ข้าวสุก : ในโภชนะ ๕ อย่างคือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑ ข้าวสุกในที่นี้หมายถึงธัญญชาติทุกชนิด ที่หงให้สุกแล้ว เช่นข้าวเจ้าข้าวเหนียว หรือที่ตกแต่งเป็นของต่างชนิด เช่น ข้าวมัน ข้าวผัด เป็นต้น
จริต : ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ ๑.ราคจริต ผู้มีจาคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ) ๒.โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด) ๓.โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึม งมงาย) ๔.สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ) ๕.พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา) ๖.วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)
จัมเปยยขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๙ แห่ง คัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยข้อควรทราบบางแง่เกี่ยวกับนิคคหกรรมต่างๆ
นาคิตะ : พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่ง เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ มีพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ท่านเกี่ยวกับเนกขัมมสุข ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ๒-๓ แห่ง
มุสาวาทวรรค : ตอนที่ว่าด้วยเรื่องพูดปดเป็นต้น เป็นวรรคที่ ๑ แห่ง ปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์ แห่งวินัยปิฎก
ลุมพินีวัน :
ชื่อสวนเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นสังเวชนียสถานหนึ่งใน ๔ แห่ง ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ บัดนี้เรียก รุมมินเด อยู่ที่ปาเดเรีย ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดียไปทางเหนือ ประมาณ ๖ กิโลเมตรครึ่ง พระสิทธัตถะประสูติที่สวนนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี (มีปราชญ์คำนวณว่าตรงกับวันศุกร์ ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง) ดู สังเวชนียสถาน
อโศกมหาราช : พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป และเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์ โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนคร ปาฎลีบุตร ตั้งแต่ พ) ศ) ๒๑๘ ถึง พ) ศ) ๒๖๐ (นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันส่วนมากกว่า พ) ศ) ๒๗๐-๓๒๑) เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย แต่ในการสงครามนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์สลดพระทัย พอดีได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใสได้ทรงเลิกการสงคราม หันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ และการส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ เช่น พระมหินถเถระ ไปยังลังกาทวีป และพระโสณะพระอุตตระมายังสุวรรณภูมิ เป็นต้น ชาวพุทธไทยมักเรียกพระองค์ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
อุปวาณะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่งเกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่ง ในนครสาวัตถี ได้เห็นพระพุทธองค์ในพิธีถวายวัดพระเชตวัน เกิดความเลื่อมใส จึงได้มาบวชในพระศาสนาและได้บรรลุอรหัตตผล ท่านเคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ แม้ในวันปรินิพพาน พระอุปวาณะก็ถวายงานพัดอยู่เฉพาะพระพักตร์ เรื่องราวเกี่ยวกับท่านปรากฏในพระไตรปิฎก ๔-๕ แห่ง เช่น เรื่องที่ท่านสนทนากับพระสารีบุตร เกี่ยวกับโพชฌงค์ ๗ ประการ เป็นต้น
ตณฺหงกร : (ปุ.) ตัณหังกร พระนามของ พระ พุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง.
กลา : (อิต.) กลา คือส่วน ๑ ใน ๑๖ ส่วน แห่ง ดวงจันทร์ วิ. กลียเต เอกาทินา สํขฺยายเตติ กลา. กลฺ สํขฺยาเณ, อ. เศษ, ส่วน, เสี้ยว, ส่วนแบ่งของเวลา, ศิลปะ.
กุกฺกุตฺถก กุกุตฺถก : (ปุ.) นกกวัก, ไก่ป่า. กุสฺ สทฺเท,ถโก, ทฺวิตฺตํ, กุสสฺส สสฺส โต(แปลง ส แห่ง กุส เป็น ต). ศัพท์ต้นซ้อน กฺ.
เกกร : (ปุ.) คนตาเหล่, คนตาหลิ่ว, คนตาส่อน. วิ. กุจฺฉิตํ กโรตีติ เกกโร. กุปุพฺโพ, กรฺ กรเณ, อ, อุสฺเส (แปลง อุ แห่ง กุ เป็น เอ). สฺ เกกร.
เขตต : (นปุ.) ภริยา, สรีระ, ตน, แดน, แคว้น, นา, ไร่, ไร่นา, ที่, ที่ดิน, ทุ่ง, ทุ่งนา, เขต. วิ. พีชานิ ขิปิยนฺตีติ เขตฺตํ. พีชานิ ขิปนฺตฺ- ยสฺมินฺติ วา เขตฺตํ. ขิปฺ เปรเณ, โต, ปการสฺส ตตฺตํ. ขิตฺตํ พิชํ มหปฺผลภาวกร- เณน ตายตีติ วา เขตฺตํ. ขิตฺตปุพฺโพ, ตา ปาลเน, โต, อิสฺเส, ตการทฺวยโลโป (ลบ ตฺต แห่ง ขิตฺต) ที่แปล เขตฺต ว่า ภริยานั้น เพราะเป็นที่งอกงามของพืช คือ บุตร. ส. กฺษตร.
ETipitaka Pali-Thai Dict : เหง, more results...