Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เดือนขาด .

Eng-Thai Lexitron Dict : เดือนขาด, not found

Thai-Eng Lexitron Dict : เดือนขาด, 2 found, display 1-2
  1. เดือนขาด : (N) ; lunar month with only 29 days ; Ant:เดือนเต็ม ; Def:เดือนทางจันทรคติที่มี 29 วัน วันสิ้นเดือนตรงกับวันแรม 14 ค่ำ คือ เดือนอ้าย เดือน 3 เดือน 5 เดือน 7 เดือน 9 เดือน 11, คู่กับ เดือนเต็ม ; Samp:เดือนคี่เป็นเดือนขาด
  2. เดือนเต็ม : (N) ; full moon ; Ant:เดือนขาด ; Def:เดือนทางจันทรคติที่มี 30 วัน วันสิ้นเดือนตรงกับวันแรม 15 ค่ำ คือ เดือนยี่ เดือน 4 เดือน 6 เดือน 8 เดือน 10 เดือน 12, คู่กับ เดือนขาด ; Samp:คืนนี้เดือนเต็มสวยงามมาก

Royal Institute Thai-Thai Dict : เดือนขาด, 2 found, display 1-2
  1. เดือนขาด : น. เดือนทางจันทรคติที่มี ๒๙ วัน วันสิ้นเดือนตรงกับวันแรม ๑๔ คํ่า คือ เดือนอ้าย เดือน ๓ เดือน ๕ เดือน ๗ เดือน ๙ เดือน ๑๑, คู่กับ เดือนเต็ม.
  2. เดือนเต็ม : น. เดือนทางจันทรคติที่มี ๓๐ วัน วันสิ้นเดือนตรงกับวันแรม ๑๕ คํ่า คือ เดือนยี่ เดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๘ เดือน ๑๐ เดือน ๑๒, คู่กับ เดือนขาด.

Budhism Thai-Thai Dict : เดือนขาด, 2 found, display 1-2
  1. ปักขคณนา : “การนับปักษ์”, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา
  2. ปักษคณนา : การนับปักษ์, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา

ETipitaka Pali-Thai Dict : เดือนขาด, not found

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : เดือนขาด, not found

(0.0237 sec)