เถรวาท : [เถระวาด] น. ลัทธิที่ถือตามคติซึ่งพระเถระพุทธสาวกได้ทํา สังคายนาไว้, หินยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า. (ป.).
หินยาน : [หินนะ-] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และ ไทยเป็นต้น, หีนยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า. (ป., ส. หีนยาน).
หีนยาน : [หีนะยาน, หีนนะยาน, ฮีนะยาน] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนา ฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า.
ทักษิณนิกาย : น. เถรวาท, หินยาน.
บาลี : น. ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท; คัมภีร์ พระไตรปิฎก, พุทธพจน์, เรียกว่า พระบาลี. (ป., ส. ปาลิ).
สถวีระ : [สะถะวีระ] (แบบ) น. พระเถระ; ชื่อนิกายหนึ่งของฝ่ายเถรวาท เรียกว่า นิกายสถวีระ หรือ สถีรวาท. (ส. สฺถวิร ว่า ผู้ใหญ่, ผู้สูงอายุ; ป. เถร).
สถีรวาท : [สะถีระวาด] (แบบ) น. ชื่อนิกายหนึ่งของฝ่ายเถรวาท เรียกว่า นิกาย สถีรวาท หรือ สถวีระ.
เถรวาท : วาทะหรือลัทธิของพระเถระ, นิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวกได้วางหลักธรรมวินัยเป็นแบบแผนไว้ เมื่อครั้งปฐมสังคายนา ได้แก่ พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือแพร่หลายในประเทศไทย พม่า ลังกา ลาว และ กัมพูชา (อีกนิกายหนึ่ง คือ มหายาน)
ทักษิณนิกาย : นิกายพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่พวกอุตตรนิกายตั้งชื่อให้ว่าหีนยาน ใช้บาลีมคธ บัดนี้ นิยมเรียกว่า เถรวาท
นิกาย :
พวก, หมวด, หมู่, ชุมนุม, กอง; 1.หมวดตอนใหญ่แห่งพุทธพจน์ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งแยกเป็นทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย ดู ไตรปิฎก 2.คณะนักบวช หรือศาสนิกชนในศาสนาเดียวกันที่แยกเป็นพวกๆ, ในพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ที่เรียกได้ว่าเป็นนิกายพุทธศาสนาในปัจจุบัน ๒ นิกาย คือ มหายาน หรือนิกายฝ่ายเหนือ (อุตตรนิกาย) พวกหนึ่ง และ เถรวาท หรือนิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย) ที่บางทีเรียก หีนยาน พวกหนึ่ง, ในประเทศไทยปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกัน แยกออกเป็น ๒ นิกาย แต่เป็นเพียงนิกายสงฆ์ มิใช่ถึงกับเป็นนิกายพุทธศาสนา (คือแยกกันเฉพาะในหมู่นักบวช) ได้แก่ มหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย ซึ่งบางทีเรียกเพียงเป็นคณะว่า คณะมหานิกาย และคณะ ธรรมยุต
มหายาน : ยานใหญ่, ชื่อเรียกพระพุทธศาสนา นิกายที่ผู้นับถือมากในประเทศฝ่ายเหนือของทวีปเอเชีย เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ทิเบต และมองโกเลีย บางทีเรียก อุตตรนิกาย (นิกายฝ่ายเหนือ) บ้าง อาจารยวาท (ลัทธิของอาจารย์) บ้าง เป็นคู่กับนิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย) คือ เถรวาท ที่ฝ่ายมหายานเรียกว่า หีนยาน อย่างที่นับถืออยู่ในประเทศไทยและลังกา เป็นต้น
หีนยาน : ยานเลว, ยานที่ด้อย, เป็นคำที่พวกอุตรนิกาย (พุทธศาสนาฝ่ายเหนือ) เรียกทักษิณนิกาย (พุทธศาสนาฝ่ายใต้ อย่างที่นับถือกันในไทย พม่า ลังกา เป็นต้น) ปัจจุบันนิยมเรียกว่า เถรวาท
บรรพชิต : ผู้บวช, นักบวช เช่น ภิกษุสมณะ ดาบส ฤษี เป็นต้น แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ภิกษุและสามเณร (และภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี) มักใช้คู่กับ คฤหัสถ์ (ในภาษาไทยปัจจุบัน ให้ใช้หมายเฉพาะนักบวชในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในฝ่ายเถรวาท หรือฝ่ายมหายาน)
บาลี : 1.“ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์”, ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึก รักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ภาษามคธ 2.คัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิมที่เป็นพระพุทธวจนะ อันพระสังคีติกาจารย์รวบรวมได้ คือ คัมภีร์พระไตรปิฎกที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนาพระพุทธพจน, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก