เรื่องราว : น. เรื่องที่พูดหรือเล่าติดต่อกันไป.
ประสีประสา : น. วิสัย, เรื่องราว, ความเป็นไป, ความหมาย, (มักใช้ในประโยค ปฏิเสธ) เช่น ไม่รู้ประสีประสา.
ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
ปวุติ : [ปะวุดติ] น. ความเป็นไป, เรื่องราว. (ป. ปวุตฺติ).
แผนภาพ : น. ภาพหรือเค้าโครงที่เขียนขึ้นเพื่อช่วยในการอธิบาย เรื่องราว.
ยุบล : น. ข้อความ, เรื่องราว.
อธิกรณ์ : น. เหตุ, โทษ, คดี, เรื่องราว. (ป., ส.).
กิจจา : [กิด-] (กลอน) น. เรื่องราว, ข้อความ.
เนื้อเรื่อง : น. เรื่องราว, สาระของเรื่อง.
ปาฐ-, ปาฐะ : [-ถะ] (แบบ) น. เรื่องราว, บาลี, คัมภีร์, วิธีสาธยายคัมภีร์พระเวท. (ป., ส.).
จริต : (นปุ.) การเที่ยวไป (ของจิต) ความประ พฤติ, เรื่องราว, นิสัย, พื้น, พื้นเพ, พื้นเพ ของจิต, จริต, (พื้นเพของจิต ของแต่ละบุค คล ซึ่งจะหนักไปในทางใดทางหนึ่งในหก ทาง ดูจริต ๖ ในหลักธรรมะ) จรฺ จรเณ, โต, อิอาคโม.
ปวตฺติ : อิต. ความเป็นไป, เรื่องราว, ข่าว
เหตุ : (ปุ.) มูลเค้า, เค้ามูล, ข้อความ, เรื่องราว, เหตุ คือ สิ่งหรือเรื่องที่ทำให้เกิดผล. วิ. หิโณติ ปริณมติ การิยรูปตฺนติ เหตุ. หิ คติยํ, ตุ. หิโณติ ผล เมตฺถาติ วา เหตุหิ ปติฎฺฐายํ. หิโณติ ผลํ เอเตนาติ วา เหตุ. หิ ปวตฺตเน. ส. เหตุ.
อธิกรณ : (นปุ.) การทำยิ่ง, โทษชาตเป็นเครื่องทำยิ่ง, โทษ, คดี, เหตุ, เรื่อง, เรื่องราว, อธิกรณะเป็นคำเรียกบทที่ประกอบสัตมีวิ-ภัติ, อธิกรณ์ คือข้อพิพาท หรือที่ถกเถียงกันเมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องทำ ต้องระงับ.อธิบทหน้ากรฺธาตุยุปัจ.ส.อธิกรณ.
อาขยายิกา : อิต. อาขยายิกศาสตร์, เรื่องราว, นิทาน, ประวัติ
ปาฐ : ป. เรื่องราว; วิธีสาธยายคัมภีร์, การอ่านคัมภีร์; คัมภีร์, บาลี
อิติหาส : (ปุ.) อิติหาสศาสตร์ ศาสตร์ว่าด้วย พงศาวดารยืดยาว มีภารตยุทธ์ เป็นต้น. เรื่องราว, นิทาน.