เพรง : [เพฺรง] ว. ก่อน, เก่า, เช่น แต่เพรงกาล.
พรั่ง : [พฺรั่ง] ว. คับคั่ง, รวมกันอยู่มาก.
แพร่ง : [แพฺร่ง] น. ทางแยกทางบก. ก. แตกออก, แยกออก.
พรุ่ง, พรุ่งนี้ : น. วันถัดจากวันนี้ไปวันหนึ่ง.
พริ้ง : [พฺริ้ง] ว. งามงอน, สะสวยมาก, ชอบแต่งตัวให้งดงามและทันสมัย อยู่เสมอ, เช่น สวยพริ้ง แต่งตัวงามพริ้ง.
โพรง : [โพฺรง] น. ช่องที่กลวงเข้าไป เช่น โพรงไม้ โพรงจมูก.
สงสัย : ก. ไม่แน่ใจในข้อเท็จจริง เช่น สงสัยว่าทำดีจะได้ดีจริงหรือ, ลังเล เช่น เมื่อเดินไปถึงทาง ๒ แพร่ง สงสัยว่าจะไปทางไหนจึงจะถูก; ทราบไม่ได้ แน่ชัด, เคลือบแคลง, เช่น สงสัยว่าคำตอบข้อไหนถูก สงสัยว่าเขาจะเป็น ขโมย; เอาแน่ไม่ได้ เช่น สงสัยว่าเขาจะมาหรือไม่มา. (ป. สํสย; ส. สํศย).
จิรนฺตน : (วิ.) ชั่วก่อน (ระยะก่อน), ชั่วเพรง (เพรง คือ ก่อนเก่า), ก่อน, มีในก่อน. วิ. จิรํ ภโว จิรนฺตโน. จิรํ+ตน ปัจ. แปลง นิคคหิตเป็น น. ฎีกาอภิฯ ว่า ลบนิคคหิต ถ้าถือตามมติฎีกาฯ ก็ต้องลง นฺ สังโยค หรือ นฺ อาคมหน้าปัจ.
ปุราณ : (วิ.) เก่า, ก่อน, ชั่วก่อน (สมัยก่อน), ชั่วเพรง (ครั้งก่อน), มีอยู่ก่อน, มีในก่อน, เป็นอยู่ก่อน, ร้าง, บุราณ, เบาราณ. วิ. ปุรา ภโว ปุราโณ. น ปัจ. แปลงเป็น ณ. โมคฯ ณาทิกัณฑ์ ๒๒ ลง ณ ปัจ. คงไว้.
อีริต : (วิ.) ขว้าง. ซัด, โยน, พรุ่ง, ยิง, ไหว, เคลื่อนไหว, สั่น. อีรฺ คติกมฺปนเขเปสุ อิโต, โต วา.