of controversy"; name of the fifth book of the Abidhamma Pitaka. 2.a subject of discussion.
  2. ปวิเวกกถา : ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกาย สงัดใจ (ข้อ ๓ ในกถาวัตถุ ๑๐)
  3. มหากัปปินะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นกษัตริย์ครองราชสมบัติในนครกุกกุฏวดีในปัจจันตประเทศ ได้ทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจาแล้ว บังเกิดปีติศรัทธา สละราชสมบัติทรงม้าเดินทางไกลถึง ๓๐๐ โยชน์มาเฝ้าพระพุทธเจ้า สดับธรรมกถา บรรลุพระอรหัตแล้วได้รับอุปสมบท ส่วนพระอัครมเหสีชื่ออโนชา เมื่อทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าก็เกิดปีติและศรัทธาเช่นเดียวกัน พระนาง ทรงรถเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังธรรมบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว รับบรรพชาจากพระอุบลวรรณาเถรีไปอยู่ในสำนักภิกษุณี ฝ่ายมหากัปปินเถระชอบอยู่สงบสงัดและมักอุทานว่า สุขจริงหนอ ท่านสามารถแสดงธรรมให้ศิษย์บรรลุอรหัตตผลได้พร้อมคราวเดียวถึง ๑,๐๐๐ องค์ พระบรมศาสดายกย่องท่านว่าท่านเป็นเอตทัคคะในทางให้โอวาทแก่ภิกษุ
  4. วิเวก : ความสงัด มี ๓ คือ อยู่ในที่สงัด เป็น กายวิเวก จิตสงบเป็น จิตวิเวก หมดกิเลสเป็น อุปธิวิเวก
  5. เวฬุวัน : ป่าไผ่ สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสาร อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์ เป็นที่ร่มรื่นสงบเงียบ มีทางไปมาสะดวก พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา
  6. หลักกำหนดธรรมวินัย : หลักตัดสินธรรมวินัย หรือลักษณะตัดสินธรรม วินัย ๘ อย่าง คือ ก.ธรรมเหล่าใด เป็นไป ๑.เพื่อความย้อมใจติด ๒.เพื่อความประกอบทุกข์ ๓.เพื่อความพอกพูนกิเลส ๔.เพื่อความมักมากอยากใหญ่ ๕.เพื่อความไม่สันโดษ ๖.เพื่อความคลุกคลีในหมู่ ๗.เพื่อความเกียจคร้าน ๘.เพื่อความเลี้ยงยาก, ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์, ข.ธรรมเหล่าใดเป็นไป ๑.เพื่อความคลายหายติด ๒.เพื่อความไม่ประกอบทุกข์ ๓.เพื่อความไม่พอกพูนกิเลส ๔.เพื่อความมักน้อย ๕.เพื่อความสันโดษ ๖.เพื่อความสงัด ๗.เพื่อการประกอบความเพียร ๘.เพื่อความเลี้ยงง่าย, ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์
  7. องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕ : คือ ๑) ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๒) อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ๓) ภัสสปริยันตะ พูดคุยมีขอบเขต ไม่เอิกเกริกเฮฮา ๔) กายวูปกาสะ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ๕) สัมมาทัสสนะ ตั้งตนไว้ในความเห็นชอบ
  8. อภิณหปัจจเวกขณ์ : ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ, เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ ๑) ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๒) ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๓) ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๔) ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๕) ว่าเรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว; อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ อย่าง (ปัพพชิตอภิรหปัจจเวกขณ์) คือ ๑) บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว ๒) ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓) ว่าเรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ ๔) ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๕) ว่าเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๖) ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๗) ว่าเรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว ๘) ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๙) ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่ ๑๐) ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมือถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง (ข้อ ๑ ท่านเติมท้ายว่าอาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒) เติมว่าเราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๗) ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้น ไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้)

ETipitaka Pali-Thai Dict : เงียบสงัด, more than 5 found, display 1-5
  1. ฉนฺน : (วิ.) สมควร, เหมาะสม, นุ่งห่ม, ปกปิด, กำบัง, ปิดบัง, ซ่อนเร้น, เงียบ, วังเวง, สงัด, ลับ. ฉทฺ สํวรเณ, โต. แปลง ต เป็น นฺน ลบที่สุดธาตุ กัจฯ และรูปฯ แปลง ต เป็น อนฺน ลบที่สุดธาตุ อภิฯ แปลง ต กับที่สุด ธาตุเป็น อนฺน.
  2. วิวิตฺต : ค. เงียบ, สงัด
  3. กายวิเวก : ป. ความสงัดกาย, ที่สงัดเงียบกาย, กายสันโดษ
  4. อวิวิตฺต : ค. ไม่สงัดเงียบ, ไม่ห่างไกล
  5. ตุณฺหิกฺขก : ค. นิ่ง, เงียบ, ไม่มีเสียง, ดุษณี
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : เงียบสงัด, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : เงียบสงัด, not found

(0.1985 sec)