เชี่ยว : ว. อาการที่สายนํ้าไหลแรง เรียกว่า นํ้าไหลเชี่ยว.
ชำเนียร ๒ : ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น ชําเนียรในศิลป์. (สรรพสิทธิ์).
เชียร ๒ : ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น เชียรเชียรใบบาตรนํ้า. (แช่งนํ้า). (แผลงมาจาก ชีระ).
ชีระ ๒ : ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว. (ส.).
กระโตน : ก. กระโจน เช่น น้ำเชี่ยวเกลียวโยน กระโตนฉ่า ๆ. (สุบิน).
กราก : [กฺราก] ก. ตรงเข้าไปโดยเร็ว เช่น กรากเข้าไป. ว. รวดเร็ว เช่น น้ำไหลเชี่ยวกราก; เรียกสิ่งที่หุงหรือนึ่งสวยมากเกินไปว่า สวยกราก เช่น ข้าวสวยกราก ถั่วสวยกราก, แข็งอย่างผ้าลาย ที่ยังไม่ได้ซักหรือผ้าที่ลงแป้งจนแข็ง; เสียงอย่างเสียงลากกิ่งไม้.
กะบัง ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้าย และทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้าง อย่างเดียวกับจิบ แต่ระหว่างกลางทําร้านซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ตลอดเป็น ทางเพื่อให้ปลาเสือกตัวขึ้นแล้วเลื่อนตกลงไปในถุงอวนหรือตาข่าย ที่ดักไว้ปลายทาง ต้องจับในเวลาที่น้ำไหลเชี่ยว, กะบังรังเฝือก ก็ว่า.
คงคา ๑ : น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจํานํ้า, ชื่อแม่นํ้า สําคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว); เรียกส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่นว่า ท่อคงคา.
น้ำชุบ : น. นํ้าที่เจือด้วยธาตุเงิน ธาตุทองแดง หรือธาตุทองคํา สําหรับ ชุบของต่าง ๆ มีทองเหลืองเป็นต้นให้เป็นสีเงินหรือสีทอง, นํ้าที่เอา เหล็กเผาไฟให้แดงแล้วชุบลงเพื่อให้เหล็กกล้า; (ถิ่นปักษ์ใต้) นํ้าพริก. น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ (สํา) อย่าขัดขวางผู้ที่มีอํานาจ, เป็นคําพูดเชิง เตือนสติ.
เรี่ยว : น. แรง, กําลัง; เรียกสายนํ้าที่ไหลเชี่ยวแรง.