Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เติบ , then ตบ, เติบ .

Eng-Thai Lexitron Dict : เติบ, more than 7 found, display 1-7
  1. slap : (VT) ; ตบ ; Related:ตบหน้า, ชกหน้า, ฟาด ; Syn:rap, smack, smite, punch
  2. box 2 : (VI) ; ตบ ; Related:ตี, ต่อยที่หู ; Syn:slap
  3. plump up : (PHRV) ; ตบ ; Related:ฟาด ; Syn:fluff up, shake up
  4. smack 1 : (VI) ; ตบ ; Related:ตี ; Syn:slap, spank
  5. smack 1 : (VT) ; ตบ ; Related:ตี ; Syn:slap, spank
  6. whomp : (VT) ; ตบ ; Related:ตีอย่างแรง, ทุบอย่างแรง, กระแทกอย่างแรง ; Syn:slam, strike, thump
  7. whomp : (VI) ; ตบ ; Related:ตีอย่างแรง, ทุบอย่างแรง, กระแทกอย่างแรง ; Syn:slam, strike, thump
  8. Eng-Thai Lexitron Dict : เติบ, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : เติบ, more than 7 found, display 1-7
  1. เติบ : (ADV) ; excessively ; Related:lavishly, prodigally, extravagantly ; Syn:มาก, โข, มากมาย ; Def:มากเกินสมควร ; Samp:เธอยังยึดติดกับสัญลักษณ์ของความเป็นคนเคยมีต้องแต่งตัวดีใช้เงินเติบ
  2. เติบใหญ่ : (V) ; grow up ; Related:grow, develop, increase ; Syn:โตขึ้น, เติบโต, เจริญ, เจริญเติบโต ; Samp:แม่อบรมเลี้ยงดูลูกด้วยตนเองตั้งแต่น้อยจนเติบใหญ่
  3. การเติบใหญ่ : (N) ; growth ; Related:expansion, extension, development ; Syn:การขยายใหญ่ ; Samp:การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยสะท้อนถึงการเติบใหญ่ของค่านิยมใหม่ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตตลอดจนมิติทางจิตใจสังคม
  4. มือเติบ : (V) ; lavish ; Related:spend foolishly, misspend, expend, waste of money, dissipate ; Syn:สุรุ่ยสุร่าย, ฟุ่มเฟือย ; Ant:ประหยัด, มัธยัสถ์ ; Def:ใช้จ่ายมากเกินสมควร ; Samp:แกมือเติบ ซื้อของก็ต้องซื้อทีละมากๆ
  5. มือเติบ : (ADV) ; lavishly ; Related:extravagantly ; Syn:สุรุ่ยสุร่าย, ฟุ่มเฟือย ; Ant:ประหยัด, มัธยัสถ์ ; Def:ใช้จ่ายมากเกินสมควร ; Samp:ใช้เงินมือเติบอย่างนี้ เงินเดือนที่ได้มาจะไปเหลืออะไร
  6. ตบ : (V) ; slap ; Related:swat, pat, beat ; Syn:ฟาด, ทุบ, แพ่น, หวด, ตี ; Def:เอาฝ่ามือหรือของแบนๆ เป็นต้น ตีอย่างแรง, เอาฝ่ามือแตะเบาๆ ด้วยความเอ็นดู ; Samp:เธอตบหน้าเขาเพราะไม่พอใจที่เขาดูถูกเธอ
  7. เติบโต : (V) ; grow ; Related:thrive, flourish ; Syn:เติบใหญ่, โตขึ้น, โต ; Ant:แคระแกร็น ; Def:มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือสูงขึ้น ; Samp:ลักษณะพิเศษของเด็กวัยรุ่นก็คือ ร่างกายเติบโต มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความคิดและอารมณ์ก็เติบโตตามไปด้วย
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : เติบ, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : เติบ, more than 5 found, display 1-5
  1. มือเติบ : ก. ใช้หรือจ่ายมากเกินสมควรหรือเกินจำเป็น.
  2. หลายเติบ : ว. มากโข.
  3. ตบ ๑ : น. ชื่อไม้นํ้าในวงศ์ Pontederiaceae มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Monochoria hastata (L.) Solms ขึ้นตามท้องนาที่แฉะและนํ้านิ่ง ดอกสีนํ้าเงิน ยอดอ่อนและดอกกินได้, คำสุภาพเรียกว่า ผักสามหาว, และชนิด Eichhornia crassipes (C. Martius) Solms-Laub. ขึ้นตามลํานํ้า ทั่วไป ดอกสีม่วงอ่อน เรียกว่า ผักตบชวา.
  4. ตบ ๒ : ก. เอาฝ่ามือหรือของแบน ๆ เป็นต้นตีอย่างแรง เช่น ตบหน้า ตบลูกเทนนิส, เอาฝ่ามือแตะเบา ๆ ด้วยความเอ็นดู เช่น ตบหัวเด็ก.
  5. ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน : (สํา) ก. ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ ทําไว้, ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : เติบ, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : เติบ, 6 found, display 1-6
  1. ธรรมกาย : “ผู้มีธรรมเป็นกาย” เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งธรรมอันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก; อนึ่งธรรมกายคือกองธรรมหรือชุมนุมแห่งธรรมนั้น ย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์ แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน ดังตัวอย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อปรินิพพานตามความในคัมภีร์อปทานตอนหนึ่งว่า “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์, ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน..รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็เป็นสิ่งอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต”; สรุปตามนัยอรรถกถาธรรมกายก็คือโลกุตตรธรรม ๙ หรือ อริยสัจ
  2. สุภัททะ วุฒบรรพชิต : “พระสุภัททะผู้บวชเมื่อแก่” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการปรารภที่จะทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ก่อนบวช เป็นช่างตัดผมในเมืองอาตุมา มีบุตรชาย ๒ คน เมื่อบวชแล้วคราวหนึ่งได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่จะเสด็จมายังเมืองอาตุมา จึงให้บุตรทั้ง ๒ เอาเครื่องมือตัดผมออกไปเที่ยวขอตัดผมตามบ้านเรือนทุกแห่ง แลกเอาเครื่องปรุงยาคูมาได้มากมาย แล้วบัญชาการให้ผู้คนจัดเตรียมข้าวยาคูไว้เป็นอันมาก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ก็นำเอาข้าวยาคูนั้นเข้าไปถวาย พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความว่าพระสุภัททะได้ข้าวนั้นมาอย่างไรแล้ว ไม่ทรงรับและทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อ คือ บรรพชิตไม่พึงชักชวนคนทำในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ และภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกไม่พึงเก็บรักษาเครื่องตัดโกนผมไว้ประจำตัว จากการที่ได้ถูกติเตียนและเสียของเสียหน้าเสียใจ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น พระสุภัททะก็ได้ผูกอาฆาตไว้ ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ ๗ วัน พระสุภัททะร่วมอยู่ในคณะของพระมหากัสสปเถระ ซึ่งกำลังเดินทางจากเมืองปาวาสู่เมืองกุสินารา ระหว่างทางนั้น คณะได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพานจากอาชีวกผู้หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นราคะ (คือพระปุถชน โสดาบัน และสกทาคามี) พากันร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมาก ในขณะนั้นเอง พระสุภัททะวุฒบรรพชิต ก็ร้องห้ามขึ้นว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไห้ไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว พระมหาสมณะนั้นคอยเบียดเบียนพวกเราว่าสิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น” พระมหากัสสปเถระได้ฟังแล้วเกิดธรรมสังเวช ดำริว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ก็ยังเกิดเสี้ยนหนามขึ้นแล้วในพระศาสนา หากต่อไปคนชั่วได้พวกพ้องมีกำลังเติบกล้าขึ้น ก็จะทำพระศาสนาให้เสื่อมถอย ดังนั้น หลังจากเสร็จงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านจึงได้ยกถ้อยคำของสุภัททะวุฒบรรพชิต นี้ขึ้นเป็นข้อปรารภ ชักชวนพระเถระทั้งหลายร่วมกันทำสังคายนาครั้งแรก
  3. อุปาทายรูป : รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป, อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ ก) ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆาน จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย, มโน ใจ, ข) โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค) ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง) หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ จ) ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ) อาหารรูป ๑ คือกวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช) ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง ญ) วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้ ฎ) วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา, มุทุตา ความอ่อน, กัมมัญญตา ความควรแก่งาน, (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ) ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้, สันตติ สืบต่อได้, ชรตา ทรุดโทรมได้, อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔); ดู มหาภูต ด้วย
  4. สัตตบริภัณฑ์ : “เขาล้อมทั้ง ๗ ” คำเรียกหมู่ภูเขา ๗ เทือก ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ หรือ สิเนรุ คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสสนะ เนมินธร วินตก และอัสสกัณณ์
  5. บริภัณฑ์ : ดู สัตตบริภัณฑ์
  6. ปริภัณฑ์ : ดู สัตตบริภัณฑ์

ETipitaka Pali-Thai Dict : เติบ, 7 found, display 1-7
  1. ปปฺโปเฐติ : ก. ทุบ, ตี, ต่อย, ตบ, โบย, กระพือ (ปีก)
  2. กุลาจล : ป. มหาบรรพต, ชื่อรวมของภูเขาใหญ่ทั้งเจ็ด คือเขาสัตตบริภัณฑ์ ซึ่งล้อมรอบเขาพระสุเมรุอยู่
  3. ตลฆาตก : นป. การประหารด้วยฝ่ามือ, การตบ
  4. อปฺโปฐนอปฺโปฐิตอปฺโผตน : (นปุ.) การตบ, การปรบ.
  5. อปฺโปฐน อปฺโปฐิต อปฺโผตน : (นปุ.) การตบ, การปรบ.
  6. อินฺทวร : (ปุ.) ต้นราชพฤกษ์ (ต้นคูน ก็เรียก), ผักตบ, บัวเขียว?
  7. อุมฺมา : (อิต.) ฝ้าย, ผักตบ, ดอกไม้สีเขียว, ดอกไม้สีเขียวฟ้า. ไตร ๑๐ / ๑๒๙. อวฺ รกฺขเณ, โม, อวสฺสุ (แปลง อว เป็น อุ), ทวิตฺตํ (แปลง ม เป็น มฺม). เป็น อุมา โดยไม่แปลงบ้าง.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : เติบ, not found

(0.1443 sec)