เสขะ : ผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล โดยพิสดารมี ๗ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล ในสกทาคามิมรรค ในสกทาคามิผล ในอนาคามิมรรค ในอนาคามิผล และในอรหัตตมรรค, พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓ คือ พระโสดาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
เสขบุคคล :
บุคคลที่ยังต้องศึกษาอยู่ ดู เสขะ
เสขปฏิปทา : ทางดำเนินของพระเสขะ, ข้อปฏิบัติของพระเสขะ ได้แก่ จรณะ ๑๕
เสขภูมิ : ภูมิของพระเสขะ, ระดับจิตใจและคุณธรรมของพระอริยบุคคลที่ยังต้องศึกษา
อเสขะ : ผู้ไม่ต้องศึกษา เพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์, คู่กับ เสขะ
ภูต : ๑. สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเกิดเสร็จไปแล้ว, นัยหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์ เพราะไม่แสวงหาภพเป็นที่เกิดอีก อีกนัยหนึ่งหมายถึงสัตว์ที่เกิดเต็มตัวแล้ว เช่น คนคลอดจากครรภ์แล้ว ไก่ออกจากไข่แล้ว เป็นต้น ต่างกับ สัมภเวสี คือสัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ปุถุชนและพระเสขะผู้ยังแสวงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด ๒. ผี, อมนุษย์ ๓. ภูตรูป คือ ธาตุ ๔ มักเรียก มหาภูต ภูตกสิณ กสิณ คือ ภูตรูป, กสิณคือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี ดิน, อาโป น้ำ, เตโช ไฟ, วาโย ลม
ภูตะ : ๑. สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเกิดเสร็จไปแล้ว, นัยหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์ เพราะไม่แสวงหาภพเป็นที่เกิดอีก อีกนัยหนึ่งหมายถึงสัตว์ที่เกิดเต็มตัวแล้ว เช่น คนคลอดจากครรภ์แล้ว ไก่ออกจากไข่แล้ว เป็นต้น ต่างกับ สัมภเวสี คือสัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ปุถุชนและพระเสขะผู้ยังแสวงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด ๒. ผี, อมนุษย์ ๓. ภูตรูป คือ ธาตุ ๔ มักเรียก มหาภูต ภูตกสิณ กสิณ คือ ภูตรูป, กสิณคือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี ดิน, อาโป น้ำ, เตโช ไฟ, วาโย ลม
สอุปาทิเสสบุคคล : บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่, ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน ได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้นพระอรหันต์; เทียบ อนุปาทิเสสบุคคล
เสกขสมมต : ผู้ได้รับสมมติเป็นเสขะหมายถึงครอบครัวที่สงฆ์ประชุมตกลงแต่งตั้งให้เป็นเสขะ ภิกษุใดไม่เจ็บไข้และเขาไม่ได้นิมนต์ไว้ ไปรับเอาอาหารจากครอบครัวนั้นมาขบฉัน ต้องอาบัติเป็นปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๓
เสข, (เสกฺข) : ป. ผู้ยังต้องศึกษา
เสกฺข เสข : (ปุ.) บุคคลผู้ยังต้องศึกษา, บุคคลที่ยังต้องศึกษา, เสกขบุคคล, เสขบุคคล, พระเสขะ คือ พระอริยบุคคล ๗ เบื้องต้น. สิกฺขฺ วิชฺโชปาทาเน, โณ. ศัพท์หลังลบ กฺ. อภิฯ วิ. ตีหิ สิกฺขาหิ ยุตฺตตฺตา เสกฺโข เสโข วา.
เสขร : (ปุ.) ดอกไม้กรองบนศรีษะ, ดอกไม้ประดับบนศรีษะ, เทริด, มงกุฎ. วิ. สิขายํ ชาโต เสขโร. ร ปัจ. พฤทธิ อิ เป็น เอ. ลูกประคำ ก็แปล.
เสขริก : (ปุ.) หญ้าเขี้ยวงู, หญ้าพันงู. วิ. สิขร มสฺส อตฺถีติ เสขริโก. ณิก ปัจ.
สข, สขี : ป. เพื่อน
สิขี : (ปุ.) ไฟ วิ. สิขา วุจจฺติ ชาลา, ตาย โยคโต สิขี. ณี ปัจ.
สุข : (วิ.) สะดวก, สบาย, สำราญ, (สบายกายสบายใจ), เย็น (เย็นใจ), ง่าย.
สุขี : (วิ.) ผู้มีสุข, ผู้มีความสุข, ฯลฯ.
สุขิต : (วิ.) ผู้ถึงแล้วซึ่งความสุข วิ. สุขํ อิโต สุขิโต. ผู้สบาย. สุขฺ นิทฺทุกฺเข, อิโต, ผู้มีความสุขเกิดแล้ว ผู้มีความสุขเกิดพร้อมแล้ว วิ. สุขํ ชาตํ สํชาตํ วา เอตสฺสาติ สุขิโต. ผู้เป็นไปด้วยความสุข ว. สุเขน อิโต ปวตฺโตติ สุขิโต.
สุขุม : (วิ.) ซึ้ง, น้อย, เล็ก, ละเอียด, ละเอียดอ่อน, เฉียบแหลม, ประณีต. วิ. สุขยติ อนุภวตีติ สุขุมํ. สุขฺ นิทฺทุกฺเข, อุโม. สุจฺ โสจเน วา, แปลง จฺ เป็น ขฺ.