เหน็บแนม : ว. อาการที่พูดเสียดสีแคะไค้กระทบกระเทียบเปรียบเปรย.
แหนบ : [แหฺนบ] น. เครื่องสําหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สําหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืน เป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่าง แหนบ, เอานิ้วมือบีบทํานองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัด ไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมาย ความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).
แนม : ก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกม แนมใบวิบูลระบัดบัง. (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ. (อิเหนา); แทรกแซมหรือแซงเข้าไป เช่น เอาลิ่มแนมให้แน่น, เรือตะเข้ แนมทังสองข้าง. (สามดวง); แทรกเพิ่มเติม, ควบคู่กันไป, เช่น นํ้าพริก มีปลาดุกแนม; เสียดสี ในคำว่า เหน็บแนม.
ตอด ๑ : ก. เอาปากงับกัดทึ้งโดยเร็วอย่างปลาตอด, โดยปริยายหมายถึงอาการเหน็บแนม เช่น พูดตอดเล็กตอดน้อย.
ปากคม : ว. พูดจาเหน็บแนมด้วยคารมคมคาย.
ปากตะไกร : ว. ปากจัด, ชอบพูดจาเหน็บแนม.
หยิกแกมหยอก : (สำ) ก. เหน็บแนมทีเล่นทีจริง.