เชี่ยวชาญ : ว. สันทัดจัดเจน, ชํ่าชอง, มีความชํานิชํานาญมาก.
กัลชาญ : [กันละชาน] ว. กลชาญ, เชี่ยวชาญ, เช่น แด่พระผู้กัลชาญพิเศษ. (ม. คําหลวง ทศพร).
ชำนิ ๒ : ก. รู้ชัดเจน, เชี่ยวชาญ, คล่องแคล่ว.
เปศละ : [เปสะละ] ว. ซึ่งประดับตกแต่งโดยฝีมือช่าง; งาม, สวย, น่ารัก, น่าชอบใจ, อ่อน, น่วม, ละมุนละม่อม; เก่ง, ชํานาญ, เชี่ยวชาญ, มีเล่ห์กล, มีอุบาย. (ส.).
วิจักขณ์, วิจักษณ์ : ว. ที่รู้แจ้ง, ที่เห็นแจ้ง, ฉลาด, มีสติปัญญา, เชี่ยวชาญ, ชํานาญ. (ป. วิจกฺขณ; ส. วิจกฺษณ).
Royal Institute Thai-Thai Dict : เชี่ยวชาญ, more results...
โกศล : ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี ๓ คือ ๑.อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญและเหตุของความเจริญ ๒.อปายโกศล ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม ๓.อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้างความเจริญ
โกสัลละ : ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี ๓ คือ ๑.อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญและเหตุของความเจริญ ๒.อปายโกศล ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม ๓.อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้างความเจริญ
ชีวก : ชื่อหมอใหญ่ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและมีชื่อเสียงมากในครั้งพุทธกาล เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ ของพระพุทธเจ้าด้วย, เรียกชื่อเต็มว่า ชีวกโกมารภัจจ์
พรหมายุ : ชื่อพราหมณ์คนหนึ่ง อายุ ๑๒๐ ปี เป็นผู้เชี่ยวชาญไตรเพท อยู่ ณ เมืองมิถิลา ในแคว้นวิเทหะ ได้ส่งศิษย์มาตรวจดูมหาบุรุษลักษณะของพระพุทธเจ้า ต่อมาได้พบกับพระพุทธเจ้า ทูลถามปัญหาต่างๆ มีความเลื่อมใส และได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
มหาปันถกะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรของธิดาเศรษฐี กรุงราชคฤห์ ไปวัดกับเศรษฐีผู้เป็นตา ได้ฟังเทศนาของพระศาสดาอยู่เสมอ จิตก็น้อมไปทรงบรรพชา จึงบวชเป็นสามเณรตั้งแต่ยังเด็ก เมื่ออายุครบ ก็อุปสมบทต่อมาได้สำเร็จพระอรหัตพระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะทางด้านเป็นผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฏ์ เพราะท่านชำนาญในอรูปาวจรฌานและเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนา ท่านเคยรับหน้าที่เป็นภัตตุทเทสก์ คือ ผู้จัดแจกอาหารของสงฆ์ด้วย, ท่านเป็นพี่ชายของพระจุลลปันถกะ หรือจูฬบันถก
วิสุทธิมรรค : ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา; พระพุทธโฆสาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ.๙๕๖ เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้ พระพุทธโฆส จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้ง ๒ นั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป พระพุทธโฆสาจารย์ เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด
อุบาลี : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นกัลบกของเจ้าศากยะ ได้ออกบวชที่อนุปิยอัมพวัน พร้อมกับพระอานนท์และพระอนุรุทธะ เป็นต้น มีอุปัชฌาย์ชื่อพระกัปปิตก ครั้นบวชแล้ว เรียนกรรมฐาน จะไปอยู่ป่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต ท่านเล่าเรียนและเจริญวิปัสสนาไม่ช้าก็สำเร็จพระอรหัตเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเชี่ยวชาญในพระวินัยมาก จนพระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้ทรงพระวินัย (วินัยธร) พระอุบาลีเป็นกำลังสำคัญ ในคราวทำปฐมสังคายนา คือ เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย
ปฐ : ค. ฉลาด, สามารถ, ชำนาญ, เชี่ยวชาญ
ปทฺธ : ๑. ค. ฉลาด, สามารถ, เชี่ยวชาญ;
๒. ค. อ. รับใช้, บำเรอ
เปสล : (วิ.) มีฝีมือ, เก่ง, ฉลาด, เชี่ยวชาญ, ชำนาญ, ขยัน. ปิสฺ หึสาพลทานนิเกตเนสุ, อโล.
จิณฺณวสี : ค. ผู้มีความชำนาญอันตนประพฤติแล้ว, ผู้ปฏิบัติเชี่ยวชาญแล้ว
หตฺถการ : (ปุ.) งานอันบุคคลทำด้วยมือ, การทำด้วยมือ, การช่าง, การทำด้วยฝีมือ, งานที่ทำด้วยความเชี่ยวชาญในการใช้มือ, งานฝีมือ.
หตฺถกิจฺจ : (นปุ.) งานอันบุคคลทำด้วยมือ, การทำด้วยมือ, การช่าง, การทำด้วยฝีมือ, งานที่ทำด้วยความเชี่ยวชาญในการใช้มือ, งานฝีมือ.
อภิญฺญตา : อิต. ความเป็นผู้มีความรู้ยิ่ง, ผู้เชี่ยวชาญ