หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
เท่าเทียม : ว. เสมอหน้า, ทัดเทียม.
หน้าพาทย์ : น. เรียกเพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการ เคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธี ต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่า เพลงหน้าพาทย์. ว. ที่เกี่ยวกับเพลงหน้าพาทย์ เช่น รําหน้าพาทย์ บอกหน้าพาทย์.
หน้าพาทย์แผลง : [-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อ เดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.
หน้าระรื่น : น. หน้ายิ้มอยู่เสมอ.
Royal Institute Thai-Thai Dict : เสมอหน้า, more results...
ทายิกา : (อิต.) หญิงผู้ให้, ทายิกา. ศัพท์ที่ สำเร็จมาจาก ณฺวุ ปัจ. เมื่อลง อาอิต. แล้วต้องแปลง อ ของ อักษรตัวหน้า ก (ก ที่แปลงมาจาก ณฺวุ) เป็น อิ เสมอ รูปฯ ๕๕๔.
นิจฺจ : (วิ.) เที่ยง, มั่นคง. แน่นอน, ยั่งยืน, ทุกเมื่อ, สะดวก, ประจำ, เนืองๆ, เป็นนิจ, เป็นนิตย์, เสมอ. วิ. นาสภาเวน น อิจฺจํ น คนฺตพฺพนฺติ นิจฺจํ นาสํ น คจฺฉตีติ วา นิจฺจํ นาสบทหน้า คมฺ+กฺวิ ปัจ. ลบ ส และ มฺ แปลง อา เป็น อิ แปลง ค เป็น จ ซ้อน จฺ ส. นิตฺย.
นิรนฺตร : (วิ.) มีระหว่างออกแล้ว, หาระหว่าง มิได้, ไม่มีระหว่าง, ไม่ขาด, ไม่ขาดสาย, ไม่เว้นว่าง, ติดต่อกัน, ติดต่อกันไป, ติดต่อกันตลอดไป, เสมอ, หนา, ชิด, หยาบ. ส. นิรนฺตร.
อนุปุพฺพิกถา : (อิต.) วาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ, วาจาเครื่องกล่าวโดยอันเป็นไปตามซึ่งธรรมมีในเบื้องต้น, สัททชาติเป็นเครื่องกล่าวโดยอันเป็นไปตามซึ่งที่อันมีในเบื้องหน้า, สัททชาติเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ, วาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ, วาจาเป็นเครื่องกล่าวแสดงซึ่งธรรมโดยลำดับ, ถ้อยที่แสดงไปตามลำดับ, การกล่าวโดยลำดับวิ.อนุปุพฺเพน กถาอนุปุพฺพิกถา.แปลงอที่สุดศัพท์เป็นอิหรือลงอิอาคมเป็นอนุปุพฺพีกถาโดยแปลง อเป็นอีบ้าง.อนุปุพฺพ เป็นต้นเมื่อเข้ามาสมาสกับศัพท์ที่สำเร็จมาจากกรฺกถฺธาตุจะแปลงอของศัพท์ต้นเป็นอิหรืออีเสมอ.
กิ : (วิ.) เช่นกับ, เช่นกัน, คล้าย, เสมอ, เหมือน. กิ เวลมฺเพ, อ.
ETipitaka Pali-Thai Dict : เสมอหน้า, more results...